Skip to content
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)

ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)

  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับนาโนเทค
    • เกี่ยวกับ NANOTEC
    • ผู้บริหาร
    • คณะกรรมการบริหารศูนย์ ฯ
    • รายงานประจำปี
    • NANOTEC Newsletters
    • เยี่ยมชม
    • ติดต่อกับนาโนเทค
      • ร้องเรียนเกี่ยวกับจริยธรรมวิจัย
      • ร้องเรียนเรื่องทั่วไป
      • ร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
  • งานวิจัยและพัฒนา
    • Nanoencapsulation Research Group (NCAP)
      • Nanolife and Cosmeceuticals Research Team (NLC)
      • Nanomedicine and Veterinary Research Team (NMV)
    • Nanocatalysis and Molecular Simulation Research Group (NCAS)
      • Catalyst Research Team (CAT)
      • Nanoscale Simulation Research Team (SIM)
      • Artificial Photosynthesis (AP)
      • Nanoinformatics and artificial intelligence research team (NAI)
    • Advanced Nano-characterization and Safety Research Group (ANCS)
      • Nano Safety and Bioactivity Research Team (NSB)
      • Monitoring and Process Engineering Research Team (MAP)
      • Nano-characterization Team (NCH)
    • Nanohybrids and Coating Research Group (NHIC)​
      • Environmental Nanotechnology Research Team (ENV)
      • Nanohybrids for Industrial Solutions Research Team (NIS)
      • Innovative Nanocoating Research Team (INC)
      • Nanofunctional Fiber Research Team (NFT)
    • Responsive Materials and Nanosensor Research Group (RMNS)
      • Nanodiagnostics Device Research Team (NDx)
      • Nanoneedle Research Team (NND)
      • Responsive Nanomaterials Research Team (RNM)
    • + Nano Agricultural Chemistry and Processing Research Team (ACP)​
  • นวัตกรรมนาโนเทค
    • เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
    • NANOTEC COVID-19 R&D
      • NanoCOVID-19 Antigen Rapid test
      • nSPHERE Pressurized Helmet
    • นวัตกรรมนาโนเทคใน Thailand Tech Show
  • งานบริการ
    • ด้านการวิจัยและพัฒนา
    • ด้านการวิเคราะห์ทดสอบ
      • บริการเครื่องมือวิเคราะห์ทดสอบ
      • บริการทดสอบผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ
      • บริการทดสอบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพ
      • บริการทดสอบความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและฤทธิ์ทางชีวภาพด้วยโมเดลปลาม้าลาย
    • โรงงานต้นแบบผลิตอนุภาคนาโนและเครื่องสำอาง
  • ข่าวและประกาศ
    • ข่าวและประกาศ
    • ร่วมงานกับนาโนเทค
    • จัดซื้อจัดจ้าง
  • บุคลากร
    • ฝ่ายวิจัยและพัฒนา
    • ฝ่ายสนับสนุน
  • ความร่วมมือกับพันธมิตร
    • หน่วยงานพันธมิตรในประเทศ
    • หน่วยงานพันธมิตรต่างประเทศ
    • โครงการศูนย์เครือข่ายการวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยี (Research Network of NANOTEC : RNN)
    • สถานร่วมวิจัย มทส.-นาโนเทค-สซ. เพื่อการใช้แสงซินโครตรอน
  • รู้จักนาโนเทคโนโลยี
    • เอกสารเผยแพร่
    • นาโนน่ารู้
    • ความปลอดภัยด้านนาโนเทคโนโลยี
      • บทบาทของงาน NSA
      • เอกสารเผยแพร่
        • สำหรับผู้ประกอบการ
        • สำหรับภาครัฐและประชาชน
