รายงานประจำปี 2563

รายงานประจำปี 2563

"ปีแห่งการพัฒนานาโนเทคโนโลยีตอบโจทย์ความต้องการที่สำคัญของประเทศ และการปรับตัวสู่การเปลี่ยนแปลงวิถีการทำงานใหม่แบบ New normal"

ภาพรวมองค์กร

ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) เป็นองค์กรในกำกับของรัฐ ดำเนินงานภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2546 มีภารกิจหลักในการสร้าง สนับสนุนและส่งเสริมศักยภาพของนาโนเทคโนโลยี ตลอดจนเผยแพร่ความรู้ให้กับสังคม ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคอุตสาหกรรมและสร้างความตระหนัก ความรู้ ความเข้าใจให้กับประชาชนในประเทศให้มีความพร้อมในการรับข้อมูลข่าวสารด้านนาโนเทคโนโลยีทั้งในปัจจุบันและอนาคต ทั้งนี้เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

วิสัยทัศน์

เป็นองค์กรวิจัยแห่งความเป็นเลิศด้านนาโนเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อประโยชน์ต่อประเทศและมนุษยชาติ

พันธกิจ

เราดำเนินงานวิจัย พัฒนา ออกแบบวิศวกรรมและประยุกต์นาโนเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดความเป็นเลิศและสามารถถ่ายทอดสู่การใช้ประโยชน์ให้กับภาคการผลิต อันจะนำไปสู่การยกระดับผลิตภัณฑ์ที่เป็นฐานสำคัญของประเทศไทย ส่งผลต่อการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ภายใต้ความตระหนักในการรักษาและดูแลใส่ใจต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ มีภารกิจในการสร้าง สนับสนุนและส่งเสริมศักยภาพการวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยี ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคอุตสาหกรรมเพื่อการพัฒนาด้านเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และส่งเสริมการนำองค์ความรู้ด้านนาโนเทคโนโลยีสู่การใช้ประโยชน์เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ตลอดทั้งสร้างความตระหนัก ความรู้ความเข้าใจให้ทันต่อสถานการณ์เทคโนโลยีที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน
ปี พ.ศ. 2563 นับเป็นปีที่ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติเน้นงานวิจัยเพื่อช่วยป้องกันและบรรเทาวิกฤติการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งเป็นความท้าทายของศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติอย่างมากในการบูรณาการองค์ความรู้เพื่อขับเคลื่อนการวิจัยแบบมุ่งเป้าให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตรงกลุ่มเป้าหมายบนฐานวิถีชีวิตใหม่ (New normal) ทั้งการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมตรวจวัดและป้องกันการติดเชื้อ เพื่อรองรับสถานการณ์การระบาดของโรคฯ การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมตอบโจทย์ปัญหาสำคัญของประเทศ การวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรมและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่สอดคล้องตามนโยบายเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy; BCG) ตลอดจนการประยุกต์ใช้องค์ความรู้จากการวิจัยเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สร้างเศรษฐกิจชุมชน ส่งเสริมการพึ่งตนเอง และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน คณะกรรมการบริหารศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติได้ให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะ และติดตามการดำเนินงานของศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติที่ครอบคลุม การสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ และศูนย์เครือข่ายการวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยี (Research Network of Nanotechnology; RNN) การพัฒนาองค์ความรู้และถ่ายทอดนาโนเทคโนโลยีจากการวิจัยและพัฒนา เพื่อส่งมอบผลงานที่สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

 

ในนามของประธานกรรมการบริหารศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ขอขอบคุณผู้บริหาร นักวิจัย และบุคลากรทุกท่าน รวมทั้งหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กรไม่แสวงผลกำไร และมหาวิทยาลัย ที่ได้ร่วมกันพัฒนานวัตกรรมด้านนาโนเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ประเทศอย่างต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติจะร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรสร้างสรรค์นวัตกรรมนาโนเทคโนโลยีไปสู่การใช้ประโยชน์ในทุกภาคส่วนต่อไป

