การผลิตไบโอดีเซลจากเปลือกไข่เหลือทิ้ง

 เปลือกไข่ ตัวเร่งปฏิกิริยาผลิตไบโอดีเซลได้อย่างไร

สิ่งที่ดำเนินการวิจัย  นักวิจัยห้องปฏิบัติการวัสดุนาโนเพื่อพลังงานและการเร่งปฏิกิริยา ได้ทำการศึกษาเพื่อหาตัวเร่งปฏิกิริยาในระดับนาโนเพื่อใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาผลิตน้ำมันไบโอดีเซล โดยนำ “เปลือกไข่” เหลือทิ้งมาสังเคราะห์ให้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเคมีระดับนาโนเมตร ในรูปแบบของแข็งที่มีคุณสมบัติเป็นด่าง เหมาะกับการใช้เร่งปฏิกิริยา อีกทั้งยังช่วยร่นระยะในการผลิตไบโอดีเซลทำให้ได้กลีโซรีนที่มีความบริสุทธิ์สูง นับเป็นหนึ่งในผลงานวิจัยเด่นของ สวทช. ที่มีศักยภาพพร้อมลงทุนในเชิงพาณิชย์

จุดเด่นงานวิจัย : วัสดุของแข็งจากเปลือกไข่ไก่ ที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาผลิตไบโอดีเซลมีความโดดเด่น คือ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากไม่มีของเสียในกระบวนการผลิตเหมือนตัวเร่งปฏิกิริยาแบบเหลว และยังนำกลับมาใช้ซ้ำได้หลายครั้ง ช่วยลดต้นทุนการนำเข้าตัวเร่งปฏิกิริยาแบบเหลวและช่วยลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดเปลือกไข่เหลือทิ้งปีละกว่า 60,000 ตันด้วย

ตัวเร่งปฏิกิริยาแบบเหลว (แบบเดิม)
ตัวเร่งปฏิกิริยาแบบเหลว (แบบเดิม)
ตัวเร่งปฏิกิริยาแบบผงสีขาว(แบบใหม่)
ตัวเร่งปฏิกิริยาแบบผงสีขาว(แบบใหม่)

___________

ชมวีดีโอ คลิ๊ก “หัวข้อด้านล่าง” ทันที

Scoop สวทช. การผลิตไบโอดีเซลจากเปลือกไข่เหลือทิ้ง