      • สถานการณ์นาโนเทคโนโลยี
  • EN
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับนาโนเทค
    • เกี่ยวกับ NANOTEC
    • ผู้บริหาร
    • คณะกรรมการบริหารศูนย์ ฯ
    • รายงานประจำปี
    • NANOTEC Newsletters
    • เยี่ยมชม
    • ติดต่อกับนาโนเทค
      • ร้องเรียนเกี่ยวกับจริยธรรมวิจัย
      • ร้องเรียนเรื่องทั่วไป
      • ร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
  • งานวิจัยและพัฒนา
    • Nanoencapsulation Research Group (NCAP)
      • Nanolife and Cosmeceuticals Research Team (NLC)
      • Nanomedicine and Veterinary Research Team (NMV)
    • Nanocatalysis and Molecular Simulation Research Group (NCAS)
      • Catalyst Research Team (CAT)
      • Nanoscale Simulation Research Team (SIM)
      • Artificial Photosynthesis (AP)
      • Nanoinformatics and artificial intelligence research team (NAI)
    • Advanced Nano-characterization and Safety Research Group (ANCS)
      • Nano Safety and Bioactivity Research Team (NSB)
      • Monitoring and Process Engineering Research Team (MAP)
      • Nano-characterization Team (NCH)
    • Nanohybrids and Coating Research Group (NHIC)​
      • Environmental Nanotechnology Research Team (ENV)
      • Nanohybrids for Industrial Solutions Research Team (NIS)
      • Innovative Nanocoating Research Team (INC)
      • Nanofunctional Fiber Research Team (NFT)
    • Responsive Materials and Nanosensor Research Group (RMNS)
      • Nanodiagnostics Device Research Team (NDx)
      • Nanoneedle Research Team (NND)
      • Responsive Nanomaterials Research Team (RNM)
    • + Nano Agricultural Chemistry and Processing Research Team (ACP)​
  • นวัตกรรมนาโนเทค
    • เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
    • NANOTEC COVID-19 R&D
      • NanoCOVID-19 Antigen Rapid test
      • nSPHERE Pressurized Helmet
    • นวัตกรรมนาโนเทคใน Thailand Tech Show
  • งานบริการ
    • ด้านการวิจัยและพัฒนา
    • ด้านการวิเคราะห์ทดสอบ
      • บริการเครื่องมือวิเคราะห์ทดสอบ
      • บริการทดสอบผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ
      • บริการทดสอบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพ
      • บริการทดสอบความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและฤทธิ์ทางชีวภาพด้วยโมเดลปลาม้าลาย
    • โรงงานต้นแบบผลิตอนุภาคนาโนและเครื่องสำอาง
  • ข่าวและประกาศ
    • ข่าวและประกาศ
    • ร่วมงานกับนาโนเทค
    • จัดซื้อจัดจ้าง
  • บุคลากร
    • ฝ่ายวิจัยและพัฒนา
    • ฝ่ายสนับสนุน
  • ความร่วมมือกับพันธมิตร
    • หน่วยงานพันธมิตรในประเทศ
    • หน่วยงานพันธมิตรต่างประเทศ
    • โครงการศูนย์เครือข่ายการวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยี (Research Network of NANOTEC : RNN)
    • สถานร่วมวิจัย มทส.-นาโนเทค-สซ. เพื่อการใช้แสงซินโครตรอน
  • รู้จักนาโนเทคโนโลยี
    • เอกสารเผยแพร่
    • นาโนน่ารู้
    • ความปลอดภัยด้านนาโนเทคโนโลยี
      • บทบาทของงาน NSA
      • เอกสารเผยแพร่
        • สำหรับผู้ประกอบการ
        • สำหรับภาครัฐและประชาชน
      • สถานการณ์นาโนเทคโนโลยี
  • EN
Cover Story: NANOTEC Newsletter ฉบับที่ 40 ประจำเดือนพฤษภาคม 2567

