ทุนวิจัย

ศูนย์ นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติเป็นหน่วยงานภายใต้ สวทช. และได้ดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ พ.ศ. 2550-2556 และแผนแม่บทศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ พ.ศ. 2550-2554 ภาระกิจหลักที่สำคัญประการหนึ่งคือ ในการสร้างองค์ความรู้ และพัฒนาเทคโนโลยีฐาน (Platform Technology) ที่หลากหลายเพื่อการประยุกต์ผลงานวิจัยสู่คลัสเตอร์เป้าหมายของสวทช. เพื่อให้การดำเนินงาน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติเป็นไปตามพันธะกิจ จึงได้ให้ทุนวิจัยกับทั้งนักวิจัยจากภายในและภายนอก สวทช. ตั้งแต่ปี 2547 เพื่อร่วมกันสร้างนาโนเทคโนโลยีฐาน (Nanotechnology Platform) ของประเทศ ใน 3 เทคโนโลยีฐานได้แก่ เทคโนโลยีการเคลือบระดับนาโน (Nano Coating Technology), เทคโนโลยีการห่อหุ้มระดับนาโน (Nano Encapsulation Technology) และ การสังเคราะห์โครงสร้างนาโนเชิงฟังก์ชัน(FunctionalNanostructure)

ประกาศรับข้อเสนอโครงการวิจัยและพัฒนา ประจำปีงบประมาณ 2554 รอบที่ 1
(สำหรับผู้ส่งข้อเสนอโครงการในรอบอื่นๆ ข้อเสนอโครงการอยู่ระหว่างการพิจารณาและได้แจ้งผลการพิจารณาไปบางส่วนแล้ว)

ในปีงบประมาณณ 2554 ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้เปิดรับข้อเสนอโครงการเพื่อการพัฒนาองค์ความรู้และเพิ่มขีดความสามารถ ด้านเทคโนโลยีฐานแบบจำเพาะ เจาะจง โดยยึดหัวข้อวิจัยตามแนวทางของ Nanotechnology Roadmap โดยมีทุน 2 ประเภท 1.ทุนนักวิจัยรุ่นใหม่ทางด้านนาโนเทคโนโลยี 2.ทุนวิจัยเพื่อสร้าง Nanotechnology Platform ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ทุนนักวิจัยรุ่นใหม่ทางด้านนาโนเทคโนโลยี

1.วัตถุประสงค์
เพื่อสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ที่สนใจงานทางด้าน นาโนเทคโนโลยี เน้นการพัฒนาองค์ ความรู้ใหม่ ที่สามารถต่อยอดใช้ในอุตสาหกรรมได้
2.คุณสมบัติของผู้รับทุน
2.1 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่ามาแล้วไม่เกิน 5 ปีนับถึงวันสมัคร
2.2 เป็นผู้มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติมาแล้วอย่างน้อย 1 เรื่อง ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

3. ลักษณะของทุน
เป็นทุนวิจัยเพื่อสร้างหรือพัฒนาองค์ความรู้ และ/หรือเทคโนโลยี ตามเทคโนโลยีฐานนาโน (Nanotechnology Platform) ซึ่งนำไปสู่ การตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติและ/หรือนำไปสู่การประยุกต์ใช้ในภาคอุตสาหกรรมได้

4. ขอบเขตของการสนับสนุน
4.1 สนับสนุนโครงการวิจัยพัฒนาที่ดำเนินการโดยอาจารย์ นักวิจัย หน่วยงานของรัฐ สถาบันการศึกษาของรัฐและเอกชน รวมทั้งองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไร
4.2 หน่วยงานที่นักวิจัยสังกัดอยู่ ควรเป็นหน่วยงานที่มีโครงสร้างพื้นฐานเพียงพอที่จะรองรับให้มีการวิจัยและ พัฒนาอย่างมีผลจริงจัง เช่น มีโครงสร้างและเครื่องมือพื้นฐานในการทำวิจัยพัฒนา

