นาโนเทค สวทช. จับมือเครือข่ายภาคอุตสาหกรรมเปิดเวทีคุยเฟื่องเรื่องฝุ่นขนาดเล็ก

นาโนเทค สวทช. จับมือเครือข่ายภาคอุตสาหกรรมเปิดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ด้านความปลอดภัยนาโนเทคโนโลยีและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับฝุ่นขนาดเล็ก รับมือสถานการณ์ปัจจุบันที่ประเทศไทยกำลังเผชิญปัญหาฝุ่นขนาดเล็กในสภาพแวดล้อม ซึ่งส่งผลกระทบในวงกว้าง ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับฝุ่นขนาดเล็กจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เพื่อให้ทุกภาคส่วนรวมถึงประชาชนได้มีส่วนร่วมในการป้องกัน และลดผลกระทบที่เกิดขึ้น รวมถึงการทำงานที่มีความเกี่ยวข้องกับวัสดุนาโน ซึ่งมีขนาดเล็ก และบางครั้งก็อยู่ในรูปแบบผง ซึ่งเมื่อมีกระบวนการผลิตก็มีโอกาสที่จะฟุ้งกระจาย เกิดเป็นฝุ่นที่มีขนาดเล็กระดับนาโน การมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับฝุ่นละอองขนาดเล็ก ก็เป็นพื้นฐานที่จะทำให้ผู้ที่ทำงานสามารถป้องกันตนเอง และจัดการระบบต่าง ๆ ในสภาวะการทำงาน ให้เหมาะสมเพื่อตระหนักถึงผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจจะเกิดขึ้นได้ หากมีการบริหารจัดการที่ไม่ถูกต้อง การมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับฝุ่นละอองขนาดเล็ก กฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีประสิทธิภาพจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน   เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม 2566 ณ ห้องประชุม CC – 306 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี งานความปลอดภัยนาโนเทคโนโลยี ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับเครือข่ายภาคอุตสาหกรรม เรื่องความปลอดภัยนาโนเทคโนโลยี จัดสัมมนาเรื่อง ความปลอดภัยนาโนเทคโนโลยีและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับฝุ่นขนาดเล็ก (Nanosafety: Legislation of submicron particles) ภายในการประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 18 […]

สกสว. หนุน นาโนเทค สวทช. จัดเสวนาผลักดันเทคโนโลยีรับมือโลกร้อน CCUS : การดักจับ ใช้ประโยชน์ และกักเก็บคาร์บอน “การขับเคลื่อน CCUS เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน” ภายใต้การประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 18 (NAC2023)

(เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2566) ณ ห้องประชุม Auditorium อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) จัดเสวนา ในหัวข้อ CCUS : การดักจับ ใช้ประโยชน์ และกักเก็บคาร์บอน “การขับเคลื่อน CCUS เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน” โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) ทั้งนี้งานเสวนาดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 18 (NAC2023) รวมทั้งเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนโครงการแผนที่นำทางเทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน เพื่อนำทางประเทศไทยไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (CCUS TRM : Navigating Thailand towards Carbon Neutrality) ภายในงาน ดร.วรรณี ฉินศิริกุล ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทค ได้กล่าวเปิดงานและต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมที่ลงทะเบียนเข้าร่วมงานราว 250 คน ครอบคลุมหน่วยงานวิจัย มหาวิทยาลัย หน่วยงานกำกับและขับเคลื่อนนโยบาย หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนผู้ใช้เทคโนโลยีการลดก๊าซเรือนกระจก

รับสมัครผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการ “พัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และผลิตภัณฑ์ด้านสุขอนามัยเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย”

    สวทช. โดยโปรแกรม ITAP และศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) สร้างความร่วมมือ เพื่อสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และผลิตภัณฑ์สุขอนามัย เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพและความปลอดภัย จากแพลทฟอร์มการทดสอบด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัย เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันไปสู่ระดับสากลต่อไป   การวิเคราะห์ทดสอบที่สนับสนุนภายใต้โครงการ การทดสอบด้านความปลอดภัยและประสิทธิภาพสารออกฤทธิ์และผลิตภัณฑ์เวชสำอาง (Cosmeceuticals) การทดสอบด้านความปลอดภัยและประสิทธิภาพสารออกฤทธิ์และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (Nutraceuticals) การทดสอบด้านความปลอดภัยและประสิทธิภาพโดยใช้ตัวอ่อนปลาม้าลาย   คุณสมบัติผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการ ผู้ประกอบการในภาคการผลิตและบริการของทุกสาขาอุตสาหกรรม ที่เป็นนิติบุคคลมีผู้ถือหุ้นคนไทยไม่ต่ำกว่า 51% และมียอดขายไม่เกิน 500 ล้านบาท   ค่าใช้จ่าย ITAP สวทช. สนับสนุนในส่วนค่าที่ปรึกษาและค่าวิเคราะห์ทดสอบ ในลักษณะการเบิกจ่ายย้อนหลัง เมื่อเสร็จสิ้นโครงการฯ โดยสนับสนุนค่าใช้จ่ายสูงสุดไม่เกิน 50% วงเงินสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาทต่อโครงการ   ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คุณพนิตา ศรีประย่า มือถือ 063-915-6656 อีเมล์ panita@nstda.or.th คุณลดาวัลย์ รุ่งรัศมีเจริญ โทรศัพท์ 0-2564-7100 ต่อ […]

