Skip to content
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)

ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)

  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับนาโนเทค
    • เกี่ยวกับ NANOTEC
    • ผู้บริหาร
    • คณะกรรมการบริหารศูนย์ ฯ
    • รายงานประจำปี
    • NANOTEC Newsletters
    • เยี่ยมชม
    • ติดต่อกับนาโนเทค
      • ร้องเรียนเกี่ยวกับจริยธรรมวิจัย
      • ร้องเรียนเรื่องทั่วไป
      • ร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
  • งานวิจัยและพัฒนา
    • Nanoencapsulation Research Group (NCAP)
      • Nanolife and Cosmeceuticals Research Team (NLC)
      • Nanomedicine and Veterinary Research Team (NMV)
    • Nanocatalysis and Molecular Simulation Research Group (NCAS)
      • Catalyst Research Team (CAT)
      • Nanoscale Simulation Research Team (SIM)
      • Artificial Photosynthesis (AP)
      • Nanoinformatics and artificial intelligence research team (NAI)
    • Advanced Nano-characterization and Safety Research Group (ANCS)
      • Nano Safety and Bioactivity Research Team (NSB)
      • Monitoring and Process Engineering Research Team (MAP)
      • Nano-characterization Team (NCH)
    • Nanohybrids and Coating Research Group (NHIC)​
      • Environmental Nanotechnology Research Team (ENV)
      • Nanohybrids for Industrial Solutions Research Team (NIS)
      • Innovative Nanocoating Research Team (INC)
      • Nanofunctional Fiber Research Team (NFT)
    • Responsive Materials and Nanosensor Research Group (RMNS)
      • Nanodiagnostics Device Research Team (NDx)
      • Nanoneedle Research Team (NND)
      • Responsive Nanomaterials Research Team (RNM)
    • + Nano Agricultural Chemistry and Processing Research Team (ACP)​
  • นวัตกรรมนาโนเทค
    • เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
    • NANOTEC COVID-19 R&D
      • NanoCOVID-19 Antigen Rapid test
      • nSPHERE Pressurized Helmet
    • นวัตกรรมนาโนเทคใน Thailand Tech Show
  • งานบริการ
    • ด้านการวิจัยและพัฒนา
    • ด้านการวิเคราะห์ทดสอบ
      • บริการเครื่องมือวิเคราะห์ทดสอบ
      • บริการทดสอบผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ
      • บริการทดสอบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพ
      • บริการทดสอบความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและฤทธิ์ทางชีวภาพด้วยโมเดลปลาม้าลาย
    • โรงงานต้นแบบผลิตอนุภาคนาโนและเครื่องสำอาง
  • ข่าวและประกาศ
    • ข่าวและประกาศ
    • ร่วมงานกับนาโนเทค
    • จัดซื้อจัดจ้าง
  • บุคลากร
    • ฝ่ายวิจัยและพัฒนา
    • ฝ่ายสนับสนุน
  • ความร่วมมือกับพันธมิตร
    • หน่วยงานพันธมิตรในประเทศ
    • หน่วยงานพันธมิตรต่างประเทศ
    • โครงการศูนย์เครือข่ายการวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยี (Research Network of NANOTEC : RNN)
    • สถานร่วมวิจัย มทส.-นาโนเทค-สซ. เพื่อการใช้แสงซินโครตรอน
  • รู้จักนาโนเทคโนโลยี
    • เอกสารเผยแพร่
    • นาโนน่ารู้
    • ความปลอดภัยด้านนาโนเทคโนโลยี
      • บทบาทของงาน NSA
      • เอกสารเผยแพร่
        • สำหรับผู้ประกอบการ
        • สำหรับภาครัฐและประชาชน
