รายงานประจำปี 2562

รายงานประจำปี 2562

"ปีแห่งการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจใหม่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มุ่งเน้นภารกิจตอบโจทย์ประเทศไทย 4.0"

ภาพรวมองค์กร

ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) เป็นองค์กรในกำกับของรัฐ ดำเนินงานภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรรม (อว.) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2546 มีภารกิจหลักในการสร้าง สนับสนุนและส่งเสริม ศักยภาพ ด้านนาโนเทคโนโลยีตลอดจนเผยแพร่ความรู้สู่สังคม ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคอุตสาหกรรม และสร้างความตระหนัก ความรู้ ความเข้าใจให้กับประชาชนในประเทศให้มีความพร้อมในการรับข่าวสารข้อมูลนาโนเทคโนโลยีทั้งในปัจจุบันและอนาคต ทั้งนี้เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์และ เป้าหมายของการพัฒนาประเทศตามแผนแม่บทนาโนเทคโนโลยีและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับปัจจุบัน

วิสัยทัศน์

เป็นองค์กรวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยีชั้นนำ ที่สร้างคุณประโยชน์ให้กับประเทศและมนุษยชาติ

พันธกิจ

ดำเนินงานวิจัย พัฒนา ออกแบบ และวิศวกรรม ด้านนาโนเทคโนโลยี สู่ความเป็นเลิศ สามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคการผลิต เพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์และสังคม อันจะนำไปสู่การยกระดับผลิตภัณฑ์และเกิดนวัตกรรมใหม่ ส่งผลต่อการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศไทยและยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ด้วยความใส่ใจต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
ในปี พ.ศ. 2562 เป็นปีที่มีการปฏิรูปกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้วยการจัดตั้งกระทรวงใหม่เป็น “กระทรวงกรอุดมศึกษ วิทยสตร์ วิจัยและนวัตกรรม” โดยมีการจัดภารกิจด้านการวิจัยและพัฒนาและการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัย เพื่อสร้างความเชื่อมโยงและเพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยงานวิจัยและหน่วยส่งเสริมนวัตกรรม รวมถึงมีการปรับระบบและกลไกการทำงานของหน่วยงานให้สามารถดำเนินกิจการอย่างคล่องตัว มีประสิทธิภาพ และโปร่งใส เพื่อการพัฒนาประเทศไทยไปสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้วตามแนวนโยบายประเทศไทย 4.0 การวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำไปสู่การนำผลงานวิจัยและพัฒนาไปใช้ประโยชน์ และการสร้าง ความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาประเทศ
สารจากประธานกรรมการบริหาร คณะกรรมการบริหารศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน มีบทบาทสำคัญในการสะท้อนความเห็นต่อนโยบาย แผนงาน โครงการและทิศทาง การดำเนินงานของนาโนเทค เพื่อนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) สร้างผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนให้คำปรึกษาและเสนอแนะเพื่อตอบโจทย์สำคัญของประเทศในรูปองค์ความรู้ เครือข่าย ตลอดทั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปสู่ภาคเอกชนและการนำผลงานวิจัยไปใช้ในเชิงสาธารณประโยชน์อย่างต่อเนื่อง

 

 

การดำเนินงานในปี 2562 นาโนเทคมุ่งเน้นงานวิจัยและพัฒนา การถ่ายทอดผลงานวิจัยเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรมและสาธารณประโยชน์ในระดับชุมชน การสร้างเครือข่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนาทั้งในและต่างประเทศ การสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ การสร้างและพัฒนากำลังคนด้านนาโนเทคโนโลยี ตลอดจนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสร้างความตระหนักทางด้านความปลอดภัยทางด้านนาโนเทคโนโลยี
ในนามของประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ขอขอบคุณผู้บริหาร นักวิจัย และบุคลากรทุกท่าน รวมทั้ง หน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กรไม่แสวงผลกำไร และมหาวิทยาลัย ที่ร่วมผลักดันการดำเนินงานและสร้างความเข้มแข็งในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยีของประเทศไทยให้มีความก้าวหน้าเป็นองค์กรวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยีชั้นนำที่สร้างคุณประโยชน์ให้กับประเทศและมนุษยชาติ

ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์

ประธานกรรมการบริหาร

ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ

เพื่อให้สอดรับกับการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และเป้าหมายการพัฒนาประเทศด้วยเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมยุทธศาสตร์ชาติ และการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศภายใต้แนวทาง “ประเทศไทย 4.0” สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จึงกำหนดขอบเขตภาระงานให้สอดคล้องกับภารกิจที่ต้องปรับตามสภาพแวดล้อมและภารกิจใหม่ ประกอบด้วย 7 กลุ่มภารกิจ ได้แก่ 1) กลุ่มวิจัย วทน. 2) กลุ่มบริหาร Research Development Innovation (RDI) 3) กลุ่มสร้างเสริมความสามารถในการแข่งขัน 4) กลุ่มสร้างเสริมความสามารถเกษตรชุมชน 5) กลุ่มบริหารและส่งเสริมเขตนวัตกรรม 6) กลุ่มพัฒนาและสร้างเสริมบุคลากรวิจัย และ 7) กลุ่มบริหาร สนับสนุน และ Shared Service
นาโนเทคในฐานะที่เป็นหน่วยงานภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จึงได้ทบทวนและวางแผนการทำงานเพื่อจัดทำแผนกลยุทธ์การวิจัยพัฒนาให้สอดคล้องกับบทบาทและภารกิจของ สวทช. โดยมีการปรับปรุงโครงสร้างองค์กรตามสายงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2562
การดำเนินงานของนาโนเทคตามแผนแม่บทศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2564 ในปีงบประมาณ 2562 ได้ดำเนินงานวิจัยและพัฒนามุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยีผ่านกลไกการสร้างเครือข่ายการวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยี ระยะที่ 3 โดยสนับสนุนให้เกิดการสร้างงานวิจัยร่วมกันระหว่างนาโนเทคกับมหาวิทยาลัย รวมทั้งผู้ใช้ประโยชน์จากภาครัฐและเอกชน เพื่อขยายฐานเทคโนโลยีและต่อยอดผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณประโยชน์ รวมทั้งได้ดำเนินงานวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยีที่มุ่งเน้นการสร้างผลกระทบเชิงเศรษฐกิจ และสังคม การสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการและความสามารถในการถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยการนำผลงานวิจัยและองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ในภาคการผลิต ภาคบริการ ภาคการเกษตร และภาคชุมชน จำนวน 36 โครงการ บทความตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ จำนวน 101 เรื่อง ต้นแบบ เชิงพาณิชย์/สาธารณประโยชน์ จำนวน 10 ต้นแบบ รางวัลด้านวิจัย/วิชาการในระดับชาติและระดับนานาชาติ จำนวน 25 รางวัล ยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญา จำนวน 108 รายการ และผลกระทบเศรษฐกิจหรือสังคมจากผลงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ในปี 2562 คิดเป็นมูลค่า 3,543 ล้านบาท
พร้อมกันนี้ นาโนเทคได้สร้างความร่วมมือกับสถาบันวิจัยทั้งในและต่างประเทศเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้การวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยี ซึ่งเป็นกลยุทธ์ความร่วมมือที่สำคัญ ด้านวิชาการ การพัฒนาบุคลากรและการถ่ายทอดผลงานวิจัย นาโนเทคทำงานวิจัยร่วมกับเครือข่ายการวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยีระยะที่ 3 หรือ Research Network of Nanotechnology (RNN) ซึ่งประกอบด้วย 11 หน่วยเครือข่าย ใน 7 มหาวิทยาลัยของประเทศ ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 3 เครือข่าย (ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านอาหารและการเกษตร ด้านวัสดุนาโน ที่มีโครงสร้างและสมบัติพิเศษ) มหาวิทยาลัยมหิดล 3 เครือข่าย (ด้านชุดตรวจนาโนเทคโนโลยีเพื่อการใช้จริงทางคลินิก ด้านเวชศาสตร์นาโนวินิจฉัยพร้อมรักษา ด้านวัสดุนาโนและระบบอัจฉริยะ) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 1 เครือข่าย (ด้านนวัตกรรมนาโนเซนเซอร์สำหรับการใช้งานเพื่อการมอนิเตอร์ด้านสุขภาพ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 1 เครือข่าย (ด้านตัวเร่งปฏิกิริยาและวัสดุนาโนเพื่อพลังงานและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน) มหาวิทยาลัยขอนแก่น 1 เครือข่าย (ด้านนวัตกรรมวัสดุนาโนเพื่อพลังงาน) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 1 เครือข่าย (ด้านวัสดุนาโนและการวิเคราะห์ขั้นสูง)และสถาบันวิทยสิริเมธี 1 เครือข่าย (ด้านพลังงาน) จากการําางานร่วมกับเครือข่ายฯ มีโครงการพัฒนางานวิจัยและสามารถบัณฑิตร่วมกันกว่า 35 โครงการ
ส่วนผลงานที่สำคัญร่วมกับพันธมิตรต่างประเทศ ในปี 2562 ได้แก่ การลงนามสัญญาความร่วมมือเพื่อสนับสนุนให้เกิดการวิจัย การแลกเปลี่ยนบุคลากร โครงการร่วมวิจัย งานประชุมวิชาการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสนับสนุนให้เกิดการขับเคลื่อนการวิจัย พัฒนา และวิศวกรรม เพื่อมุ่งสู่การสร้างความรู้ใหม่เชิงวิชาการหรือการนําาไปใช้ประโยชน์ในอนาคต
สำหรับกระบวนการภายใน นาโนเทคให้ความสำคัญกับกระบวนการสื่อสารภายใน และการพัฒนาบุคลากรซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญขององค์กรในการพัฒนางานวิจัย โดยคําานึงถึงขีดความสามารถ (Competency) ที่ครอบคลุมบุคลากร ในทุกกลุ่ม ทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพื่อผลักดันผลงานวิจัยให้ตอบโจทย์ประเทศ และสร้างเสริมขีดความสามารถรองรับการเจริญเติบโตด้านของนาโนเทคโนโลยีที่สอดคล้องกันครบ 4 มิติ คือ Relevance Excellence Visibility และ Impact ดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2562 ฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อ หน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา ตลอดจนผู้ที่สนใจงานวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยี พร้อมกันนี้ ขอขอบคุณคณะกรรมการบริหารศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ นักวิจัย บุคลากร หน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานระหว่างประเทศ ในการสนับสนุนและร่วมสร้างสรรค์งานวิจัยและพัฒนาของนาโนเทคให้เป็นที่ประจักษ์