Cover Story: NANOTEC Newsletter ฉบับที่ 40 ประจำเดือนพฤษภาคม 2567

31/05/202431/05/2024 Salinee Tubpila NANOTEC NEWSLETTER

 

ศักยภาพด้านการวิจัยและพัฒนาของนาโนเทค สวทช. นับว่า เป็นที่ยอมรับในระดับสากล นอกจากจะมีรางวัลการันตีจากเวทีประกวดระดับโลก ยังสามารถต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ ทั้งในรูปแบบของบริษัทสตาร์ทอัพ และเอกชนจ้างวิจัย NANOTEC Newsletter ฉบับนี้ จะพาไปคุยกับ ดร. ธวิน เอี่ยมปรีดี จากทีมวิจัยความปลอดภัยระดับนาโนและฤทธิ์ทางชีวภาพ และนายสักรินทร์ ดูอามัน จากโรงงานต้นแบบผลิตเครื่องสำอางระดับนาโน ที่นำทีมนาโนเทค สวทช. พร้อมผลงานเวชสำอางจากพืชสมุนไพรไทย ไปคว้ารางวัล Bronze Medal Award จากเวที “The 49th International Exhibition of Inventions Geneva” โดยได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) หรือ National Research Council of Thailand (NRCT) ณ เมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

พืชสมุนไพรไทยสู่ “เวชสำอางต้านเซลล์แก่”

ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาวิธีการชะลอวัยโดยมุ่งเป้าจัดการเซลล์ซอมบี้ เรียกว่า Senotherapeutics อย่างไรก็ดี สารที่มีประสิทธิภาพสูงมักเป็นยา ซึ่งใช้ไม่ได้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง จากข้อจำกัดนี้ ดร. ธวิน เอี่ยมปรีดี นักวิจัย ทีมวิจัยความปลอดภัยระดับนาโนและฤทธิ์ทางชีวภาพ กลุ่มวิจัยการวิเคราะห์ระดับนาโนขั้นสูงและความปลอดภัย นาโนเทค สวทช. CEO, CTO และผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท โครโนไลฟ์ จำกัด ภายใต้ สวทช. พร้อมด้วย ดร. วันนิตา กลิ่นงาม ได้ค้นหาสารจากพืชสมุนไพรไทยที่สามารถย้อนกลับเซลล์ซอมบี้ ให้เป็นเซลล์ที่อ่อนเยาว์ จากการศึกษาสารจากพืชจำนวนมากพบว่า สารที่มีประสิทธิภาพสูงสุดมาจากพืชสมุนไพรไทย ทีมวิจัยจึงได้พัฒนากระบวนการสกัดสารสำคัญจากพืช เกิดเป็นสารออกฤทธิ์ชะลอวัย ReverZase

“หลังจากการคัดเลือกสารสำคัญ (Compound Screening) เพื่อหาสารที่มีประสิทธิภาพชะลอวัยสูงสุด และการพัฒนากระบวนการเตรียมสารสกัดมาตรฐานแล้ว ทีมวิจัยได้นำสารออกฤทธิ์ ReverZase ห่อหุ้มด้วยอนุภาคลิโปนิโอโซม (Liponiosome) และทำการทดสอบอนุภาค ReverZase พบว่า มีประสิทธิภาพชะลอวัย และมีความปลอดภัยต่อผิวหนัง จากนั้นจึงทำการพัฒนาสูตรตำรับ โดยผสานประสิทธิภาพด้วยสารออกฤทธิ์ชะลอวัย, โพสต์ไบโอติกส์ (Postbiotics), Anti-wrinkle peptide, Skin boosters, และ Instant-lift polymer เกิดเป็นเวชสำอางชะลอวัย ReverZase Regenerate Serum” ดร. ธวินกล่าว

เวชสำอางจากพืชสมุนไพรไทยที่ทีมวิจัยนาโนเทคพัฒนาขึ้นนั้น มีประสิทธิภาพในการปกป้องผิวจากการทำลายของแสงยูวีเอ/ยูวีบี (UVA/UVB) แสงสีฟ้า (Blue light) และ PM2.5 นอกจากนี้ จากการทดสอบในระดับคลินิกพบว่า ให้ผิวกระจ่างใสและชุ่มชื้นขึ้นใน 2 สัปดาห์ รวมถึงลดความหยาบผิว ให้ผิวเรียบเนียน เพิ่มความยืดหยุ่นผิว และลดริ้วรอยใน 8 สัปดาห์ ซึ่งนวัตกรรมนี้ผ่านการทดสอบทุกระดับ ตั้งแต่ระดับ เซลล์, เนื้อเยื่อผิวหนังสามมิติ, ผิวหนังมนุษย์ (Ex vivo skin) และการทดสอบในอาสาสมัคร

