Skip to content
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)

ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)

  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับนาโนเทค
    • เกี่ยวกับ NANOTEC
    • ผู้บริหาร
    • คณะกรรมการบริหารศูนย์ ฯ
    • รายงานประจำปี
    • NANOTEC Newsletters
    • เยี่ยมชม
    • ติดต่อกับนาโนเทค
      • ร้องเรียนเกี่ยวกับจริยธรรมวิจัย
      • ร้องเรียนเรื่องทั่วไป
      • ร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
  • งานวิจัยและพัฒนา
    • Nanoencapsulation Research Group (NCAP)
      • Nanolife and Cosmeceuticals Research Team (NLC)
      • Nanomedicine and Veterinary Research Team (NMV)
    • Nanocatalysis and Molecular Simulation Research Group (NCAS)
      • Catalyst Research Team (CAT)
      • Nanoscale Simulation Research Team (SIM)
      • Artificial Photosynthesis (AP)
      • Nanoinformatics and artificial intelligence research team (NAI)
    • Advanced Nano-characterization and Safety Research Group (ANCS)
      • Nano Safety and Bioactivity Research Team (NSB)
      • Monitoring and Process Engineering Research Team (MAP)
      • Nano-characterization Team (NCH)
    • Nanohybrids and Coating Research Group (NHIC)​
      • Environmental Nanotechnology Research Team (ENV)
      • Nanohybrids for Industrial Solutions Research Team (NIS)
      • Innovative Nanocoating Research Team (INC)
      • Nanofunctional Fiber Research Team (NFT)
    • Responsive Materials and Nanosensor Research Group (RMNS)
      • Nanodiagnostics Device Research Team (NDx)
      • Nanoneedle Research Team (NND)
      • Responsive Nanomaterials Research Team (RNM)
    • + Nano Agricultural Chemistry and Processing Research Team (ACP)​
  • นวัตกรรมนาโนเทค
    • เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
    • NANOTEC COVID-19 R&D
      • NanoCOVID-19 Antigen Rapid test
      • nSPHERE Pressurized Helmet
    • นวัตกรรมนาโนเทคใน Thailand Tech Show
  • งานบริการ
    • ด้านการวิจัยและพัฒนา
    • ด้านการวิเคราะห์ทดสอบ
      • บริการเครื่องมือวิเคราะห์ทดสอบ
      • บริการทดสอบผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ
      • บริการทดสอบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพ
      • บริการทดสอบความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและฤทธิ์ทางชีวภาพด้วยโมเดลปลาม้าลาย
    • โรงงานต้นแบบผลิตอนุภาคนาโนและเครื่องสำอาง
  • ข่าวและประกาศ
    • ข่าวและประกาศ
    • ร่วมงานกับนาโนเทค
    • จัดซื้อจัดจ้าง
  • บุคลากร
    • ฝ่ายวิจัยและพัฒนา
    • ฝ่ายสนับสนุน
  • ความร่วมมือกับพันธมิตร
    • หน่วยงานพันธมิตรในประเทศ
    • หน่วยงานพันธมิตรต่างประเทศ
    • โครงการศูนย์เครือข่ายการวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยี (Research Network of NANOTEC : RNN)
    • สถานร่วมวิจัย มทส.-นาโนเทค-สซ. เพื่อการใช้แสงซินโครตรอน
  • รู้จักนาโนเทคโนโลยี
    • เอกสารเผยแพร่
    • นาโนน่ารู้
    • ความปลอดภัยด้านนาโนเทคโนโลยี
      • บทบาทของงาน NSA
      • เอกสารเผยแพร่
        • สำหรับผู้ประกอบการ
        • สำหรับภาครัฐและประชาชน
      • สถานการณ์นาโนเทคโนโลยี
  • EN
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับนาโนเทค
    • เกี่ยวกับ NANOTEC
    • ผู้บริหาร
    • คณะกรรมการบริหารศูนย์ ฯ
    • รายงานประจำปี
    • NANOTEC Newsletters
    • เยี่ยมชม
    • ติดต่อกับนาโนเทค
      • ร้องเรียนเกี่ยวกับจริยธรรมวิจัย
      • ร้องเรียนเรื่องทั่วไป
      • ร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
  • งานวิจัยและพัฒนา
    • Nanoencapsulation Research Group (NCAP)
      • Nanolife and Cosmeceuticals Research Team (NLC)
      • Nanomedicine and Veterinary Research Team (NMV)
    • Nanocatalysis and Molecular Simulation Research Group (NCAS)
      • Catalyst Research Team (CAT)
      • Nanoscale Simulation Research Team (SIM)
      • Artificial Photosynthesis (AP)
      • Nanoinformatics and artificial intelligence research team (NAI)
    • Advanced Nano-characterization and Safety Research Group (ANCS)
      • Nano Safety and Bioactivity Research Team (NSB)
      • Monitoring and Process Engineering Research Team (MAP)
      • Nano-characterization Team (NCH)
    • Nanohybrids and Coating Research Group (NHIC)​
      • Environmental Nanotechnology Research Team (ENV)
      • Nanohybrids for Industrial Solutions Research Team (NIS)
      • Innovative Nanocoating Research Team (INC)
      • Nanofunctional Fiber Research Team (NFT)
    • Responsive Materials and Nanosensor Research Group (RMNS)
      • Nanodiagnostics Device Research Team (NDx)
      • Nanoneedle Research Team (NND)
      • Responsive Nanomaterials Research Team (RNM)
    • + Nano Agricultural Chemistry and Processing Research Team (ACP)​
  • นวัตกรรมนาโนเทค
    • เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
    • NANOTEC COVID-19 R&D
      • NanoCOVID-19 Antigen Rapid test
      • nSPHERE Pressurized Helmet
    • นวัตกรรมนาโนเทคใน Thailand Tech Show
  • งานบริการ
    • ด้านการวิจัยและพัฒนา
    • ด้านการวิเคราะห์ทดสอบ
      • บริการเครื่องมือวิเคราะห์ทดสอบ
      • บริการทดสอบผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ
      • บริการทดสอบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพ
      • บริการทดสอบความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและฤทธิ์ทางชีวภาพด้วยโมเดลปลาม้าลาย
    • โรงงานต้นแบบผลิตอนุภาคนาโนและเครื่องสำอาง
  • ข่าวและประกาศ
    • ข่าวและประกาศ
    • ร่วมงานกับนาโนเทค
    • จัดซื้อจัดจ้าง
  • บุคลากร
    • ฝ่ายวิจัยและพัฒนา
    • ฝ่ายสนับสนุน
  • ความร่วมมือกับพันธมิตร
    • หน่วยงานพันธมิตรในประเทศ
    • หน่วยงานพันธมิตรต่างประเทศ
    • โครงการศูนย์เครือข่ายการวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยี (Research Network of NANOTEC : RNN)
    • สถานร่วมวิจัย มทส.-นาโนเทค-สซ. เพื่อการใช้แสงซินโครตรอน
  • รู้จักนาโนเทคโนโลยี
    • เอกสารเผยแพร่
    • นาโนน่ารู้
    • ความปลอดภัยด้านนาโนเทคโนโลยี
      • บทบาทของงาน NSA
      • เอกสารเผยแพร่
        • สำหรับผู้ประกอบการ
        • สำหรับภาครัฐและประชาชน
      • สถานการณ์นาโนเทคโนโลยี
  • EN
Cover Story: NANOTEC Newsletter ฉบับที่ 48 ประจำเดือนมกราคม 2568