ศ. ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์

ประธานกรรมการบริหาร

ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ

ในปี 2563 ประเทศไทยและหน่วยงานต่างๆ ต้องดำเนินกิจการภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) ซึ่งเป็นโรคอุบัติใหม่ที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงไปทั่วโลก นับเป็นความท้าทายของนาโนเทคในการบูรณาการงานวิจัยและพัฒนาเพื่อตอบโจทย์ที่สำคัญเร่งด่วนของประเทศ ทั้งในเชิงรับมือและฟื้นฟูจากผลกระทบที่เกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์ระบาดของโรคฯ ด้วยนโยบายการดำเนินงานของนาโนเทคที่เน้นความร่วมมือ การจัดลำดับความสำคัญของงาน และการรักษาสมดุลของงานวิจัยพัฒนาทั้งเพื่อรับมือการแพร่ระบาด และงานเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม ซึ่งงาน ทั้งสองส่วนดำเนินการขนานควบคู่กันไป ทำให้ผลงานภาพรวมของนาโนเทค สามารถบรรลุเป้าหมายทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ตลอดทั้งบุคลากรของนาโนเทคสามารถปรับกระบวนทัศน์การทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปบนฐานวิถีชีวิตใหม่ (new normal) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปีงบประมาณ 2563 นาโนเทคดำเนินการตามแผนกลยุทธ์ สวทช. ฉบับทบทวน 6.3 (พ.ศ. 2563-2567) และ แผนแม่บทศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (พ.ศ. 2560-2564) ผ่านกลไกการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรในทุกภาคส่วน โดยขับเคลื่อนงานวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยีเพื่อรองรับกับวิกฤตการณ์การระบาดของโรคฯ ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะการพัฒนานวัตกรรมจากผลงานวิจัย จำนวน 9 ผลงาน เช่น ชุดตรวจเพื่อคัดกรองผู้ติดเชื้อฯ (COVID-19 Antigen Rapid Test) ผลิตภัณฑ์น้ำยาฆ่าเชื้อ และอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ สำหรับสนับสนุนกิจกรรมทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข เป็นต้น พร้อมกันนี้ นาโนเทค ได้มุ่งวิจัยพัฒนา และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านนาโนเทคโนโลยีเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่สามารถสร้างผลกระทบ 3,723 ล้านบาท ผ่านสิ่งส่งมอบเชิงพาณิชย์ที่สำคัญ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เซรั่มจากอนุภาคลิโปนิโอโซมของสารสกัดลูกซัด ผลิตภัณฑ์สารฆ่าเชื้อจากซิงค์ไอออนเพื่อทดแทนยาปฏิชีวนะสำหรับโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ และการศึกษาประสิทธิภาพของ สารซักล้าง กระบวนการทำความสะอาดวัสดุหัวอ่านฮาร์ดดิสก์ เพื่อสนับสนุนการผลิตในอุตสาหกรรม เป็นต้น ผลงานของนาโนเทคสะท้อนภาพความเข้มแข็งทางวิชาการที่พัฒนาเป็นต้นแบบเชิงพาณิชย์และสาธารณประโยชน์ จำนวนรวม 8 ต้นแบบ ยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญา จำนวน 108 เรื่อง บทความวิชาการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ จำนวน 129 บทความ ขณะเดียวกันก็ขับเคลื่อนภารกิจส่งเสริมการใช้นาโนเทคโนโลยีอย่างปลอดภัยเพื่อประโยชน์ต่อผู้ใช้นาโนเทคโนโลยีอย่างยั่งยืน

 

