นาโนเทค สวทช. เปลี่ยนของเหลือจากการเกษตร-รง.กระดาษ สู่ “สารชีวภัณฑ์ไฮบริดระดับนาโน” ป้องกัน-ยับยั้งเชื้อราก่อโรคในนาข้าว ทดแทนสารเคมี ตอบ BCG เพื่อความยั่งยืน

สารเคมีที่ตกค้างใน “ข้าว” นอกจากส่งผลต่อผู้บริโภคแล้ว ยังกระทบการส่งออกพืชเศรษฐกิจสำคัญของไทยอีกด้วย นักวิจัยนาโนเทค สวทช. ต่อยอดความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการปรับสภาพและการใช้ประโยชน์ชีวมวลสู่ “สารชีวภัณฑ์ไฮบริดระดับนาโน” จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรอย่างฟางข้าว หรือของเสียจากกระบวนการผลิตเยื่อและกระดาษ ที่มีจุดเด่นในการป้องกันและยับยั้งเชื้อราก่อโรคในนาข้าว พร้อมเสริมธาตุอาหารจำเป็น ทดสอบภาคสนามร่วมกับศูนย์วิจัยข้าว จ.ขอนแก่น ประสิทธิภาพเทียบเคียงสารเคมี หวังเป็นผลิตภัณฑ์ทางเลือก ตอบ BCG หนุนเกษตรไทยเติบโตแบบยั่งยืนในเวทีโลก          ดร. วรรณวิทู วรรณโมลี ทีมวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยา กลุ่มวิจัยการเร่งปฏิกิริยาและการคำนวณระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า […]

เส้นพลาสติกรักษ์โลก จากเปลือกหอยแมลงภู่-ขยะ PLA สำหรับการพิมพ์สามมิติ ย่อยสลาย 100%

นักวิจัยนาโนเทค สวทช. จับมือจุฬาฯ ต่อยอดไบโอแคลเซียมคาร์บอเนตจากเปลือกหอยแมลงภู่ ผสมขยะพลาสติกชีวภาพ (PLA) พัฒนา “Re-ECOFILA เส้นพลาสติกรักษ์โลกสำหรับเครื่องพิมพ์สามมิติ” ย่อยสลายได้ 100% คุณภาพเทียบเท่าของที่มีในท้องตลาดในราคาที่ถูกกว่า หวังทดแทนของนำเข้าราคาสูง สร้างโอกาสการเข้าถึงเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติของนักเรียน นักศึกษาและคนทั่วไป ตอบ BCG เศรษฐกิจหมุนเวียน-สีเขียว ช่วยคืนชีพขยะ PLA จัดการขยะเปลือกหอยแมลงภู่ในชุมชน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมอย่างยั่งยืน ดร. ชุติพันธ์ เลิศวชิรไพบูลย์ นักวิจัยจากทีมวิจัยการวินิจฉัยระดับนาโน กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ […]

From Waste to Wow & Wealth! ‘เปลือกหอยแมลงภู่’ สู่สารเคลือบช่วยดูดซับคราบน้ำมัน

นักวิจัยนาโนเทค สวทช. และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปลี่ยนขยะจากอุตสาหกรรมอาหารอย่างเปลือกหอยแมลงภู่เป็น “อนุภาคนาโนอะราโกไนต์” แคลเซียมคาร์บอเนตชีวภาพ ที่โดดเด่นด้วยความบริสุทธิ์และพื้นที่ผิวสูง เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนสมบัติเชิงพื้นผิวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในดูดซับคราบน้ำมัน สามารถต่อยอดสู่สเปรย์-ฟองน้ำทำความสะอาดที่ปลอดภัย พร้อมตอบ BCG เพื่อความยั่งยืนด้วยกระบวนผลิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่มีการสร้างของเสีย (Zero Waste Process) ขยายกำลังการผลิตสู่เชิงพาณิชย์ได้ ดร. ชุติพันธ์ เลิศวชิรไพบูลย์ นักวิจัยจากกลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า งานวิจัยเรื่อง อนุภาคนาโนอะราโกไนต์สำหรับทำความสะอาดคราบน้ำมัน เป็นความร่วมมือระหว่าง สวทช. […]

นาโนเทค สวทช. พัฒนาอนุภาคนาโนอิมัลชั่นขิง-ทองคำ สู่ครีมลดรอยแผลและครีมร้อนคลายกล้ามเนื้อ