      • สถานการณ์นาโนเทคโนโลยี
  • EN
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับนาโนเทค
    • เกี่ยวกับ NANOTEC
    • ผู้บริหาร
    • คณะกรรมการบริหารศูนย์ ฯ
    • รายงานประจำปี
    • NANOTEC Newsletters
    • เยี่ยมชม
    • ติดต่อกับนาโนเทค
      • ร้องเรียนเกี่ยวกับจริยธรรมวิจัย
      • ร้องเรียนเรื่องทั่วไป
      • ร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
  • งานวิจัยและพัฒนา
    • Nanoencapsulation Research Group (NCAP)
      • Nanolife and Cosmeceuticals Research Team (NLC)
      • Nanomedicine and Veterinary Research Team (NMV)
    • Nanocatalysis and Molecular Simulation Research Group (NCAS)
      • Catalyst Research Team (CAT)
      • Nanoscale Simulation Research Team (SIM)
      • Artificial Photosynthesis (AP)
      • Nanoinformatics and artificial intelligence research team (NAI)
    • Advanced Nano-characterization and Safety Research Group (ANCS)
      • Nano Safety and Bioactivity Research Team (NSB)
      • Monitoring and Process Engineering Research Team (MAP)
      • Nano-characterization Team (NCH)
    • Nanohybrids and Coating Research Group (NHIC)​
      • Environmental Nanotechnology Research Team (ENV)
      • Nanohybrids for Industrial Solutions Research Team (NIS)
      • Innovative Nanocoating Research Team (INC)
      • Nanofunctional Fiber Research Team (NFT)
    • Responsive Materials and Nanosensor Research Group (RMNS)
      • Nanodiagnostics Device Research Team (NDx)
      • Nanoneedle Research Team (NND)
      • Responsive Nanomaterials Research Team (RNM)
    • + Nano Agricultural Chemistry and Processing Research Team (ACP)​
  • นวัตกรรมนาโนเทค
    • เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
    • NANOTEC COVID-19 R&D
      • NanoCOVID-19 Antigen Rapid test
      • nSPHERE Pressurized Helmet
    • นวัตกรรมนาโนเทคใน Thailand Tech Show
  • งานบริการ
    • ด้านการวิจัยและพัฒนา
    • ด้านการวิเคราะห์ทดสอบ
      • บริการเครื่องมือวิเคราะห์ทดสอบ
      • บริการทดสอบผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ
      • บริการทดสอบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพ
      • บริการทดสอบความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและฤทธิ์ทางชีวภาพด้วยโมเดลปลาม้าลาย
    • โรงงานต้นแบบผลิตอนุภาคนาโนและเครื่องสำอาง
  • ข่าวและประกาศ
    • ข่าวและประกาศ
    • ร่วมงานกับนาโนเทค
    • จัดซื้อจัดจ้าง
  • บุคลากร
    • ฝ่ายวิจัยและพัฒนา
    • ฝ่ายสนับสนุน
  • ความร่วมมือกับพันธมิตร
    • หน่วยงานพันธมิตรในประเทศ
    • หน่วยงานพันธมิตรต่างประเทศ
    • โครงการศูนย์เครือข่ายการวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยี (Research Network of NANOTEC : RNN)
    • สถานร่วมวิจัย มทส.-นาโนเทค-สซ. เพื่อการใช้แสงซินโครตรอน
  • รู้จักนาโนเทคโนโลยี
    • เอกสารเผยแพร่
    • นาโนน่ารู้
    • ความปลอดภัยด้านนาโนเทคโนโลยี
      • บทบาทของงาน NSA
      • เอกสารเผยแพร่
        • สำหรับผู้ประกอบการ
        • สำหรับภาครัฐและประชาชน
      • สถานการณ์นาโนเทคโนโลยี
  • EN
Cover Story: NANOTEC Newsletter ฉบับที่ 39 ประจำเดือนเมษายน 2567