Cover Story: NANOTEC Newsletter ฉบับที่ 48 ประจำเดือนมกราคม 2568

03/02/2025 Salinee Tubpila NANOTEC NEWSLETTER

จากชีวมวลเหลือทิ้งทางการเกษตร รวมถึงขยะอาหาร ถ้าคำนวณจากขยะอาหารที่ถูกทิ้งทั่วโลก พบว่า มีการปลดปล่อยก๊าซเรือน กระจกมากถึง 8% นอกจากนี้ หากนำอาหารมาเปลี่ยนเป็นปุ๋ยด้วยกระบวนการย่อยสลายที่เกิดจากการหมัก ก่อให้เกิดก๊าซมีเทนซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจก ที่ส่งผลต่อภาวะโลกร้อน รวมถึงเป็นแหล่งเชื้อโรค และกลิ่นเหม็นรบกวน NANOTEC Newsletter ฉบับนี้ จะพาไปคุยกับ “ดร. เล็ก-สัญชัย คูบูรณ์” นักวิจัยจากนาโนเทค สวทช. และทีมวิจัย ที่พัฒนาเครื่องย่อยระบบถังคู่ (BioComposter) พร้อมใบพัดที่ออกแบบให้เร่งกระบวนการย่อยสลาย ตัวช่วยเปลี่ยน “ขยะอินทรีย์” ไม่ว่าจะเป็นของเหลือทางการเกษตร หรือขยะเศษอาหาร สู่ “ปุ๋ยหมักชีวภาพ” พร้อมจับมือไบโอเทค พัฒนาหัวเชื้อจุลินทรีย์เฉพาะสำหรับขยะอินทรีย์ในไทย หนุนลดการปลดปล่อยก๊าซมีเทนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากขยะอินทรีย์ที่มาจากขยะอาหารและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ต้นตอภาวะโลกร้อน-ฝุ่น PM2.5