ดร.กนกวรรณ ศันสนะพงษ์ปรีชา ทีมวิจัยเวชศาสตร์นาโน กลุ่มวิจัยการห่อหุ้มระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า งานวิจัย “อิมัลเจลที่มีส่วนประกอบของอนุภาคนาโนอิมัลชั่นบรรจุสารสกัดจากเหง้าขิงและอนุภาคนาโนทองคำ เพื่อยับยั้งการอักเสบและสมานแผล” เกิดจากความต้องการลดข้อจำกัดของสารสกัดจากเหง้าขิงที่ไม่สามารถละลายน้ำได้ ทำให้แม้จะทราบฤทธิ์ในการต่อต้านการอักเสบและอนุมูลอิสระที่สามารถต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ แต่หากไม่สามารถละลายน้ำได้ ก็จะทำให้การซึมผ่านสู่เซลล์ผิวหนังเป็นไปอย่างจำกัด และออกฤทธิ์ในการต่อต้านการอักเสบและสมานแผลได้ไม่เต็มที่ “ขิงเป็นพืชสมุนไพรท้องถิ่นของไทยที่ปลูกกันเยอะ ด้วยฤทธิ์ร้อนที่สามารถลดการอักเสบทำให้เกิดการนำไปใช้เป็นลูกประคบ เพื่อช่วยในการคลายกล้ามเนื้อ ลดอาการปวดเมื่อยต่างๆ แต่ด้วยเป็นรูปแบบที่ใช้ยาก ทีมวิจัยเราจึงอยากทำออกมาในรูปแบบที่ใช้ง่าย” ดร.กนกวรรณอธิบาย อนุภาคนาโนอิมัลชั่นที่ทีมวิจัยคิดค้นขึ้นสามารถห่อหุ้มสารสกัดไขมันจากเหง้าขิงได้เป็นอย่างดี ทำให้สารสำคัญจากขิงซึมซาบเข้าสู่เซลล์ผิวหนังได้ดีขึ้น เพิ่มความคงตัวของสารสำคัญ และเพิ่มประสิทธิภาพในการสมานแผลและลดการอักเสบที่เกิดขึ้นได้ นอกจากสารสกัดจากเหง้าขิง ยังมีการใช้ทองคำซึ่งเป็นแร่ธาตุบริสุทธิ์เพื่อช่วยปรับสภาพผิวหนังให้เนียนและกระจ่างใสมากขึ้น […]

นวัตกรรมเคลือบผิวนาโน นำร่อง ‘อวท. Living Lab’ ตัวช่วยหนุน นวัตกรรม/สตาร์ทอัพ

งานวิจัยก่อนที่จะออกไปสู่เชิงพาณิชย์ นอกจากการทดสอบในห้องปฏิบัติการต่างๆ การทดสอบใช้งานจริง ในพื้นที่และสถานการณ์จริง ก็นับเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ประชาชนรวมถึงผู้ที่สนใจเข้าใจและเชื่อมั่นในประสิทธิภาพ ก่อนที่จะรับถ่ายทอดเทคโนโลยี หรือเลือกใช้งานจริง เช่นเดียวกับงานวิจัยสารเคลือบนาโน ของทีมวิจัยนวัตกรรมเคลือบนาโน กลุ่มวิจัยวัสดุผสมและการเคลือบนาโนของนาโนเทค สวทช. ที่ได้รับโอกาสในการทำงานร่วมกับ อวท. ซึ่งเปิดกว้างให้นำนวัตกรรมสารเคลือบนาโน สำหรับเคลือบผิวป้องกันฝุ่นและตะไคร่น้ำ เพื่อเพิ่มคุณสมบัติของการกันคราบสกปรกบนพื้นผิว Tower Sign และแผ่นป้ายอะคริลิคที่ติดตั้งบริเวณ Tower Sign ด้านหน้าทางเข้า อวท. จำนวน 5 ทาวเวอร์ 38 ช่องป้าย NANOTEC Newsletter ฉบับนี้ […]

อนุภาคนาโนและไมโครบีดส์กักเก็บสารสกัดกระเทียม

ชื่อเทคโนโลยี / สิ่งประดิษฐ์ อนุภาคนาโนและไมโครบีดส์กักเก็บสารสกัดกระเทียม   วิจัยและพัฒนาโดย ดร.ณัฎฐิกา แสงกฤช และคณะ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สวทช. ที่มา และความสำคัญที่นำมาสู่การพัฒนาเทคโนโลยีนี้ สารสำคัญในกระเทียมที่ได้รับการยอมรับ คือ อัลลิซิน มีการศึกษาของ Cavallito และ Bailey (1994) พบว่า อัลลิซิน มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ช่วยต้านการแข็งตัวของเม็ดเลือดแดง ช่วยลดความดันโลหิต ลดไขมันในเลือด […]

1 2 5