Cover Story: NANOTEC Newsletter ฉบับที่ 39 ประจำเดือนเมษายน 2567

25/04/2024 Salinee Tubpila NANOTEC NEWSLETTER

 

การปนเปื้อนโลหะหนักในแหล่งน้ำ สามารถเกิดขึ้นได้ การเฝ้าระวัง ตรวจสอบสภาพแวดล้อมรอบตัวจึงเป็นเรื่องที่หลายฝ่ายให้ความสำคัญ NANOTEC Newsletter ฉบับนี้ พาไปคุยกับ “ดร. วีรกัญญา มณีประกรณ์” หัวหน้าทีมวิจัยวัสดุตอบสนองระดับนาโน กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน ที่นำทีมวิจัยใช้องค์ความรู้และความเชี่ยวชาญด้านวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์พัฒนาเป็นเซ็นเซอร์ตรวจวัดสิ่งปนเปื้อนในน้ำและพืชสมุนไพร โดย “เซ็นเซอร์เคมีไฟฟ้าตรวจวัดโลหะหนัก” ตัวช่วยตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนของ 4 โลหะอันตรายอย่าง แคดเมียม, ตะกั่ว, ปรอท และสารหนู ในน้ำและพืชสมุนไพร ตอบโจทย์การใช้งานภาคสนามและห้องปฏิบัติการขนาดเล็ก ด้วยจุดเด่นที่สามารถตรวจพร้อมกันได้หลายชนิดโลหะ รู้ผลเชิงปริมาณใน 1 นาที ต้นแบบเซ็นเซอร์พร้อมต่อยอดใช้งาน รับโมเดลเศรษฐกิจ BCG ด้าน Green Economy เพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

“เซ็นเซอร์เคมีไฟฟ้าตรวจวัดโลหะหนัก เป็นเครื่องมือสำหรับวิเคราะห์การปนเปื้อนโลหะหนัก ได้แก่ แคดเมียม ตะกั่ว ปรอท สารหนู อาศัยเทคนิคเคมีไฟฟ้า เพื่อวัดสัญญาณเคมีไฟฟ้า ใช้ร่วมกับเครื่องวัดแบบพกพา โดยทีมวิจัยพัฒนาโดยการนำขั้วไฟฟ้านำมาปรับปรุงคุณสมบัติด้วยวัสดุนาโน ที่ออกแบบให้จำเพาะกับสารโลหะหนักแต่ละชนิด 4 ชนิดข้างต้น ออกมาในรูปเซ็นเซอร์แผ่นบาง การตรวจวิเคราะห์จะเริ่มจากนำตัวอย่างผสมกับน้ำยาที่พัฒนาขึ้น หยดลงบนขั้วไฟฟ้าในบริเวณที่กำหนด กดปุ่มตรวจวัดผ่านโปรแกรมการตรวจวัด โปรแกรมจะวิเคราะห์ปริมาณความเข้มข้นของโลหะที่อยู่ในตัวอย่างภายใน 1 นาที” ดร. วีรกัญญากล่าว พร้อมชี้ว่า ในกรณีที่เป็นพืชสมุนไพรนั้น จะนำพืชมาผสมกับน้ำยาแล้วคั้นน้ำจากพืช และใช้น้ำคั้นจากพืชหยดลงบนขั้วไฟฟ้าและตรวจวัดด้วยวิธีการเช่นเดียวกัน

เซ็นเซอร์เคมีไฟฟ้าตรวจวัดโลหะหนัก มีจุดเด่นคือให้ผลการตรวจวัดรวดเร็ว สามารถใช้คัดกรองเบื้องต้นทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณว่ามีการปนเปื้อนสารโลหะหนักหรือไม่ ชนิดใด ในปริมาณเท่าไหร่ โดยการตรวจวัดตัวอย่างน้ำ ได้แก่ น้ำดิบ น้ำดื่ม และน้ำใช้ เซ็นเซอร์ให้ผลการตรวจวัดที่ถูกต้องและแม่นยำ สอดคล้องกับผลการตรวจด้วยเครื่องมือมาตรฐานในห้องปฏิบัติการ (ICP-MS) ซึ่งมีราคาแพงและใช้เวลารอผลนาน โดยความสามารถในการตรวจวัดของเซ็นเซอร์ที่พัฒนาขึ้นนับว่ามีประสิทธิภาพดีเมื่อเทียบกับชุดตรวจที่มีอยู่ในท้องตลาดปัจจุบันที่มีความถูกต้องแม่นยำต่ำ ราคาแพง ใช้เวลาแสดงผลนานประมาณ 10 – 30 นาที เซ็นเซอร์เคมีไฟฟ้าที่พัฒนาขึ้นนี้ จึงอาจเป็นทางเลือกหนึ่งในการสร้างความเชื่อมั่นในความปลอดภัยของน้ำของประชาชนผู้ใช้น้ำให้สามารถตรวจติดตามการปนเปื้อนโลหะหนักในน้ำได้อย่างสม่ำเสมอด้วยตนเอง