ดร. สัญชัย คูบูรณ์ นักวิจัยจากทีมวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยา กลุ่มวิจัยการเร่งปฏิกิริยาระดับนาโน การดูดซับ และการคำนวณ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า เครื่อง BioComposter ระบบถังคู่ขนาด 5 – 10 กิโลกรัม ใช้สำหรับการทำปุ๋ยหมักชีวภาพระดับครัวเรือน เป็นโครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อลดปริมาณขยะอินทรีย์ที่มาจากขยะอาหาร และลดการเผาวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร นำไปสู่การลดก๊าซเรือนกระจกต้นตอของภาวะโลกร้อน โดยเฉพาะก๊าซมีเทน (CH4) และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)  และยังช่วยลดฝุ่น PM2.5 อีกด้วย

โครงการดังกล่าว เป็น 1 ใน 19 โครงการนำร่องของ สวทช. ในการตอบโจทย์สระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ และสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจของสระบุรี ที่ สวทช. ร่วมเป็นหนึ่งในคณะทำงานขับเคลื่อนด้านการเปลี่ยนสู่พลังงานสะอาด ร่วมกับพันธมิตรเครือข่ายพลังงานขับเคลื่อนให้เกิด ‘สระบุรีแซนด์บ๊อกซ์’ จังหวัดต้นแบบที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ในระยะเวลา 4 ปี

“การลดก๊าซเรือนกระจกสามารถทำได้หลายรูปแบบ อาทิ การใช้ถ่านชีวภาพเพื่อลดการใช้ถ่านหิน ส่งผลให้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และสำหรับปุ๋ยหมักชีวภาพ จะเป็นการใช้ วทน. เปลี่ยนขยะอินทรีย์ให้กลายเป็นปุ๋ยใส่กลับเข้าไปกักเก็บในดิน ที่ตอบโจทย์ของสระบุรี ซึ่งมีขยะอินทรีย์ที่ต้องบริหารจัดการ 2 แบบ คือ ชีวมวลเหลือทิ้งทางการเกษตรที่มีมากในพื้นที่นั้น และขยะอาหาร” ดร. สัญชัยกล่าว

เครื่อง BioComposter ระบบถังคู่ ใช้สำหรับการทำปุ๋ยหมักชีวภาพระดับครัวเรือน ตอบโจทย์สำหรับขยะอินทรีย์ ทั้งเศษอาหารจากครัวเรือน รวมถึงชีวมวลเหลือทิ้งทางการเกษตร โดยทีมวิจัยนาโนเทค สวทช. ออกแบบตัวเครื่องระบบถังคู่ที่ถังหลัก (Primary Tank) ทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิและความชื้นให้เหมาะกับการทำงาน ของจุลินทรีย์ ในขณะที่ถังรอง (Secondary Tank) มีหน้าที่ลดความชื้นของปุ๋ยหมักชีวภาพให้เหมาะสำหรับการ นำไปใช้งาน นอกจากนี้ ยังร่วมมือกับทีมวิจัยจากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ในการพัฒนาหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่มีความจำเพาะในการย่อยสลายขยะอินทรีย์ในประเทศไทย โดยช่วยให้ปุ๋ยหมักชีวภาพที่เป็นผลผลิตจากกระบวนการดังกล่าวนี้ มีธาตุอาหารที่สำคัญเพิ่มขึ้น และสามารถยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรคได้อีกด้วย

การทำงานของเครื่อง BioComposter เริ่มจากใส่ขยะอินทรีย์ลงในถัง Primary Tank โดยใช้อุณหภูมิไม่เกิน 50 องศาเซลเซียสในการกระตุ้นจุลินทรีย์ จากนั้นปุ๋ยหมักชีวภาพจะถูกย้าย ลงไปในถัง Secondary Tank เพื่อทำให้ปุ๋ยหมักชีวภาพแห้งและพร้อมใช้งาน กระบวนการนี้จะใช้เวลา 3-7 วัน