นวัตกรรม ReverZase นั้น ดร. ธวินชี้ว่า มีประสิทธิภาพสามารถย้อนกลับการแก่ชราระดับเซลล์ได้ดีกว่ายาชะลอวัย รวมถึงสารออกฤทธิ์ที่ใช้ในเครื่องสำอางจากแบรนด์ใหญ่ในตลาดโลก โดยมีการทดสอบเปรียบเทียบประสิทธิภาพของ ReverZase กับเครื่องสำอางเคาน์เตอร์แบรนด์ในกลุ่มพรีเมียม พบว่า กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและต้านอักเสบได้ดีที่สุด และให้ผิวกระจ่างใสดีที่สุด (จากการทดสอบเทียบกับผลิตภัณฑ์ชะลอวัยเคาน์เตอร์แบรนด์ 9 ผลิตภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ให้ผิวกระจ่างใสเคาน์เตอร์แบรนด์ 6 ผลิตภัณฑ์)

 “ความท้าทายของการพัฒนานวัตกรรมนี้ มาจากโจทย์ของทีมที่ต้องการค้นหาสารจากพืชไทย ที่มีประสิทธิภาพย้อนกลับเซลล์ซอมบี้ได้ดีที่สุด เทียบเท่ายา แต่เป็นสารที่สามารถใช้ในเครื่องสำอางได้ ดังนั้นจึงต้องเริ่มต้นตั้งแต่กระบวนการพัฒนาแพลทฟอร์มสำหรับค้นหาสาร และทำการค้นหาสาร (Compound screening) เมื่อทราบสารที่มีประสิทธิภาพสูงแล้ว ยังต้องกลับไปพัฒนากระบวนการสกัดจากพืช โดยใช้วิธี Green technology เพื่อให้ได้สารสำคัญปริมาณสูง จากนั้นยังต้องพัฒนากระบวนการกักเก็บ (Encapsulation) เพื่อเพิ่มความคงตัว และประสิทธิภาพของสาร รวมถึงการพัฒนา Formulation ที่เสริมการออกฤทธิ์ และยังให้เนื้อสัมผัสที่ดี เบา ให้ความรู้สึกสบายและสดชื่น อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญที่สุดคือ การทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยในทุกระดับ ตั้งแต่ สารสกัด อนุภาคสารสกัด และผลิตภัณฑ์เวชสำอาง ดังนั้นจะเห็นว่า นวัตกรรมนี้ต้องใช้ความเชี่ยวชาญที่หลากหลาย และใช้เวลานานมากในการพัฒนาผลิตภัณฑ์” ดร. ธวินเผย

“นวัตกรรมนี้ สร้างมาตรฐานใหม่ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เวชสำอางของไทย เนื่องจากเป็นการพัฒนาสารออกฤทธิ์ที่มีประสิทธิภาพเทียบเท่า Experimental antiaging drugs, มีประสิทธิภาพดีกว่า สารออกฤทธิ์ที่ใช้ในเครื่องสำอาง และสารจาก Global brands จำนวนมาก ขณะเดียวกันมีการทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยตั้งแต่ระดับห้องปฏิบัติการ จนถึงในอาสาสมัคร ซึ่งจะให้ประโยชน์และความคุ้มค่าต่อผู้บริโภคสูงที่สุด นอกจากนี้ นวัตกรรมนี้ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีจาก นาโนเทค สวทช. มายังบริษัท โครโนไลฟ์ ซึ่งเป็นสตาร์อัพภายใต้ สวทช. จึงเป็นการต่อยอดจากงานวิจัยพื้นฐานจนไปถึงการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ภายในปี 2567 นี้ นอกจากนี้ ยังเป็นการตอกย้ำให้เห็นความสำคัญว่า สารจากพืชสมุนไพรไทยที่มีประสิทธิภาพชะลอวัย และฤทธิ์ทางชีวภาพสูงมาก เพียงแต่รอการค้นพบจากนักวิจัย  ดังนั้น การศึกษาพืชสมุนไพรไทยเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์จึงเป็นสิ่งจำเป็น และเป็นประโยชน์อย่างมากต่อประเทศ” ดร. ธวิน ในฐานะนักวิจัยและสตาร์ทอัพจากนาโนเทค สวทช. ย้ำ