4.3 หัวข้อในการวิจัยเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีใน 3 เทคโนโลยีฐาน
• เทคโนโลยีการเคลือบระดับนาโน (Nano-Coating) เน้นการวิจัยที่นำสมบัติพิเศษที่เกิดขึ้นจากการใช้อนุภาคเล็กขนาดนาโนเมตร และ/หรือการใช้เทคนิคการเคลือบมาพัฒนาให้พื้นผิวของผลิตภัณฑ์ที่ถูกเคลือบมีสมบัติดียิ่งขึ้นและมีสมบัติเฉพาะทางที่หลากหลาย (Multifunctional)
• เทคโนโลยีการห่อหุ้มระดับนาโน (Nano Encapsulation) เน้นการวิจัยและพัฒนาสารห่อหุ้มและระบบกักเก็บสารสำคัญเพื่อวัตถุประสงค์ในการเพิ่มความคงตัวของสารที่ถูกกักเก็บและสามารถควบคุมการปลดปล่อยตามเวลาหรือตำแหน่งเป้าหมายที่ต้องการได้
• เทคโนโลยีการสังเคราะห์โครงสร้างนาโนเชิงฟังก์ชัน (Functional Nanostructure)
เทคโนโลยีในการออกแบบ สังเคราะห์ ดัดแปลง หรือประดิษฐ์โครงสร้างในระดับนาโนเมตร เพื่อทำให้วัสดุมีสมบัติพิเศษทางกายภาพหรือเคมีตามฟังก์ชันการใช้งาน

และหัวข้อวิจัยต้องสอดคล้องกับ R&D Agenda ของ แผนที่นำทางนาโนเทคโนโลยี (Nanotechnology Roadmap) ได้แก่

• Drug delivery system

• Food processing & storage

• Agricultural productivity enhancement

• Disease screening, diagnosis & Health Monitoring

• Water treatment & remediation

• Energy production, conversion & storage

• Vector & pest detection / control

• Textile

5.งบประมาณ

500,000 บาท โครงการ

ค่าตอบแทนผู้วิจัย 12,000 บาท/เดือน

6.ระยะเวลา 1 ปี
7.ผลลัพธ์ของโครงการ
1 บทความในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ในฐานข้อมูล ISI

ทุนวิจัยเพื่อสร้าง Nanotechnology Platform

1.วัตถุประสงค์
เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางนาโนเทคโนโลยี เน้นการพัฒนาเทคโนโลยีสู่การประยุกต์ใช้
2.คุณสมบัติของผู้รับทุน
ผู้วิจัยควรเป็นนักวิจัยรุ่นกลาง มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ซึ่งอยู่ในฐานข้อมูล ISI จำนวน 3 เรื่อง ภายใน 5 ปี โดยเป็นชื่อแรก First Author หรือเป็น Corresponding Author มี Impact Factor ในแต่ละเรื่องสูงกว่าค่าเฉลี่ยในแต่ละสาขา โดยต้องไม่เป็นบทความจากวิทยานิพนธ์ และมีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อในข้อเสนอโครงการ
3. ลักษณะของทุน
เป็นทุนวิจัยเพื่อสร้างหรือพัฒนาองค์ความรู้ และ/หรือเทคโนโลยี ตามเทคโนโลยีฐานนาโน (Nanotechnology Platform) ซึ่งนำไปสู่ การตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ และ/หรือการจดสิทธิบัตร และ/หรือการสร้างหรือการพัฒนาต้นแบบเทคโนโลยี
4. ขอบเขตของการสนับสนุน
4.1 สนับสนุนโครงการวิจัยพัฒนาที่ดำเนินการโดยอาจารย์ นักวิจัย หน่วยงานของรัฐ สถาบันการศึกษาของรัฐและเอกชน รวมทั้งองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไร
4.2 หน่วยงานที่นักวิจัยสังกัดอยู่ ควรเป็นหน่วยงานที่มีโครงสร้างพื้นฐานเพียงพอที่จะรองรับให้มีการวิจัยและ พัฒนาอย่างมีผลจริงจัง เช่น มีโครงสร้างและเครื่องมือพื้นฐานในการทำวิจัยพัฒนา โดยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติไม่มีนโยบายในการสนับสนุนครุภัณฑ์ขนาดใหญ่ และครุภัณฑ์พื้นฐาน เว้นเพียงครุภัณฑ์ขนาดเล็กที่มีความจำเป็นต่อการวิจัย เท่านั้น
4.3 จำนวนเงินที่ได้รับสำหรับสนับสนุนการวิจัย ในหมวดของค่าตอบแทนนักวิจัยและค่าจ้างผู้ช่วยวิจัย ไม่ควรเกิน 35% ของงบประมาณรวมทั้งหมด
4.4 หัวข้อในการวิจัยเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีใน 3 เทคโนโลยีฐาน

