ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพน้ำมันเมล็ดงาม้อนชนิดบรรจุแคปซูลนิ่ม

ชื่อเทคโนโลยี/สิ่งประดิษฐ์ กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพน้ำมันเมล็ดงาม้อนชนิดบรรจุแคปซูลนิ่ม  วิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยกระบวนการระดับนาโนเพื่ออุตสาหกรรมเกษตร (ACP) ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สวทช. ที่มา และความสำคัญที่นำมาสู่การพัฒนาเทคโนโลยีนี้ น้ำมันเมล็ดงาม้อนอุดมไปด้วยกรดไขมันอิ่มตัวหลายชนิด ได้แก่ กรดไลโนเลนิก (โอเมก้า 3) 55-60% กรดไลโนเออิก (โอเมก้า 6) 18-22% และกรดโอเลอิก (โอเมก้า 9) 0.08-0.17% ซึ่งมีส่วนช่วยบำรุงระบบประสาทและสมอง ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ นอกจากนี้ยังพบสารสำคัญในกลุ่มโพลีฟีนอลที่สำคัญหลายชนิดโดยเฉพาะกรดโรสมารินิก (Rosmarinic acid) และสารลูทีโอลิน (Luteolin) ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระซึ่งสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งได้ ระบบนำส่งยาอิมัลชันชนิดเกิดเอง (Self-emulsifying drug delivery system; SEDDS) เป็นระบบนำส่งที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาการนำส่งสารออกฤทธิ์และยาชนิดที่มีค่าการละลายน้ำต่ำที่ให้โดยการรับประทาน สารออกฤทธิ์และยาที่ละลายน้ำยากจะละลายอยู่ในกรดไขมันขนาดเล็ก และถูกดูดซึมผ่านกลไกของการย่อยและการดูดซึมของไขมันในร่างกาย ส่งผลให้มีชีวประสิทธิผลดีขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสูตรตำรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสุขภาพจากน้ำมันเมล็ดงาม้อนในรูปแบบของแคปซูลนิ่มพร้อมบริโภคที่มีประสิทธิภาพสูงในด้านการดูดซึมและการนำส่งสารสำคัญทั้ง โอเมก้า 3 โอเมก้า 6 และโอเมก้า 9 ไปยังลำไส้เล็กของมนุษย์ โดยผู้ได้รับประโยชน์จากงานวิจัย ได้แก่ เกษตรกรผู้ปลูกงาม้อน และอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่สนใจเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันเมล็ดงาม้อนในรูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคต่อไป สรุปเทคโนโลยี […]

