การเพิ่มประสิทธิภาพของ เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดสีย้อมไวแสง (dye-sensitized solar cell, DSSC)

นักวิจัยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ดประสบความสำเร็จในการศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพของ DSSCs โดยใช้การสังเคราะห์อนุภาคนาโนไททาเนียมรวมกับท่อนาโนคาร์บอน (CNT) โดยใช้กระบวนการละลายน้ำภายใต้ที่อุณหภูมิ และความดันสูง (hydrothermal)
“เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดสีย้อมไวแสง(DSSCs) เป็นงานวิจัยที่ได้รับความสนใจมากในปีที่ผ่านมา เพื่อใช้เป็นทางเลือกในการผลิตไฟฟ้าแบบพลังงานหมุนเวียน โดยไม่ใช้แหล่งพลังงานฟอสซิล ซึ่งกระบวนการสังเคราะห์ Hydrothermal ที่ใช้นั้นสามารถสร้างวัสดุนาโนไฮบริดของอนุภาคไททาเนียมและท่อนาโนคาร์บอนทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก” ดร. กมลวรรณ ธรรมเจริญหัวหน้าห้องปฏิบัติการเซนเซอร์นาโนโมเลกุลศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ
DSSCs ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากเนื่องมาจากสามารถเป็นอุปกรณ์ที่ใช้การทดแทนแหล่งพลังงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เนื่องมาจากวัสดุที่ใช้ในการผลิตมีต้นทุนต่ำโดยเทียบกับรุ่นเก่าและไม่ต้องใช้อุปกรณ์ที่ซับซ้อนในการผลิตเซลล์ชนิดนี้ นอกจากนี้ยังสามารถออกแบบมีลักษณะเป็นแผ่นมีความยืดหยุ่นและมีเพิ่มประสิทธิภาพทางกลเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากเหตุการณ์ต่างๆ เช่นพายุลูกเห็บหรือต้นไม้ล้ม ด้วยเหตุนี้ความสามารถในการเพิ่มประสิทธิภาพของ DSSCs จึงเป็นที่สนใจมาก

งานวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวัสดุศาสตร์นานาชาติ  โดยได้รับความร่วมมือจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรพลังงานที่ มหาวิทยาลัย Stanford  ประเทศสหรัฐอเมริกาและ ห้องปฏิบัติการเซนเซอร์นาโนโมเลกุลศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