• เทคโนโลยีการเคลือบระดับนาโน (Nano-Coating) เน้นการวิจัยที่นำสมบัติพิเศษที่เกิดขึ้นจากการใช้อนุภาคเล็กขนาดนาโนเมตร และ/หรือการใช้เทคนิคการเคลือบมาพัฒนาให้พื้นผิวของผลิตภัณฑ์ที่ถูกเคลือบมีสมบัติดียิ่งขึ้นและมีสมบัติเฉพาะทางที่หลากหลาย (Multifunctional)
• เทคโนโลยีการห่อหุ้มระดับนาโน (Nano Encapsulation)
เน้นการวิจัยและพัฒนาสารห่อหุ้มและระบบกักเก็บสารสำคัญเพื่อวัตถุประสงค์ในการเพิ่มความคงตัวของสารที่ถูกกักเก็บและสามารถควบคุมการปลดปล่อยตามเวลาหรือตำแหน่งเป้าหมายที่ต้องการได้
• เทคโนโลยีการสังเคราะห์โครงสร้างนาโนเชิงฟังก์ชัน (Functional Nanostructure) เทคโนโลยีในการออกแบบ สังเคราะห์ ดัดแปลง หรือประดิษฐ์โครงสร้างในระดับนาโนเมตร เพื่อทำให้วัสดุมีสมบัติพิเศษทางกายภาพหรือเคมีตามฟังก์ชันการใช้งาน

และหัวข้อวิจัยต้องสอดคล้องกับ R&D Agenda ของ แผนที่นำทางนาโนเทคโนโลยี (Nanotechnology Roadmap) ได้แก่
• Drug delivery system

• Food processing & storage

• Agricultural productivity enhancement

• Disease screening, diagnosis & Health Monitoring

• Water treatment & remediation

• Energy production, conversion & storage

• Vector & pest detection / control

• Textile

5.งบประมาณ ตามเสนอ (ค่าตอบแทนผู้วิจัย ตามระดับของผู้วิจัย)

6.ระยะเวลา ไม่ควรเกิน 3 ปี

7.ผลลัพธ์ของโครงการ ขึ้นอยู่กับงบประมาณที่เสนอ โดย 1 บทความในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ในฐานข้อมูล ISI หรือ 1 สิทธิบัตร ต่องบประมาณ 5 แสนบาท

โดย ผู้ประสงค์ขอรับทุนวิจัยจากศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ จะต้องแสดงให้เห็นว่าโครงการที่เสนอขอรับทุนนี้มีความเกี่ยวข้องกับ เทคโนโลยีฐาน (Nanotechnology Platform) ในขอบข่ายและเป้าหมายที่กำหนดอย่างชัดเจน และตรงกับ R&D Agenda ของ Nanotechnology Roadmap และต้องมีหลักฐาน literature หรือ Patent Survey ที่สามารถบรรยายได้ว่าสิ่งที่จะวิจัยมีวิธีการแตกต่างกับที่ผู้อื่นทำการ วิจัยไปแล้ว

ผู้ที่ประสงค์ขอรับทุนวิจัย จะต้องส่งข้อเสนอโครงการฉบับเต็มในรูปแบบเอกสาร (Full-proposal) จำนวน 5 ชุด พร้อมรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่บันทึกลงใน CD จำนวน 1 ชุด มายัง

งานสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีฐาน ฝ่ายสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา

ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ

111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน

ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
กำหนดการที่สำคัญ
กำหนดเปิดรับข้อเสนอโครงการฉบับเต็มรอบที่ 1 /2554  ขยายเวลาถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554

ขั้นตอนการดำเนินการ

กิจกรรม ช่วงระยะเวลา
1. ผู้สนใจส่งข้อเสนอโครงการมายัง ศูนย์นาโนฯ ขยายเวลาถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554
2. แจ้งรับโครงการเพื่อพิจารณา ม.ค. – มี.ค
3. แจ้งผลพิจารณาข้อเสนอโครงการ ปลาย พ.ค.(เลื่อนเป็นประมาณปลายเดือน ก.ค.)
4. กรณีโครงการได้รับการอนุมัติ จัดทำสัญญา และเริ่มดำเนินงานโครงการ มิ.ย(เลื่อนเป็นประมาณเดือน ส.ค. – ก.ย.)

หมายเหตุ: กำหนดช่วงระยะเวลาการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้
การติดต่อ

งานสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ

111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน

ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

(ข้อเสนอโครงการวิจัยฯ ด้านนาโนเทคโนโลยี)

ผู้ประสานงาน : นายพงศ์สิทธิ์ รัตนกรวิทย์, นางสาวปวีณา รัตนมาศ, นางสาวรัตนา วิเชียรรักษ์

E-mail : ERD

ดาวน์โหลดเอกสาร

แบบฟอร์มข้อเสนอโครงการ “ทุนนักวิจัยรุ่นใหม่ทางด้านนาโนเทคโนโลยี”

แบบฟอร์มข้อเสนอโครงการ ทุนวิจัยเพื่อสร้าง Nanotechnology Platform

• แบบรายงานความก้าวหน้าโครงการ

• แบบรายงานฉบับสมบูรณ์

• บทสรุปผู้บริหาร(แนบรายงานฉบับสมบูรณ์)