นักวิจัย นาโนเทค สวทช. ต่อยอด Nano Coating สู่น้ำยาเคลือบพื้นผิวโซลาร์เซลล์ “ลดฝุ่นเกาะ-สะท้อนน้ำ” นวัตกรรมตอบโมเดลเศรษฐกิจ BCG ด้านเศรษฐกิจสีเขียว

‘ฝุ่น’ ไม่เพียงส่งผลต่อสุขภาพและการใช้ชีวิตของมนุษย์เรา แต่ยังส่งผลต่อประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าของโซลาร์เซลล์ โดยเฉพาะในหน้าแล้งที่ประสิทธิภาพลดลง 6-10% นักวิจัยนาโนเทค สวทช. พัฒนาน้ำยาเคลือบผิวโซลาร์เซลล์ ด้วยเทคโนโลยีเคลือบนาโน (Nano Coating) ลดการเกาะของฝุ่น เพิ่มสมบัติสะท้อนน้ำ พร้อมขยับสู่ดีพเทคสตาร์ตอัปในชื่อ “นาโน โค๊ตติ้ง เทค” นำนวัตกรรมหนุนอุตสาหกรรมพลังงานทางเลือก โดยเฉพาะโซลาร์เซลล์และโซลาร์ฟาร์ม ช่วยลดก๊าซเรือนกระจก เพิ่มความยั่งยืนทางพลังงาน รับลูกโมเดลเศรษฐกิจ BCG ดร.ธันยกร เมืองนาโพธิ์ นักวิจัยทีมวิจัยนวัตกรรมเคลือบนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า ความเชี่ยวชาญของทีมวิจัยเราคือ การพัฒนาสารเคลือบนาโนสูตรพิเศษสำหรับพื้นผิวหลากหลายประเภท เพื่อเพิ่มคุณสมบัติให้กับพื้นผิวตามความต้องการ โดยสามารถประยุกต์ใช้ได้ทั้งในอุตสาหกรรมผลิตพลังงาน อุตสาหกรรมสิ่งก่อสร้าง พลาสติก กระดาษ รวมถึงพื้นผิวอื่นๆ หนึ่งในนั้นคือ โซลาร์เซลล์ ที่เราพบว่า เทคโนโลยีเคลือบนาโนนี้ สามารถแก้ปัญหาที่กลุ่มผู้ใช้โซลาร์เซลล์เพื่อการผลิตไฟฟ้าในระดับโรงงานอุตสาหกรรม โซลาร์ฟาร์ม รวมถึงผู้ผลิตแผงโซลาร์เซลล์กำลังเผชิญ ฝุ่น นับว่า เป็นปัญหาใหญ่สำหรับโซลาร์เซลล์ที่ทำให้ประสิทธิภาพในการรับแสงอาทิตย์ที่จะนำไปผลิตเป็นไฟฟ้าลดลง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ใช้โซลาร์เซลล์เพื่อการผลิตไฟฟ้าในระดับโรงงานอุตสาหกรรมหรือการทำโซลาร์ฟาร์มที่ต้องติดตั้งแผงจำนวนมาก เนื่องจากช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเมษายน หรือหน้าแล้งนั้น ไทยต้องเจอกับฝุ่นจำนวนมาก ส่งผลต่อประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าของโซลาร์เซลล์ลดลง 6-8% […]

นาโนเทค สวทช. จับมือเครือข่ายพันธมิตรเดินหน้าโครงการ CCUS TRM ลงพื้นที่ กฟผ.แม่เมาะ หารือแนวทางความร่วมมือด้านเทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน

เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2566 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) นำโดย ดร.วรรณี ฉินศิริกุล ผู้อำนวยการนาโนเทค พร้อมด้วยผู้บริหาร และนักวิจัย เข้าเยี่ยมชมเหมืองแม่เมาะ และการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แนวทางการวิจัยพัฒนา และหารือความร่วมมือด้านเทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน (CCUS technology) ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมเพื่อรวบรวมข้อมูลสำคัญภายใต้การดำเนินโครงการแผนที่นำทางเทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน เพื่อนำทางประเทศไทยไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (CCUS TRM : Navigating Thailand towards Carbon Neutrality) ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.พงษ์วิภา หล่อสมบูรณ์ ผู้เชี่ยวชาญระดับสูง สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) ในฐานะผู้แทนแหล่งทุนอุดหนุนวิจัยเข้าร่วมกิจกรรมลงพื้นที่ พร้อมด้วยเครือข่ายพันธมิตรภายใต้โครงการฯ นำโดย รศ. ดร. ณัฐสิทธิ์ เกิดศรี หัวหน้าทีมวิจัยและปฏิบัติการด้านการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ TIME Labs […]

นาโนเทค สวทช. นำ 2 งานวิจัยร่วมงานแถลงข่าว NAC2023

เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2566 ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.): ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ดร.วรรณพ วิเศษสงวน ผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สวทช. พร้อมด้วย ดร.จุฬารัตน์ ตันประเสริฐ รองผู้อำนวยการ สวทช. นำทีมนักวิจัย สวทช. และหน่วยงานพันธมิตร โดยมี ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. ร่วมเป็นเกียรติในงานแถลงข่าวการจัดการประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 18 (18th NSTDA Annual Conference: NAC2023) ภายใต้แนวคิด “สวทช. : ขุมพลังหลัก วทน. เร่งการขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG สู่ความยั่งยืน” (NSTDA: STI powerhouse […]

1 9 10 11 48