ดร.วรรณี ฉินศิริกุล

ผู้อำนวยการ

ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ

 

บทสรุปผู้บริหาร 2562

ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) ดำเนินการวิจัยและพัฒนาโดยมีภารกิจเพื่อสร้าง สนับสนุนและส่งเสริมศักยภาพของนาโนเทคโนโลยี ตลอดจนเผยแพร่ความรู้ให้กับสังคม ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคอุตสาหกรรมและสร้างความตระหนัก ความรู้ ความเข้าใจให้กับประชาชนในประเทศให้มีความพร้อมในการรับข่าวสารข้อมูลนาโนเทคโนโลยีทั้งในปัจจุบันและอนาคต เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการพัฒนาประเทศตามแผนแม่บทนาโนเทคโนโลยีและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับปัจจุบัน ซึ่งในปีงบประมาณ 2562 นาโนเทคมีผลการดำเนินงาน ดังนี้

การวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยี

การจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และเป้าหมายการพัฒนาประเทศด้วยเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม ยุทธศาสตร์ชาติ และการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศภายใต้แนวทาง “ประเทศไทย 4.0” นำมาซึ่งการปรับโครงสร้างการวิจัยและพัฒนาของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ให้สอดคล้องกับภารกิจของกระทรวงใหม่ที่จัดตั้งขึ้น ภายใต้แนวคิดดังกล่าวนาโนเทคได้มีการทบทวนและวางแผนการทำงานเพื่อจัดทำแผนกลยุทธ์การวิจัยและพัฒนาให้สอดคล้องกับบทบาทและภารกิจของ สวทช. ตลอดจนการปรับปรุงโครงสร้างองค์กรตามสายงานที่เกี่ยวข้องออกเป็น 5 กลุ่มการวิจัยหลักและ 1 ทีมวิจัยย่อย เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2562 ซึ่งมีภารกิจทางด้านการวิจัยและพัฒนา ดังนี้

  • กลุ่มวิจัยการห่อหุ้มระดับนาโน
  • กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน
  • กลุ่มวิจัยการเร่งปฏิกิริยาและการคำนวณระดับนาโน
  • กลุ่มวิจัยวัสดุผสมและการเคลือบนาโน
  • กลุ่มวิจัยการวิเคราะห์ระดับนาโนขั้นสูงและความปลอดภัย