“ปัจจุบัน ต้นแบบเครื่อง BioComposter แล้วเสร็จแล้ว และอยู่ระหว่างการติดตั้งเพื่อทดลองใช้งานในพื้นที่โรงเรียนวัดส้มป่อย อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี โดยขยะเศษอาหารในโรงเรียนอยู่ที่วันละ 3-5 กิโลกรัม ซึ่งเป็นน้ำหนักเปียก นอกจากนี้ ในพื้นที่ละแวกโรงเรียน จะมีชีวมวลจากการทำนาข้าว การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และการปลูกอ้อยปริมาณมาก ซึ่งในเบื้องต้น ทีมวิจัยตั้งเป้าลดการปลดปล่อยก๊าซมีเทน 30-50% ของการปลดปล่อยในพื้นที่ ซึ่งอ้างอิงจากผลการใช้ Biocomposter ที่มีการรายงานในบทความวิชาการก่อนหน้า ว่าสามารถลดการปลดปล่อยก๊าซมีเทนออกสู่บรรยากาศได้จริง” ดร. สัญชัยเผย

ทีมวิจัยคาดหวังให้คุณครูและนักเรียนเข้าใจและสามารถใช้เครื่องฯ ในการเปลี่ยนขยะเศษอาหารและของเหลือทางการเกษตรในพื้นที่เป็นปุ๋ยหมักชีวภาพเพื่อใช้งานในพื้นที่การเกษตรของโรงเรียน รวมถึงเป็นกลุ่มคนที่จะเป็นกระบอกเสียง ส่งต่อความรู้และการใช้เทคโนโลยีใหม่เพื่อลดขยะอินทรีย์ในชุมชนที่กว้างขึ้นต่อไป รวมถึงหากประสบความสำเร็จจะต่อยอดพื้นที่ใช้ประโยชน์สู่โรงเรียนและสถานที่อื่นๆ ต่อไป เป็นการนำ วทน. ตอบโจทย์สระบุรีแซนด์บ็อกซ์ ที่ร่วมกับทุกภาคส่วนขับเคลื่อนให้เกิดเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของประเทศไทย ปี 2567 ภายใต้แนวคิด “ร่วม เร่ง เปลี่ยน” สู่สังคมคาร์บอนต่ำ

การนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ ไม่เพียงช่วยลดมลพิษทางอากาศ โดยเป็นทางเลือกที่มีศักยภาพในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะก๊าซมีเทนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทั้งนี้ยังช่วยลดต้นตอของฝุ่น PM2.5 ที่มาจากการเผาชีวมวลและการจัดการขยะอินทรีย์แบบเดิม แต่ยังสร้างความตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชนในด้านการจัดการขยะอินทรีย์และชีวมวลเหลือทิ้งทางการเกษตร ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เป้าหมายเมืองคาร์บอนต่ำอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งนาโนเทคและไบโอเทค สวทช. ยังคงเดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงาน เพื่อสร้างความยั่งยืนและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับคนไทยต่อไป

  • FacebookFacebook
  • XTwitter
  • LINELine

ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ : 0 2564 7100
แฟกซ์ : 0 2564 6985

เกี่ยวกับนาโนเทค

  • เกี่ยวกับ NANOTEC
  • ผู้บริหาร
  • กรรมการบริหารศูนย์ ฯ

บริการ

  • ด้านการวิจัยและพัฒนา
  • ด้านการวิเคราะห์ทดสอบ
  • โรงงานต้นแบบผลิตอนุภาคนาโนและเครื่องสำอาง
  • เครื่องมือวิเคราะห์ทดสอบ
  • ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์และวัสดุนาโน
  • ประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย

วิจัยและพัฒนา

  • NCBS
  • NCAS
  • ANCS
  • HMNP
  • RMNS

ติดต่อเรา

  • ติดต่อกับนาโนเทค
  • ร่วมงานกับนาโนเทค
  • จัดซื้อจัดจ้าง
  • แผนผังเว็บไซต์
เว็บไซต์นี้ใช้งานคุกกี้ ในการใช้งานสามารถใช้งานเว็บไซต์อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ เว็บไซต์นี้จะมีเก็บค่าคุกกี้ เพื่อให้การใช้งานเว็บไซต์ของท่านเป็นไปอย่างความราบรื่นและเป็นส่วนตัวมากขึ้น จึงขอให้ท่านรับรองว่าท่านได้อ่านและทำความเข้าใจนโยบายการใช้งานคุกกี้ยอมรับนโยบายความเป็นส่วนตัว