ภายใต้ความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ นาโนเทคมีการทำงานร่วมกับพันธมิตร ที่มุ่งมั่นสร้างความเป็นเลิศทางด้านนาโนเทคโนโลยีและนวัตกรรม มีการร่วมทุนวิจัยและพัฒนากับพันธมิตร ต่างประเทศจำนวน 7 โครงการ มีความร่วมมือกับ 7 มหาวิทยาลัยในประเทศภายใต้โครงการศูนย์เครือข่ายการวิจัยและพัฒนา ด้านนาโนเทคโนโลยี (RNN) ซึ่งมีผลงานวิจัยที่ปรากฏค่า impact factor มากกว่า 4.00 จำนวน 6 เรื่อง และมีนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการจำนวนรวมทั้งสิ้น 43 คน แบ่งเป็น ระดับปริญญาเอก 13 คน และระดับปริญญาโท 30 คน นอกจากนี้ยังมีการจัดการประชุมและกิจกรรมทางวิชาการเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ผ่านระบบออนไลน์ที่มุ่งสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ และสานพลังประชาคมวิชาการไปสู่การพัฒนาโครงการวิจัยในอนาคต รวมทั้งการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรในเชิงพื้นที่ผ่านการบูรณาการนโยบายที่สำคัญของประเทศ บูรณาการองค์ความรู้กับมหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษา และบูรณาการความร่วมมือกับภาคประชาชนและหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ ส่งผลต่อการลดความเหลื่อมล้ำ พัฒนาคุณภาพชีวิต และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันสําาหรับเศรษฐกิจฐานราก เช่น นวัตกรรมระบบกรองน้ำเพื่อพัฒนาคุณภาพน้ำสำหรับอุปโภคและบริโภค เป็นต้น
สำหรับกระบวนการบริหารจัดการภายใน นาโนเทคตระหนักถึงคุณค่า ความสามารถ และความก้าวหน้าของทรัพยากรบุคคล จึงมุ่งเน้นให้ความสําาคัญกับการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากร การสร้างสมดุลชีวิตและการทำงานที่จะนำไปสู่การบรรลุภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้บริบทขององค์กรแห่งความสุข ผูกพัน ทันการเปลี่ยนแปลงบนฐานวิถีชีวิตใหม่
ความมุ่งมั่น และผลการดเนินงานของนาโนเทค ปี 2563 ภายใต้สถานการณ์ที่ท้าทายนี้ สามารถตอบโจทย์ที่สำคัญของประเทศโดยก่อให้เกิดผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคม นาโนเทคพร้อมที่จะพัฒนาผลงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของประเทศ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างต่อเนื่อง ดิฉันขอขอบคุณคณะกรรมการบริหารศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ นักวิจัย บุคลากร หน่วยงานพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ที่ได้ร่วมกันพัฒนาประเทศอย่างเข้มแข็งตลอดปีที่ผ่านมา

ดร.วรรณี ฉินศิริกุล

ผู้อำนวยการ

ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ

 

บทสรุปผู้บริหาร 2563

ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) ภายใต้การดำเนินงานของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีภารกิจหลักในการสร้าง สนับสนุนและส่งเสริมศักยภาพของนาโนเทคโนโลยีของประเทศ ตลอดจนเผยแพร่ความรู้ให้กับสังคม ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคอุตสาหกรรม และสร้างความตระหนักให้ประชาชนในประเทศมีความพร้อมในการรับข่าวสารข้อมูลนาโนเทคโนโลยีทั้งในปัจจุบันและอนาคต เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับปัจจุบัน โดยในปี 2563 นาโนเทค มีผลการดำเนินงานในภาพรวม ดังนี้

ภารกิจด้านวิจัยและพัฒนา

นาโนเทคได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของประเทศอย่างต่อเนื่องตามกลยุทธ์การดำเนินงานที่คำนึงถึงเป้าหมายของสิ่งส่งมอบและประโยชน์ของประเทศที่จะได้รับหรือที่เรียกว่า “REVI” (Relevance Excellence Visibility Impact) โดยสถานการณ์ในปี 2563 ที่ทั่วโลกต้องเผชิญกับการระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ หรือ COVID-19 เป็นอีกหนึ่งโจทย์ท้าทายสำคัญที่ทำให้นาโนเทคมีการปรับปรุงวิถีการทำงาน ในภาวะความปกติใหม่ หรือ “New Normal เพื่อรับมือและฟื้นฟูสถานการณ์ระบาดของโรค COVID-19”  โดยยังสามารถดำเนินงานและส่งมอบผลงานวิจัยและพัฒนาเพื่อตอบโจทย์ปัญหาที่สำคัญของประเทศได้ เกิดเป็น “โครงการวิจัยเฉพาะกิจ 7 โครงการ” เพื่อรับมือและบรรเทาสถานการณ์วิกฤต จากการระดมทีมวิจัยและสายงานสนับสนุน โดยนำความเชี่ยวชาญการวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยีบูรณาการร่วมกับหน่วยงานหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อาทิหน่วยงานใน สวทช. เครือข่ายความร่วมมือพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีแผนการวิจัยและพัฒนาเพื่อ “ฟื้นฟูเศรษฐกิจ” เพื่อช่วยกระตุ้นและต่อยอดให้ภาคธุรกิจ ยังสามารถเติบโตได้ในสถานการณ์ที่มีการระบาดหรือหลังการระบาดใหม่ ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับระบบเศรษฐกิจของประเทศได้ในระยะยาว