ปัจจุบัน ต้นแบบเซ็นเซอร์เคมีไฟฟ้าตรวจวัดโลหะหนักที่ทีมวิจัยนาโนเทค สวทช. พัฒนาขึ้นนั้น มีการนำไปใช้ตรวจวิเคราะห์น้ำในพื้นที่จริงร่วมกับสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ณ จังหวัดกาฬสินธุ์ และนำไปตรวจวัดน้ำให้กับชุมชนในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น  นอกจากนี้ยังร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในการตรวจวิเคราะห์น้ำในโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดลำปาง รวมถึงนำไปตรวจวิเคราะห์โลหะหนักในพืชสมุนไพร ร่วมกับเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EECi และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จังหวัดระยอง ฉะเชิงเทรา ชลบุรี

“นวัตกรรมดังกล่าว จะเป็นประโยชน์กับชุมชนหรือหน่วยงานที่ดูแลตรวจสอบเรื่องของการปนเปื้อนโลหะหนักในแหล่งน้ำหรือพืชสมุนไพรในพื้นที่นั้น ๆ หรือนำไปใช้ตรวจคัดกรองในกรณีเร่งด่วนเพื่อป้องกันและวางแผนบริหารจัดการส่งแวดล้อมตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG ด้าน Green Economy เพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ซึ่งนาโนเทคเอง อยู่ระหว่างเสาะหาผู้สนใจนำต้นแบบเทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์ เพื่อร่วมทดสอบและประเมินประสิทธิภาพร่วมกัน รวมถึงผู้ร่วมวิจัยเพื่อให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพเพิ่มสูงขึ้น และภาคเอกชนที่จะร่วมผลักดันไปสู่เชิงพาณิชย์ต่อไป โดยทีมวิจัยเอง มีความร่วมมือกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเนคเทค สวทช. ในการพัฒนาเครื่องอ่าน และโปรแกรมอ่านผล เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์และแปลผลที่แม่นยำมากขึ้นในอนาคต” ดร. วีรกัญญาชี้

  • FacebookFacebook
  • XTwitter
  • LINELine

ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ : 0 2564 7100
แฟกซ์ : 0 2564 6985

เกี่ยวกับนาโนเทค

  • เกี่ยวกับ NANOTEC
  • ผู้บริหาร
  • กรรมการบริหารศูนย์ ฯ

บริการ

  • ด้านการวิจัยและพัฒนา
  • ด้านการวิเคราะห์ทดสอบ
  • โรงงานต้นแบบผลิตอนุภาคนาโนและเครื่องสำอาง
  • เครื่องมือวิเคราะห์ทดสอบ
  • ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์และวัสดุนาโน
  • ประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย

วิจัยและพัฒนา

  • NCBS
  • NCAS
  • ANCS
  • HMNP
  • RMNS

ติดต่อเรา

  • ติดต่อกับนาโนเทค
  • ร่วมงานกับนาโนเทค
  • จัดซื้อจัดจ้าง
  • แผนผังเว็บไซต์
เว็บไซต์นี้ใช้งานคุกกี้ ในการใช้งานสามารถใช้งานเว็บไซต์อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ เว็บไซต์นี้จะมีเก็บค่าคุกกี้ เพื่อให้การใช้งานเว็บไซต์ของท่านเป็นไปอย่างความราบรื่นและเป็นส่วนตัวมากขึ้น จึงขอให้ท่านรับรองว่าท่านได้อ่านและทำความเข้าใจนโยบายการใช้งานคุกกี้ยอมรับนโยบายความเป็นส่วนตัว