เม็ดบีดส์เพื่อการประยุกต์ใช้ด้านสิ่งแวดล้อม

ชื่อเทคโนโลยี / สิ่งประดิษฐ์ เม็ดบีดส์เพื่อการประยุกต์ใช้ด้านสิ่งแวดล้อม (Hydrogel Beads for Environmental Applications) วิจัยและพัฒนาโดย ดร.สินีนาฏ ไทยบุญรอด และคณะ ทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งเเวดล้อม (ENV) กลุ่มวิจัยวัสดุผสมและการเคลือบนาโน (NHIC) ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช. ที่มา และความสำคัญที่นำมาสู่การพัฒนาเทคโนโลยีนี้ อุตสาหกรรมปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จัดเป็นกลุ่มของอุตสาหกรรมหนัก อันเป็นธุรกิจที่มีบทบาทสำคัญในระบบเศรษฐกิจของประเทศ กล่าวคือเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มีกระบวนการผลิตที่ซับซ้อนและให้ผลผลิตในจำนวนมหาศาล สะท้อนปริมาณของของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตที่มีปริมาณมากตามไปด้วย คล้ายกับกลุ่มอุตสาหกรรมกระดาษ และอุตสาหกรรมอาหาร เป็นต้น ในกระบวนการบำบัดและกำจัดของเสียของอุตสาหกรรมเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมบริเวณใกล้เคียง ซึ่งหากมีการบำบัดอย่างไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม อาจก่อให้เกิดการสะสมของสารพิษ อันประกอบไปด้วยสารอินทรีย์เป็นส่วนใหญ่ที่จะปะปนอยู่กับน้ำทิ้งของอุตสาหกรรม แนวทางหนึ่งที่นิยมใช้ในการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานปิโตรเคมีหรือโรงงานปิโตรเลียม คือ กระบวนการย่อยสารอินทรีย์ด้วยแบคทีเรีย โดยอาศัยการสร้างแหล่งที่อยู่ให้กับแบคทีเรีย หรือการตรึงเซลล์ไว้ในตัวกลาง (Cell Immobilization) ตัวกลางดังกล่าวนี้จะทำหน้าที่เป็นโครงสร้างที่มีรูพรุน เพื่อให้แบคทีเรียที่ทำหน้าที่ย่อยยึดเกาะ ทั้งยังเป็นแหล่งให้ออกซิเจนและอาหารผ่านได้และเป็นสภาวะที่เหมาะสมส่งเสริมให้แบคทีเรียมีอัตราการเจริญเติบโตได้ดี รูปตัวกลางที่ทำหน้าที่ตรึงเซลล์เพื่อใช้ในการบำบัดน้ำเสียในอุตสาหกรรม https://www.japanchemicaldaily.com/2017/10/20/kuraray-targets-zld-systems-in-pursuit-of-growing-water-treatment-business/http://www.en.sumiowater.com/waste-water-sectors/wastewater-treatment-oil-refineries/   สรุปเทคโนโลยี TRL ความท้าทายของการพัฒนาตัวกลางที่ใช้ในการตรึงเซลล์ สามารถพัฒนาได้ทั้งในรูปของสารอนินทรีย์ และสารอินทรีย์ ซึ่งสามารถพัฒนาได้จากพอลิเมอร์สังเคราะห์ และพอลิเมอร์ธรรมชาติ […]

“FRAcelle” เส้นใยเซลลูโลสระดับนาโน

ชื่อเทคโนโลยี / สิ่งประดิษฐ์ “FRAcelle” เส้นใยเซลลูโลสระดับนาโน นวัตกรรมทางวัสดุชีวภาพขั้นสูงและยั่งยืนแห่งศตวรรษที่ 21 วิจัยและพัฒนาโดย ดร.วรนุช อิทธิเบญจพงศ์ และคณะ ทีมวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยา (CAT) กลุ่มวิจัยการเร่งปฏิกิริยาและการคำนวณระดับนาโน (NCAS) ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช.   ที่มาและความสำคัญที่นำมาสู่การพัฒนาเทคโนโลยีนี้ เส้นใยนาโนเซลลูโลส (Cellulose Nanofiber) เป็นเส้นใยละเอียดพิเศษขนาดนาโนเมตรที่ผลิตจากเส้นใยเซลลูโลสที่มีอยู่ในธรรมชาติขนาดไมโครเมตรมาผ่านกรรมวิธีการผลิตให้ได้เส้นใยเซลลูโลสที่มีขนาดเล็กระดับนาโนเมตร โดยสมบัติพิเศษต่างๆ ของนาโนเซลลูโลสทำให้มีการขนานนามนาโนเซลลูโลสเป็นวัสดุแห่งอนาคตที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย เช่น ด้านวัสดุเสริมแรง ด้านบรรจุภัณฑ์ ด้านระบบนำส่งยาหรือสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ด้านอาหารและเวชภัณฑ์ ด้านชีวการแพทย์ เป็นต้น สรุปเทคโนโลยี ความน่าสนใจ และความพิเศษของนาโนเซลลูโลส คือ 1. น้ำหนักเบาเพียง 1 ใน 5 ของวัสดุโลหะแต่มีความแข็งแรงมากกว่าถึง 5 เท่า และมีพื้นที่ผิวสูง 2. สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ (biodegradable) 3. มีความสามารถเข้ากันได้กับเนื้อเยี่อของร่างกาย (biocompatible) เนื่องจากมีความเป็นพิษต่อเซลล์ต่ำ (low cytotoxicity) 4. […]

นาโนเทค สวทช. พัฒนา ‘ชุดตรวจเพื่อการคัดกรองเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่แบบรวดเร็ว’