ในด้านผลการดำเนินงานด้านการวิจัยและพัฒนา มีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ จำนวน 129 บทความ มีการยื่นคำขอจดทรัพย์สินทางปัญญาทั้งสิ้น รวม 108 รายการ ผลงานต้นแบบ จำนวน 8 ต้นแบบ นอกจากนี้บุคลากรของศูนย์ยังได้รับรางวัลจากผลงานวิจัย ทุนวิจัยและรางวัลประเภทอื่นๆ ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ จำนวนรวม 35 รางวัล

การวิจัยและพัฒนาสู่การใช้ประโยชน์และสร้างผลกระทบ

การวิจัยและพัฒนาสู่การใช้ประโยชน์และสร้างผลกระทบ นาโนเทคได้กำหนดให้การสร้างผลกระทบจากการลงทุนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของภาคส่วนต่างๆ และการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของการดำเนินงานตามพันธกิจ โดยการประเมินผลกระทบจำนวนทั้งสิ้น 127 โครงการในปี 2563 พบว่า ผลจากการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยี สามารถเพิ่มโอกาสในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน การจ้างแรงงาน การเพิ่มยอดขายสินค้าและลดต้นทุนการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศซึ่งคิดเป็นมูลค่าการลงทุนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในภาคการผลิต ภาคบริการ และภาคเกษตรกรรมเป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 901 ล้านบาท และมูลค่าผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมรวมทั้งสิ้น 3,723 ล้านบาท ซึ่งบรรลุเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ โดยตัวอย่างผลงานวิจัยที่มีการใช้ประโยชน์และสร้างผลกระทบ เช่น (1) การพัฒนาแผ่นกรองและหน้ากากอนามัยจากเส้นใยนาโนสำหรับการป้องกันฝุ่น PM 2.5 (2) การพัฒนากระบวนการผลิตซิงค์ไอออนสำหรับยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย (3) การพัฒนาผลิตภัณฑ์เซรั่มจากอนุภาค ลิโปนิโอโซมของสารสกัดลูกซัด และ (4) การศึกษาและวิเคราะห์ลักษณะของพื้นผิวเพื่อศึกษาผลกระทบของกระบวนการซักล้างต่อวัสดุหัวอ่านฮาร์ดดิสก์

 

โครงการศูนย์เครือข่ายการวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยี

คณะอนุกรรมการคัดเลือกติดตามและประเมินผล ศูนย์เครือข่ายการวิจัยพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยี ได้ประชุมติดตามความก้าวหน้าของโครงการในปี 2563 พบว่า มีผลงานวิจัยที่เกิดจากความร่วมมือของศูนย์เครือข่ายฯ ถูกตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติรวม 156 บทความ มีการยื่นขอจดทรัพย์สินทางปัญญาจำนวน 7 รายการ และพัฒนาต้นแบบระดับภาคสนามจำนวน 7 ต้นแบบ ในด้านบุคลากรมีนักศึกษาทั้งระดับปริญญาเอกและปริญญาโทเข้าร่วมโครงการจำนวนรวมทั้งสิ้น 43 คน