นปีงบประมาณ 2562 ผลงานจากการวิจัยและพัฒนาได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ จำนวน 101 เรื่อง ยื่นคำขออนุสิทธิบัตร จำนวน 66 ผลงาน ยื่นคำขอสิทธิบัตร จำนวน 37 ผลงาน ยื่นคำขอรับความลับทางการค้า จำนวน 5 ผลงาน ต้นแบบ จำนวน 10 ผลงาน และนักวิจัยนาโนเทคได้รับรางวัลจากผลงานวิจัย ทุนวิจัยและรางวัลประเภทอื่นๆ ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ จำนวน 25 รางวัล

การวิจัยและพัฒนาสู่การใช้ประโยชน์และสร้างผลกระทบ

นาโนเทคได้ประเมินผลลัพธ์และผลกระทบจากโครงการวิจัยและพัฒนา โดยพิจารณาจากปัจจัยหลักสำคัญ ที่เกิดประโยชน์กับผู้ใช้ผลงานวิจัย ได้แก่ รายได้ที่เพิ่มขึ้น ต้นทุนที่ลดลง รวมไปถึงการขยายโอกาสด้วยนาโนเทคโนโลยี ซึ่งผลการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดจากการนำผลงานวิจัยและพัฒนาไปใช้ประโยชน์ จำนวน 38 โครงการ พบว่าเกิดมูลค่าการลงทุนด้าน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม จำนวน 35 ล้านบาท และเกิดมูลค่าผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศรวม 3,543 ล้านบาท โดยมีตัวอย่างผลงานวิจัย เช่น 1) โครงการวิจัยความปลอดภัยด้านการระคายเคืองต่อผิวหนังของวัสดุปูนซิเมนต์ 4 ชนิด สร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม มูลค่า 840 ล้านบาท 2) โครงการสัญญาอนุญาต ให้สิทธิใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยจมูกอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการใช้งานภายในสถานประกอบการ สร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม 1,750 ล้านบาท

ศูนย์เครือข่ายการวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ

นาโนเทคเริ่มดำเนินงานศูนย์เครือข่ายพันธมิตรความเป็นเลิศด้านนาโนเทคโนโลยี ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2549-2554) ประกอบด้วยศูนย์เครือข่าย 8 แห่ง ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2556-2561) ประกอบด้วยศูนย์เครือข่าย 9 แห่ง และในปี 2562 ดำเนินงานโครงการศูนย์เครือข่ายการวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยี ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2562-2564) ประกอบด้วยศูนย์เครือข่าย 11 แห่ง จาก 7 มหาวิทยาลัย โดยผลการดำเนินงานศูนย์เครือข่ายการวิจัยพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยี มีบทความตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ จำนวน 90 เรื่อง ต้นแบบระดับภาคสนาม จำนวน 14 ต้นแบบ ยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญา จำนวน 6 เรื่อง และมีนักศึกษาเข้าร่วมโครงการ จำนวน 138 คน โดยเมื่อสิ้นสุดการดำเนินงานในระยะที่ 3 คาดว่าจะมีผลงานวิจัยที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์และเชิงสาธารณประโยชน์ที่สร้างผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมได้

การดำเนินงานด้านงบประมาณ

นาโนเทคได้รับการจัดสรรงบประมาณจาก สวทช. จำนวน 569.28 ล้านบาท มีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 482.98 ล้านบาท จำแนกเป็นค่าใช้จ่ายตามพันธกิจหลักในการดำเนินงานได้เป็นโปรแกรมวิจัยและศูนย์เครือข่าย จำนวน 111.13 ล้านบาท โปรแกรมพันธกิจและการบริหารจัดการ จำนวน 97.35 ล้านบาท งบลงทุนด้านครุภัณฑ์ จำนวน 79.71 ล้านบาท งบลงทุนด้านการก่อสร้าง จำนวน 3.95 ล้านบาท และงบประมาณด้านบุคลากร จำนวน 190.84 ล้านบาท

