ด้านการวิจัยและพัฒนา

งานพัฒนาธุรกิจ (Business Development)

ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการ ให้คำปรึกษา ช่วยแก้ปัญหา และสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์นาโนเทคโนโลยีในเชิงพาณิชย์ ด้วยความพร้อมทั้งด้านบุคลากรสายวิจัยและพัฒนาที่เชี่ยวชาญ เครื่องมือและอุปกรณ์เฉพาะทาง ประกอบกับการเป็นศูนย์กลางในการประสานงานกับเครือข่ายมหาวิทยาลัย ภาครัฐและเอกชน เพื่อมุ่งเน้นการถ่ายทอดเทคโนโลยีและผลงานวิจัยที่มีอย่างต่อเนื่องสู่การประยุกต์ใช้ในระดับอุตสาหกรรมและสังคมของประเทศไทย

ผู้ประกอบการที่ต้องการก้าวสู่ธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรมมีโอกาสประสบความสำเร็จทางธุรกิจได้ โดยศูนย์นาโนเทคฯ พร้อมเปิดโอกาสใหม่ๆ ให้กับผู้ประกอบการ เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ให้ล้ำสมัยและคงอยู่ได้อย่างยั่งยืน ผ่านการร่วมวิจัย/รับจ้างวิจัยและการอนุญาตให้ใช้สิทธิ รวมถึงการให้ข้อมูลและคำแนะนำในการพัฒนาธุรกิจและเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้กับภาคอุตสาหกรรม

Change this Subheading

Image Box Title

Change this description

ท่านได้อะไรจากงานพัฒนาธุรกิจ ศูนย์นาโนเทค?

  1. บุคลากรผู้เชี่ยวชาญ ( Experts ) สามารถดูรายละเอียดได้ที่ งานวิจัยและพัฒนา (R&D)
  2. การวิจัยด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์ทดสอบที่มีความละเอียดสูงด้านนาโนเทคโนโลยี ( Nanotechnology Equipment )
  3. เครือข่ายความร่วมมือกับภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ (Connection & Networking)
  4. สิทธิประโยชน์ ( Incentive ) สำหรับเอกชนเช่น การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในดำเนินงานวิจัยแก่บริษัท 50% ของงบประมาณโครงการ ( ภายในวงเงินไม่เกิน 400,000 บาท ) จาก Innovation and Technology Assistant Program (iTap) สามารถดูรายละเอียดได้ที่ https://itap.nstda.or.th/th/ นอกจากนี้ยังมีการรับรองโครงการวิจัยเพื่อขอรับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นจำนวนร้อยละ 100 ของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นค่าจ้างเพื่อทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี หรืออีกความหมายหนึ่งคือ สามารถหักค่าใช้จ่ายสำหรับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีได้เป็นสองเท่าของค่าใช้จ่ายจริง และเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เป็นต้น (กรุณาตรวจสอบเกณฑ์การสนับสนุนของแต่ละโครงการ)
  1. บุคลากรผู้เชี่ยวชาญ ( Experts ) สามารถดูรายละเอียดได้ที่ งานวิจัยและพัฒนา (R&D)
  2. การวิจัยด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์ทดสอบที่มีความละเอียดสูงด้านนาโนเทคโนโลยี ( Nanotechnology Equipment )
  3. เครือข่ายความร่วมมือกับภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ (Connection & Networking)
  4. สิทธิประโยชน์ ( Incentive ) สำหรับเอกชนเช่น การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในดำเนินงานวิจัยแก่บริษัท 50% ของงบประมาณโครงการ ( ภายในวงเงินไม่เกิน 400,000 บาท ) จาก Innovation and Technology Assistant Program (iTap) สามารถดูรายละเอียดได้ที่ https://itap.nstda.or.th/th/ นอกจากนี้ยังมีการรับรองโครงการวิจัยเพื่อขอรับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นจำนวนร้อยละ 100 ของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นค่าจ้างเพื่อทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี หรืออีกความหมายหนึ่งคือ สามารถหัก

– ทีมวิจัยพร้อมดำเนินงานวิจัยและพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพตามต้องการของเอกชน เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ของภาคเอกชน ด้วยรูปแบบความร่วมมือการรับจ้างวิจัย ซึ่งบริษัทจะเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณในโครงการ โดยมีทีมวิจัยของศูนย์นาโนเทคฯ เป็นผู้คิดค้นและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เชี่ยวชาญให้เกิดผลงานตามขอบเขตที่บริษัทกำหนด
– ข้อกำหนดความเป็นเจ้าของสิทธิขึ้นอยู่กับการตกลงร่วมกันระหว่างศูนย์นาโนเทคฯ และผู้ว่าจ้าง ซึ่งในกรณีทั่วไปเฉพาะผลงานที่เกิดขึ้นภายใต้โครงการเป็นสิทธิของผู้ว่าจ้าง ไม่รวมถึงทรัพย์สินทางปัญญาเดิมก่อนดำเนินโครงการ
– บริษัทได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ต้องการอย่างเหมาะสม
– ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช. มีการเชื่อมโยงภาคอุตสาหกรรมสู่การพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยมีความร่วมมือจาก Innovation and Technology Assistant Program (iTap) ในการสนับสนุนค่าใช้จ่ายสูงสุด 50% ของงบประมาณโครงการ แต่ไม่เกิน 400,000 บาท (บริษัทละไม่เกิน 2 โครงการ/ปี)