นอกจากนี้ ยังได้มีการคัดเลือกผลงานที่คาดว่าจะสร้างผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคม และมีความโดดเด่นเชิงคุณภาพและมีศักยภาพเชิงพาณิชย์หรือสาธารณประโยชน์ แบ่งเป็นผลงานจำนวน 5 ขอบข่ายหลัก ดังนี้ (1) ขอบข่Nanomedicine ได้แก่ ชุดตรวจไกลเคทเตดอัลบูมิน ชุดตรวจแบบรวดเร็วสำหรับตรวจหาเชื้อไวรัส การพัฒนาการตรวจหาเชื้อไวรัส BKV อนุภาคนาโนลิโปโซมมุ่งเป้าต่อมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ระบบประสาทส่วนกลาง การวิจัยยารักษาโรคสมองเสื่อม และนาโนเซนเซอร์สำหรับการใช้งานเพื่อการมอนิเตอร์ด้านสุขภาพ (2) ขอบข่ย Nanotechnology for Energy ได้แก่ การสังเคราะห์โอเลฟินส์จากก๊าซ CO2 ฐานชีวภาพ ระบบปฏิกรณ์แรงดันสูงขนาด Bench-scale สำหรับสังเคราะห์ ตัวเร่งปฏิกิริยาและวัสดุดูดซับนาโน ต้นแบบเครื่องฟอกอากาศEcoCleanAir สำหรับดักจับ PM 2.5 และไอสารระเหยเคมี แบตเตอรี่ชนิดอะลูมิเนียมไอออน สถานีชาร์จแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า ห้องปฏิบัติการ “SUT-Seagate nanofactory” อุปกรณ์วัดเทคนิคสเปกโตรสโคปี อุปกรณ์ไดโอดเรืองแสงสารอินทรีย์ และ ตัวเก็บประจุไฟฟ้าเคมียิ่งยวด (3) ขอบข่ Nanotechnology for Food & Agriculture Environment ได้แก่ เซ็นเซอร์ทางเคมีไฟฟ้าแบบพกพาสำหรับการตรวจวัด พาราควอต เทคโนโลยีการกักเก็บและระบบนำส่ง และ เซนเซอร์ไอโอทีและระบบปัญญาประดิษฐ์สำหรับเกษตรแม่นยำ(4) ขอบข่ย Nanotechnology for Environment ได้แก่ การประยุกต์ใช้ตัวกลางแบบผสมผสานเพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำจากแหล่งน้ำใต้ดินและน้ำผิวดิน และ ต้นแบบระบบบําาบัดน้ำเสียโรงงานอุตสาหกรรมผลิตอาหาร (5) ขอบข่ย Nanotechnology for Metrology and Standardization ได้แก่ การประยุกต์ใช้การเปลี่ยนสีของอนุภาคเงินแบบปริซึมระดับนาโนเมตรสีม่วงในการตรวจหายีนดื้อยาเมทิซิลินของ Staphylococcus aureus และ การประยุกต์ใช้การเปลี่ยนสีของอนุภาคเงินแบบปริซึมระดับนาโนเมตรสีม่วงในการตรวจหาไวรัส COVID-19

การพัฒนาบุคลากรและการสร้างองค์กรแห่งความสุข

นาโนเทคจัดหลักสูตรการพัฒนาบุคลากร ซึ่งครอบคลุมในทุกกลุ่มตำแหน่ง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการทําางานเชิงรุกและให้เท่าทันต่อแนวโน้มทางธุรกิจ สอดคล้องตามกลยุทธ์องค์กรและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ โดยหลักสูตรและกิจกรรมการพัฒนาบุคลากร ประกอบไปด้วย (1) หลักสูตรการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพของบุคลากรเพื่อตอบนโยบายวิจัย Research Pillars, Frontier Research และ Technology Development Groups : TDGs) (2) กิจกรรม NANO Talk ที่เชิญผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรวิจัยชั้นนำจากต่างประเทศมาแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์และสร้างแรงบันดาลใจ นำไปสู่การสร้างความร่วมมือกับสถาบันวิจัยชั้นนำในต่างประเทศ (3) การพัฒนาระบบบริหารคุณภาพเพื่อขยายขอบข่ายระบบคุณภาพ (4) เวที Q&A Workshop ให้ความรู้และตอบข้อสงสัยในการปฏิบัติงานโดยเน้นกระบวนการบริหารจัดการภายใน และ (5) การ Upskill & Reskill แก่กลุ่มบัณฑิตจบใหม่และประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19

นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมที่สร้างเสริมสร้างสมดุลของชีวิตและการทำงาน (Work Life Balance) เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์กรแห่งความสุข ตลอดจนเพื่อสร้างความตระหนักในด้านสุขภาพของพนักงาน เช่น กิจกรรม NSTDA NCDs Day : NSTDA Happy Health 2020 และกิจกรรมวันเบาหวานโลก ภายใต้แนวคิด “ครอบครัวร่วมใจต้านภัยเบาหวาน” เป็นต้น