นอกจากงบประมาณประจําาปีที่นาโนเทคได้รับจัดสรรจาก สวทช. โดยตรงแล้ว ยังมีรายได้จากการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกรวม 51.2 ล้านบาท จำแนกเป็นรายได้จากการรับจ้างวิจัยและร่วมวิจัย จำนวน 22.92 ล้านบาท การให้บริการเทคนิควิชาการ จำนวน 4.60 ล้านบาท ลิขสิทธิ์และสิทธิประโยชน์ จำนวน 2.73 ล้านบาท ทุนอุดหนุนวิจัย จำนวน 20.58 ล้านบาท และเงินอุดหนุนรับอื่นๆ จำนวน 0.37 ล้านบาท

การดำเนินงานด้านธุรกิจนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี

การดำเนินงานด้านธุรกิจนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี นาโนเทคส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ผู้ใช้ประโยชน์ทั้งภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐและภาคการศึกษา เพื่อนำองค์ความรู้ด้านการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมช่วยแก้ปัญหาให้กับผู้ประกอบการในภาคการผลิตและบริการ โดยร่วมดำเนินการในรูปแบบ การรับจ้างวิจัย การร่วมวิจัย การให้บริการคำปรึกษา การอนุญาตสิทธิให้ใช้ประโยชน์ การให้บริการวิเคราะห์ทดสอบขั้นสูงทางด้านนาโนเทคโนโลยี และการให้บริการโรงงานต้นแบบเพื่ออุตสาหกรรม ซึ่งในปี 2562 ได้มีการบริหารจัดการโครงการวิจัยและพัฒนาจนเกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ผู้ใช้ประโยชน์ จำนวน 36 โครงการ แบ่งเป็นการถ่ายทอดสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ 30 โครงการ และงานวิจัยตามความต้องการของภาครัฐและภาคการศึกษา จำนวน 6 โครงการ นอกจากนี้ มีการให้บริการวิเคราะห์ทดสอบ จากศูนย์วิเคราะห์ทดสอบทางนาโนเทคโนโลยีขั้นสูง จำนวน 1,600 ชิ้นงาน และให้บริการด้านการผลิตอนุภาคสมุนไพร และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและเวชสำอาง จากโรงงานต้นแบบผลิตอนุภาคนาโนและเครื่องสำอาง จำนวน 42 ต้นแบบ

 

การพัฒนาความร่วมมือด้านนาโนเทคโนโลยีกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ

นาโนเทคให้ความสำคัญกับการสร้างความร่วมมือวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยี รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการยอมรับในฐานะหน่วยงานที่มีความเป็นเลิศด้านนาโนเทคโนโลยีในระดับชาติและนานาชาติ โดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการโครงการเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ การพัฒนากำลังคนระหว่างหน่วยงาน การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ และการสร้างขีดความในการแข่งขันสำหรับภาคอุตสาหกรรม

ในปี 2562 การพัฒนาความร่วมมือกับหน่วยงานต่างประเทศเกิดกิจกรรมส่งเสริมและต่อยอดความร่วมมือด้านวิชาการและการพัฒนากำลังคนรวม 12 หน่วยงานจาก 5 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐเกาหลี สาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศญี่ปุ่น ประเทศแคนาดา และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมณี และในขณะเดียวกัน ดร.วรรณี ฉินศิริกุล ผู้อำนวยการนาโนเทค ได้รับการพิจารณาให้ดำรงตำแหน่งรองประธานบริหารของคณะกรรมการบริหารสมาคมนาโนเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (The Asia Nano Forum: ANF)

ด้านการพัฒนาความร่วมมือกับหน่วยงานในประเทศ นาโนเทคได้สานต่อโครงการความร่วมมือกับพันธมิตรจากสถาบันและมหาวิทยาลัยต่างๆ โดยบูรณาการองค์ความรู้และนำผลงานวิจัยไปใช้ในเชิงสาธารณประโยชน์ เช่น โครงการภาคีวิศวกรรม ชีวการแพทย์ไทย โครงการจัดการน้ำอุปโภคบริโภคให้แก่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน บ้านเทพภูเงิน จ.อุดรธานี ตามพระราชดำริฯ โครงการเครื่องผลิตน้ำดื่มพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยเทคโนโลยีไส้กรองนาโน โครงการส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมโคนมด้วยการวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยี และโครงการความร่วมมือทางวิชาการด้านสุขภาพและการแพทย์ร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นต้น