นาโนเทค สวทช. พัฒนา ‘ชุดตรวจเพื่อการคัดกรองเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่แบบรวดเร็ว’ ปูทางสร้างองค์ความรู้ รับมือโรคระบาดใหม่ในอนาคต นักวิจัยนาโนเทค สวทช. พัฒนาชุดตรวจคัดกรองเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (NanoFlu) ตัวช่วยตรวจคัดกรองไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ และบี รู้ผลใน 5 นาที เตรียมเดินหน้าทดสอบทางคลินิก ก่อนต่อยอดใช้จริง ลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ พร้อมปูทางเทคโนโลยีแพลตฟอร์มสำหรับชุดตรวจคัดกรองเชื้ออื่นๆ รวมถึงเชื้อโคโรนาไวรัส ภญ.ดร.ณัฐปภัสร วิริยะชัยพร นักวิจัยจากทีมวิจัยวัสดุตอบสนองระดับนาโน กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซนเซอร์ระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า โครงการวิจัยนี้เริ่มจากปัญหาในการคัดกรองโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งผู้ป่วยมักจะมีอาการทางคลินิกที่คล้ายคลึงกัน เช่น เป็นไข้ ไอ มีน้ำมูก ดังนั้นนอกจากการแยกอาการทางคลินิกและประวัติการสัมผัสโรคแล้ว จึงยังต้องอาศัยการยืนยันผลด้วยวิธีมาตรฐาน ได้แก่ การเพาะเชื้อ และการใช้วิธีเพิ่มจำนวนของสารพันธุกรรมของเชื้อเป้าหมาย อย่างไรก็ตามข้อจำกัดของวิธีดังกล่าวนั้นจำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์/เครื่องมือ และห้องปฏิบัติการจำเพาะ และอาศัยความชำนาญในการทดสอบ การตรวจคัดกรองเบื้องต้นซึ่งต้องอาศัยความรวดเร็วจึงมักใช้การตรวจด้วยชุดตรวจแบบรวดเร็วในการทดสอบ “สำหรับชุดตรวจหาเชื้อไข้หวัดใหญ่นี้ โดยส่วนใหญ่แล้ว เรายังต้องอาศัยชุดตรวจที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งมักจะมีราคาสูง และหลากหลายเทคโนโลยี ดังนั้น หากเราสามารถพัฒนาเทคโนโลยีในการพัฒนาชุดตรวจไข้หวัดใหญ่ขึ้นมาได้ก็จะสามารถลดปัญหาในการตรวจคัดกรองการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ซึ่งมักพบการระบาดแบบฤดูกาลในทุกปี และช่วยลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศอีกด้วย” ภญ.ดร.ณัฐปภัสร กล่าว    […]

ขมิ้นชันลดสีเพื่อใช้ทางผิวหนัง (Destained Turmeric for Skin)

ขมิ้นชันลดสีเพื่อใช้ทางผิวหนัง (Destained Turmeric for Skin)        วิจัยและพัฒนาโดย       ดร.ชญานันท์ เอี่ยมสำอางค์ และคณะทีมวิจัย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ที่มา และความสำคัญที่นำมาสู่การพัฒนาเทคโนโลยีนี้ ขมิ้นชันประกอบด้วยสารสำคัญในกลุ่มเคอร์คูมินอยด์ที่มีอยู่ในเหง้าของขมิ้นชัน โดยขมิ้นชันมีสรรพคุณตามตำราอายุรเวทและแพทย์แผนไทยในการต่อต้านอนุมูลอิสระ เสริมสร้างภูมิต้านทานโรค ช่วยบำรุงผิวพรรณ ชะลอวัย ลดริ้วรอยตามผิวหนัง ช่วยให้ผิวพรรณนุ่มนวล ขาวผ่องใส เต่งตึง รักษาสิวเสี้ยน สิวผด สิวอุดตัน รักษาโรคผิวหนัง ช่วยแก้ผื่นคัน ช่วยสมานแผล รักษาแผลพุพอง รักษาแผลแมลงสัตว์กัดต่อย มีสารต้านแบคทีเรีย มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา ใช้รักษาโรคกลาก เกลื้อน โรคผิวหนัง อย่างไรก็ตามมีข้อจำกัดในการนำขมิ้นชันมาใช้งานในรูปแบบการใช้ที่ผิวหนังคือ มีสีเหลืองเข้ม มีกลิ่นฉุน เกิดการติดสีที่เสื้อผ้าและผิวหนัง ละลายน้ำได้ต่ำ สารสำคัญเสื่อมสลายได้ไวเมื่อสัมผัสแสง ซึมผ่านผิวหนังได้น้อย สรุปเทคโนโลยี การพัฒนาขมิ้นชันลดสีด้วยเทคนิคการห่อหุ้มอนุภาคนาโน ช่วยคงประสิทธิภาพของสารสำคัญในขมิ้นชัน เพิ่มความคงตัว และควบคุมการปลดปล่อยของสารสำคัญได้ดีขึ้น สามารถนำไปพัฒนาในรูปแบบผลิตภัณฑ์ทางผิวหนังได้หลากหลายรูปแบบ […]

ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าและผิวกายที่มีส่วนประกอบของอนุภาคนาโนสารสกัดสมอไทย

ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าและผิวกายที่มีส่วนประกอบของอนุภาคนาโนสารสกัดสมอไทย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.อรทัย ล้ออุทัย และคณะทีมวิจัย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ที่มา และความสำคัญที่นำมาสู่การพัฒนาเทคโนโลยีนี้ เครื่องสำอางที่ทำให้ผิวขาวโดยทั่วไป แม้มีสารสกัดที่ช่วยลดการสร้างเม็ดสีเมลานิน แต่ก็ไม่สามารถแสดงประสิทธิภาพได้เต็มที่ เนื่องจากไม่อาจซึมผ่านลงไปยังผิวหนังกำพร้าชั้นล่างสุด นักวิจัยจึงนำนาโนเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการซึมผ่านของสารลงสู่ผิวหนัง โดยทำให้สารอยู่ในรูปอนุภาคนาโนชนิดลิโปนิโอโซม (liponiosome) ช่วยให้สารเข้าถึงเป้าหมายและออกฤทธิ์ได้อย่างเต็มที่ โดยนำอนุภาคนาโนบรรจุสารสกัดสมอไทย มาใช้เป็นส่วนประกอบในสูตรตำรับเครื่องสำอาง ทำให้มีคุณสมบัติในการต้านเอนไซม์ไอโรซิเนส ต้านการเกิดออกซิเดชั่น และป้องกันรังสียูวีได้สูง จึงช่วยลดเลือนริ้วรอยและลดความคล้ำของผิวได้อย่างมีประสิทธิภาพ สรุปเทคโนโลยี ผลงานสูตรตำรับครีม เซรั่ม โลชั่น และครีมกันแดด ที่มีส่วนประกอบของอนุภาคนาโนสารสกัดสมอไทย เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการบำรุงผิวทั้งริ้วรอยและลดความคล้ำของสีผิว สามารถบำรุงได้ทั้งผิวหน้าและผิวกาย รวมถึงสูตรครีมกันแดดที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันแสงแดด (SPF) ได้ดียิ่งขึ้นเมื่อมีส่วนประกอบของอนุภาคนาโน สูตรตำรับยังได้ผ่านการทดสอบแล้วพบว่า ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองและปลอดภัยต่อผู้บริโภค และได้ผ่านการขยายขนาดกำลังการผลิตที่โรงงานต้นแบบผลิตอนุภาคและเครื่องสำอาง ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว คุณลักษณะ และจุดเด่นของเทคโนโลยีหรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเทคโนโลยี 1. ใช้สารสกัดจากธรรมชาติ จึงไม่ระคายเคืองและปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน 2. มีฤทธิ์ในการช่วยให้ผิวหน้าขาวกระจ่างใสได้ดีกว่าอาร์บูตินถึง 14 เท่า ช่วยลดเลือนริ้วรอย และต้านริ้วรอยใหม่ 3. มีความคงตัวทางกายภาคและทางเคมี สามารถเก็บผลิตภัณฑ์ไว้ในสภาวะต่างๆ ได้นาน 4. กระบวนการสกัดและผลิตสามารถทำได้ด้วยอุปกรณ์เครื่องมือทั่วไป รวมถึงมีโรงงานต้นแบบที่ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ   […]

1 2 3 5