ด้านอัตรากำลัง

นาโนเทคมีบุคลากรรวมทั้งสิ้น 252 คน แบ่งเป็น กลุ่มตแหน่งบริหารระดับสูง 3 คน ตแหน่งบริหาร 19 คน บุคลากรสายวิจัยและพัฒนา 163 คน บุคลากรสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา 33 คน และบุคลากรสายสนับสนุน 34 คน

การดำเนินงานด้านธุรกิจนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี

นาโนเทคมีการบริหารจัดการโครงการวิจัยและผลักดันผลงานนวัตกรรมไปสู่กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ทั้งภาคอุตสาหกรรมและความต้องการของภาครัฐ โดยมีผลงานที่ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ผู้ใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์จำนวนรวมทั้งสิ้น 64 โครงการ การอนุญาตสิทธิใช้ประโยชน์ (Active License) จำนวน 52 ผลงาน การให้บริการวิเคราะห์ทดสอบทางด้านนาโนเทคโนโลยีขั้นสูงกว่า 1,400 ชิ้นงาน การสนับสนุนอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ในการพัฒนาและขยายกำลังการผลิตผลงานวิจัยทั้งภายในและภายนอกสู่การผลิตอนุภาคนาโนและเครื่องสำอางที่มีอนุภาคนาโนจำนวนรวม 23 รายการ นอกจากนี้ยังได้ให้บริการเคลือบผ้าด้วยน้ำยาสูตรพิเศษที่สามารถเพิ่มสมบัติการสะท้อนน้ำและต้านเชื้อแบคทีเรีย เพื่อการนำไปผลิตหน้ากากผ้าสะท้อนน้ำได้กว่า 200,000 ชิ้น ในช่วงที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ หรือ COVID-19

ในด้านกิจกรรมเพื่อผลักดันผลงานวิจัยสู่การถ่ายทอดเทคโนโลยี นาโนเทคได้เข้าร่วมกิจกรรมนิทรรศการในระดับชาติและนานาชาติ รวมถึงเป็นเจ้าภาพการจัดสัมมนาที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมเข้ามามีส่วนร่วมจำนวนรวมทั้งสิ้น 6 กิจกรรม โดยตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปสู่เชิงพาณิชย์ ในปี 2563 อาทิ (1) ผลิตภัณฑ์ผ่อนคลายกล้ามเนื้อจากสารสกัดอนุภาคนาโนไพลและขมิ้นชัน (2) สเปรย์และครีมอนุภาคนาโนเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์บรรเทาอาการของโรคข้อเข่าเสื่อม (3) สเปรย์ซาโปนินที่ช่วยระงับกลิ่นเท้า (4) ครีมบำรุงผิวสูตรตำรับที่มีอนุภาคนาโนกักเก็บสารสกัดจากว่านเพชรหึง (5) น้ำยาฆ่าเชื้อจุลินทรีย์สำหรับฉีดพ่นอาหารสัตว์ (6) ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์และไวรัสจากธรรมชาติด้วยไอออนประจุบวกของซิงค์ และ (7) สารละลายคีเลตจุลธาตุอาหารของพืช เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีการต่อยอดองค์ความรู้ผลงานวิจัยด้านนาโนเทคโนโลยี และผลักดันให้เกิดการนำไปใช้ เชิงสาธารณประโยชน์ ภายใต้ความร่วมมือกับพันธมิตร ภาคเอกชนในการจัดกิจกรรมการประกวด “นวัตกรรมเยาวชนลดเปลี่ยนโลก” ภายใต้โครงการ “ลดเปลี่ยนโลกกับโตโยต้า” ร่วมกับ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด และ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ซึ่งมีเยาวชนที่สนใจส่งผลงานเข้าร่วมกว่า 200 โครงการจากทั่วประเทศ โดยผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจะได้รับการพัฒนาและขยายผลนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมร่วมกับทีมวิจัย นาโนเทค สวทช. เพื่อต่อยอดสู่การแก้ไขปัญหามลภาวะทางด้านสิ่งแวดล้อมในชุมชนอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