การพัฒนาบุคลากรและสร้างองค์กรแห่งความสุข

การพัฒนาบุคลากรและสร้างองค์กรแห่งความสุข นาโนเทคให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากร โดคำนึงถึงขีดความสามารถของบุคลากรทุกกลุ่มตำแหน่ง ได้แก่ กลุ่มตำแหน่งวิจัยและพัฒนา กลุ่มบริหารวิจัยและพัฒนา กลุ่มตำแหน่งธุรกิจ และกลุ่มตำแหน่งสนับสนุน เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการทำงานเชิงรุกและเท่าทันต่อแนวโน้มทางธุรกิจ โดยผ่านหลักสูตรอบรม ดังนี้ 1. การพัฒนาและเพิ่มศักยภาพของบุคลากรเพื่อตอบนโยบายวิจัย Research Pillars, Frontier Research และ Technology Development Group: TDGs 2. NANO Talk 3. การพัฒนาระบบบริหารคุณภาพเพื่อขยายขอบข่ายระบบคุณภาพของนาโนเทค 4. Q&A Workshop

ด้านบุคลากร

นาโนเทค มีบุคลากรรวม 263 คน แบ่งเป็นกลุ่มตำแหน่งบริหารระดับสูง 5 คน (2%) บริหาร 15 คน (6%) วิจัยและพัฒนา 164 คน (62%) สนับสนุนการวิจัยและพัฒนา 39 คน (15%) สนับสนุน 40 คน (15%)

 

สรุปผลงานเด่นปี 2562

ผลงานที่สร้างการลงทุนทางด้านวิทยาศาสตร์และผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคม

การวิจัยความปลอดภัยด้านการระคายเคืองต่อผิวหนังของวัสดุปูนซิเมนต์ 4 ชนิด

ทีมวิจัยร่วมกับบริษัทภาคเอกชนที่ดำเนินอุตสาหกรรมการผลิตวัสดุก่อสร้าง ได้ทำการศึกษาความปลอดภัยด้านการก่อการระคายเคืองต่อผิวหนังจากการสัมผัสสารตัวอย่างวัสดุปูนซิเมนต์ โดยใช้แบบจำลองของผิวหนัง Reconstructed human epidermis (RhE) ซึ่งมีความใกล้เคียงกับผิวหนังมนุษย์ อ้างอิงตามวิธีแนะนําาของ OECD TG 439 และศึกษาผลความเป็นพิษและการเหนี่ยวนนำให้เกิดอนุมูลอิสระของวัสดุปูนซิเมนต์ต่อเซลล์ Human keratinocytes (HaCat) ซึ่งเป็นเซลล์เพาะเลี้ยงที่มาจากผิวหนัง โดยผลจากโครงการทำให้สามารถพิจารณาเลือกใช้วัตถุดิบสําาหรับการผลิตที่เหมาะสมและมีความปลอดภัยต่อผู้ที่มีโอกาสสัมผัส

สร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นมูลค่ารวม 840 ล้านบาท

การอนุญาตให้สิทธิใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยจมูกอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการใช้งานภายในสถานประกอบการ

การพัฒนาเครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Nose หรือ E-nose) ตรวจสอบกลิ่นแบบพกพาเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาขึ้นมาจากการเลียบแบบจมูกมนุษย์โดยจำลองระบบการดมกลิ่นให้ผลการวัดจึงใกล้เคียงสภาพความเป็นจริงที่จมูกมนุษย์ได้รับ ช่วยลดความซับซ้อนในการควบคุมการนำพากลิ่นจากระบบปั๊มและสะดวกกับผู้ใช้งาน โดยได้พัฒนาเครื่องต้นแบบ E-nose ให้กับบริษัทเอกชนรายหนึ่งซึ่งประกอบกิจการผลิตถุงมือยางทางการแพทย์ โดยบริษัทได้นำไปใช้ในกระบวนการตรวจสอบคุณภาพด้านกลิ่นของถุงมือยางเพื่อใช้ทดแทนการดมกลิ่นโดยมนุษย์ที่จำเป็นต้องใช้ทักษะเฉพาะด้านและค่อนข้างหายาก นอกจากนี้ยังช่วยสนับสนุนการเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการถุงมือยางทางการแพทย์ที่สูงขึ้น สามารถรักษามาตรฐานคุณภาพของผลิตภัณฑ์

สร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นมูลค่ารวม 1,750 ล้านบาท

รายงานประจำปี 2562

>>>คลิกเพื่ออ่านฉบับเต็ม