สูตรตำรับเซรั่มจากบัวบก มะหาด มะขามป้อม

นายสักรินทร์ ดูอามัน จากโรงงานต้นแบบผลิตเครื่องสำอางระดับนาโน  กลุ่มวิจัยการห่อหุ้มระดับนาโน  นาโนเทค สวทช. เผยว่า ผลงาน "Facial serum cosmetic products contains a Tri-HERBOSOME(TM) lipid-based carrier" เป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมจากสารสกัดพืชสมุนไพร 3 ชนิด ได้แก่ บัวบก มะหาด และมะขามป้อม ตอบโจทย์ความต้องการของภาคเอกชนอย่างบริษัท เทพประทานสมุนไพร จำกัด ที่ต้องการ "Great Product" สำหรับผลิตภัณฑ์สกินแคร์

"เราได้โจทย์จากบริษัท เทพประทานสมุนไพร จำกัด ที่ต้องการ Great Product เพื่อประสบความสำเร็จในธุรกิจสกินแคร์ (Skincare) ที่จะขับเคลื่อน ปูทางสู่เป้าหมายหลักสำคัญคือ การสร้างศูนย์ฟอกไตเพื่อคนยากไร้ โดยไม่คิดค่าตอบแทน จึงตัดสินใจเลือกนำสมุนไพรมาเป็นวัตถุดิบหลักของธุรกิจเครื่องสำอางบำรุงผิว ซึ่งการที่จะสร้าง Great Product ได้ ต้องมีหลักการที่สำคัญได้แก่ 1) ต้องเป็น Innovative Product ซึ่งต้องอาศัยงานวิจัยที่มีคุณภาพ ในระดับสูง เท่าที่มีอยู่และสามารถแสวงหาได้, 2) ต้องแตกต่างจาก Product ประเภทเดียวกัน การดีกว่า ไม่ใช่ความแตกต่าง และ 3) สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้ ไม่ใช่แก้ปัญหา เพราะถึงเขาจะมีปัญหาผิวหน้า แต่ไม่มีความต้องการ เขาก็ไม่มีทางซื้อ Product ไปใช้ เขาจึงมาที่นาโนเทค สวทช. ด้วยมองว่า เป็นสถาบันที่ได้รับการยอมรับ และมีความพร้อมของศักยภาพในการวิจัยเพื่อให้เกิด “Great Product"

เมื่อได้โจทย์ดังกล่าว ทีมวิจัยที่นำทีมโดยนายสักรินทร์ พร้อมด้วย ดร.อรพรรณ คิง, ดร.ธวิน เอี่ยมปรีดี, ดร.วันนิตา กลิ่นงาม, น.ส. สุชาดา ศิริลาภพานิช, นายชินสึเกะ อุจิดะ, น.ส.ศศินา มากมาย และนายคาวี เทพชัยน่าน จึงเดินหน้าทำการวิจัยและพัฒนา เริ่มจากการหาอัตราส่วนเฉพาะของสารสกัดทั้ง 3 ชนิด เพื่อให้มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่ดีที่สุด โดยการทดสอบในระดับห้องปฏิบัติการด้วย ex-vivo 3D skin model พร้อมกับการประเมินความเป็นพิษต่อเซลล์ควบคู่กันไปด้วย จากนั้นนำทำการห่อหุ้มด้วยระบบนำส่งระดับนาโน แล้วทำการประเมินฤทธิ์ทางชีวภาพควบคู่กับความเป็นพิษต่อเซลล์อีกครั้ง แล้วนำมาเป็นสารออกฤทธิ์สำคัญในตำรับ NALANYA HERBS Tri-HERBOSOME Concentrate Serum แล้วนำมาทดสอบประสิทธิภาพอีกครั้งใน ex-vivo 3D skin model และในอาสาสมัคร ซึ่งอนุภาคที่ทำการพัฒนาขึ้นมีความน่าสนใจมาก เนื่องจากเมื่อทำการ encapsulation แล้ว พบว่ามีฤทธิ์ 5 ประการคือ anti-aging, anti-wrinkle, anti-oxidant, brightening และ moisturizing และตำรับเซรั่มที่ทำการพัฒนาขึ้นนั้นมีส่วนประกอบจากธรรมชาติมากกว่า 95%

ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์เซรั่มจากบัวบก มะหาด มะขามป้อมที่พัฒนาขึ้นนี้ ได้ทำการผลิตและจดแจ้งในระบบ อย. ผ่าน โรงงานต้นแบบผลิตอนุภาคนาโนและเครื่องสำอาง ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยผลิตและจัดจำหน่ายแล้วกว่า 3,000 ชิ้น ซึ่งผลการตอบรับในระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมานั้นดีมาก มีการซื้อซ้ำจากลูกค้า และมีการรีวิวผ่านช่องทางต่างๆ มากมาย

"นอกจากความสำเร็จในการส่งต่อผลงานวิจัยไปถึงมือผู้บริโภค ทีมวิจัยเองก็ได้ประโยชน์ในแง่ของการพัฒนาองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค ในขณะเดียวกัน บริษัท เทพประทานสมุนไพร จำกัด มีความยินดีและพอใจอย่างมากที่ได้ร่วมงานกับเรา พร้อมกันนี้ ผลงานที่ทางบริษัทนำไปใช้ประโยชน์นั้น ได้มีการประชาสัมพันธ์ว่าได้มีการพัฒนาร่วมกับนาโนเทค ทำให้มีผู้ประกอบการหลายท่านสนใจเข้ามาขอร่วมงานกับทีมฯ เป็นโอกาสในการขยายขอบข่ายการทำงานร่วมกับภาคเอกชน เพื่อช่วยกันผลักดัน และขับเคลื่อนงานวิจัยไทยไปสู่การใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง" นายสักรินทร์ย้ำ

2 นวัตกรรมของนาโนเทค สวทช. นี้ นอกจากส่งไม้ต่อให้สตาร์ทอัพและเอกชนต่อยอดไปถึงมือผู้บริโภคแล้ว ยังได้รับรางวัล Bronze medal จากการประกวด 49TH GENEVA INTERNATIONAL EXHIBITION OF INVENTIONS ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และรางวัล NRCT Honorable Mention Award จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) อีกด้วย

 

  • FacebookFacebook
  • XTwitter
  • LINELine

ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ : 0 2564 7100
แฟกซ์ : 0 2564 6985

เกี่ยวกับนาโนเทค

  • เกี่ยวกับ NANOTEC
  • ผู้บริหาร
  • กรรมการบริหารศูนย์ ฯ

บริการ

  • ด้านการวิจัยและพัฒนา
  • ด้านการวิเคราะห์ทดสอบ
  • โรงงานต้นแบบผลิตอนุภาคนาโนและเครื่องสำอาง
  • เครื่องมือวิเคราะห์ทดสอบ
  • ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์และวัสดุนาโน
  • ประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย

วิจัยและพัฒนา

  • NCBS
  • NCAS
  • ANCS
  • HMNP
  • RMNS

ติดต่อเรา

  • ติดต่อกับนาโนเทค
  • ร่วมงานกับนาโนเทค
  • จัดซื้อจัดจ้าง
  • แผนผังเว็บไซต์
เว็บไซต์นี้ใช้งานคุกกี้ ในการใช้งานสามารถใช้งานเว็บไซต์อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ เว็บไซต์นี้จะมีเก็บค่าคุกกี้ เพื่อให้การใช้งานเว็บไซต์ของท่านเป็นไปอย่างความราบรื่นและเป็นส่วนตัวมากขึ้น จึงขอให้ท่านรับรองว่าท่านได้อ่านและทำความเข้าใจนโยบายการใช้งานคุกกี้ยอมรับนโยบายความเป็นส่วนตัว