การพัฒนาความร่วมมือด้านนาโนเทคโนโลยีกับหน่วยงานพันธมิตร

นาโนเทคให้ความสำคัญต่อการสร้างความร่วมมือวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยีกับหน่วยงานพันธมิตร โดยมี เป้าหมายให้นาโนเทคได้รับการยอมรับในฐานะหน่วยงานที่มีความเป็นเลิศด้านนาโนเทคโนโลยีทั้งในระดับชาติและนานาชาติ ผ่านการบริหารจัดการโครงการเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ การพัฒนากำลังคนระหว่างหน่วยงาน ตลอดจนการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรในประเทศ ด้านการพัฒนาความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรต่างประเทศ มีการสร้างฐานความร่วมมือในการระดมทุนวิจัยและให้ทุนวิจัยแก่พันธมิตรต่างประเทศ อีกทั้งสร้างความร่วมมือในเชิงยุทธศาสตร์ จนเกิดเป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ได้แก่ (1) โครงการร่วมทุนวิจัยกับพันธมิตรต่างประเทศ จำนวน 7 โครงการ (2) ข้อเสนอโครงการขอแหล่งทุนต่างประเทศจำนวน 19 โครงการ (3) การลงนามสัญญาความร่วมมือ จําานวน 2 ฉบับ และ (4) การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเชิงวิชาการหรือเชิงปฏิบัติการ ําานวน 3 ครั้ง ด้านการพัฒนาความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตร ในประเทศ มีการส่งเสริมความร่วมมือและผลักดันให้เกิดการนําาผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านวิชาการร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรได้แก่ (1) ความร่วมมือภายใต้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําาริฯ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโครงการภาคีวิศวกรรม ชีวการแพทย์ไทย จำนวน 24 หน่วยงาน (2) การสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตร จําานวน 21 หน่วยงาน (3) การลงนามความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตร จนวน 2 หน่วยงาน และ (4) การผลักดันผลงานวิจัยและพัฒนาไปใช้ประโยชน์ จำนวน 2 โครงการ

 

การขับเคลื่อนความปลอดภัยนาโนเพื่อการพัฒนานาโนเทคโนโลยีอย่างยั่งยืน

นาโนเทคมีบทบาทในการร่วมขับเคลื่อนความปลอดภัยนาโน โดยสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการประยุกต์ใช้นาโนเทคโนโลยีที่มีความปลอดภัยต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคประชาสังคม โดยเกิดเป็นกิจกรรมจากความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและเครือข่ายต่างๆ ได้แก่ (1) การดำเนินงานร่วมกับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เพื่อจัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมทางด้านนาโนเทคโนโลยี จำนวน 6 มาตรฐาน (2) บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ “โครงการพัฒนาเครือข่ายภาคอุตสาหกรรม เรื่อง ความปลอดภัยนาโนเทคโนโลยี” กับหน่วยงานพันธมิตร จำนวน 9 แห่ง (3) กิจกรรมเผยแพร่ความรู้ทางด้านความปลอดภัยนาโนเทคโนโลยีกับหน่วยงานพันธมิตร จำนวน 4 ครั้ง (4) งานสัมมนาสรุปผลการเปรียบเทียบการวัดขนาดอนุภาคทองคำนาโนในระบบนานาชาติ (5) บทความเผยแพร่ความรู้เชิงวิชาการ จำนวน 6 บทความ (6) “แอพพลิเคชั่น มอก.นาโน” เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนาโนเทคโนโลยี (มอก. 2691) และ (7) การทำงานร่วมกับสําานักงาน สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) เพื่อขยายแผนยุทธศาสตร์ความปลอดภัยและจริยธรรมนาโน

 

การดำเนินงานด้านงบประมาณ

นาโนเทคได้รับการจัดสรรงบประมาณ จำนวน 528.29 ล้านบาท โดยมีผลการใช้จ่ายทั้งสิ้นจำนวน 469.23 ล้านบาท คิดเป็น 89% ของงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร โดยจำแนกเป็นการใช้จ่ายตามพันธกิจได้แก่ (1) งบประมาณด้านบุคลากรจำนวน 207.05 ล้านบาท (2) งบครุภัณฑ์หลักและงบลงทุนจำนวน 32.64 ล้านบาท และ (3) งบดำเนินงาน ซึ่งแบ่งออกเป็น งบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนาการดำเนินงานตามพันธกิจและการบริหารจัดการ รายจ่ายเสนอขอตามแหล่งทุน และงบประมาณรายจ่ายแหล่งเงินนอก สวทช. เป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 229.54 ล้านบาท

 

สรุปผลงานเด่นปี 2563

ผลงานที่สร้างการลงทุนทางด้านวิทยาศาสตร์และผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคม

แผ่นกรองและหน้ากากอนามัยจากเส้นใยนาโนสำหรับการป้องกันฝุ่น PM 2.5

หน้ากากอนามัย n-Breeze M01 จากแผ่นกรองที่มีเส้นใยสานกัน มีลักษณะเป็นรูพรุนขนาดเล็กจํานวนมาก มีสมบัติดักจับอนุภาคฝุ่นละอองในอากาศระดับไมครอนผ่านการทดสอบโดยอ้างอิงมาตรฐาน EN 149  โดยมีผลการทดสอบ FFP1 ได้ 80% ในการป้องกันฝุ่นละอองและความชื้นจากน้ำและน้ำมันโครงการนี้เป็นการพัฒนาต้นแบบสาธารณประโยชน์เพื่อขยายผลไปสู่การใช้งานเพื่อป้องกันตนเองจากฝุ่นละอองขนาด PM 2.5 ในอากาศ ซึ่งจะช่วยชะลออัตราการขยายตัวของจํานวนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษทางอากาศที่กําลังเป็นปัญหาหลักทางด้านคุณภาพอากาศของประเทศไทยและหลายๆ ประเทศทั่วโลกที่กำลังเผชิญ

สร้างผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมคิดเป็นมูลค่ากว่า 35 ล้านบาท

กระบวนการผลิตซิงค์ไอออนสำหรับยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย

พัฒนากระบวนการผลิตซิงค์ไอออนสำหรับยับยั้งเชื้อแบคทีเรียและสารฆ่าเชื้อจุลินทรีย์และไวรัสจากธรรมชาติด้วยไอออนประจุบวกของซิงค์เพื่อทดแทนยาปฏิชีวนะโดยใช้ไอออนิกเทคโนโลยีและคีเลชันเทคโนโลยีเพื่อนำไปประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัสสำหรับโรงเรือนสัตว์ ทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมธาตุอาหาร โดยถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับสินค้า อาหารและยาสัตว์ เพื่อนำไปผลิตและจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์สารฆ่าเชื้อเพื่อการจัดการสุขาภิบาลสำหรับโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ และในระยะต่อมาได้พัฒนาต่อยอดไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในครัวเรือนสำหรับใช้ทำความสะอาดพื้นผิว

เกิดการลงทุนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาคการผลิต บริการและภาคเกษตรกรรม 11 ล้านบาท  และสร้างผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคม 142 ล้านบาท

ผลิตภัณฑ์เซรั่มจากอนุภาคลิโปนิโอโซมของสารสกัดลูกซัด

พัฒนาสารสกัดจากลูกซัดให้อยู่ในรูปอนุภาคลิโปนิโอโซมเพื่อเพิ่มความคงตัวให้กับสารสกัด  โดยนำสารสกัดลูกซัดที่ได้มาใช้เป็นสารออกฤทธิ์หลักในการพัฒนาสูตรตำรับเซรั่มที่มีเนื้อบางเบา กระจายตัวได้ดีร่วมกับสารสกัดจากธรรมชาติเพื่อให้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค โดยถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับบริษัทเอกชนรายหนึ่ง มีการยกระดับการผลิตจากห้องปฏิบัติการวิจัยสู่การผลิต ณ โรงงานต้นแบบผลิตอนุภาคนาโนและเครื่องสำอาง (Nanoparticle and Cosmetic Production Plant)

เกิดการลงทุนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในภาพการผลิต 2 ล้านบาท และสร้างผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคม 88 ล้านบาท

 

การศึกษาและวิเคราะห์ลักษณะของพื้นผิวเพื่อศึกษาผลกระทบของกระบวนการซักล้างต่อวัสดุหัวอ่านฮาร์ดดิสก์

ทีมวิจัยร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิจัยและพัฒนาเพื่อวิเคราะห์ลักษณะพื้นผิวและผลกระทบของการใช้สารซักล้างในกระบวนการทำความสะอาดหัวอ่านฮาร์ดดิสก์ โดยศึกษาการเปลี่ยนแปลงบนพื้นผิวและพัฒนากระบวนการวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบการทิ้งคราบฟิล์มบางของสารซักล้างบนพื้นผิวที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ซึ่งมีความบางในระดับนาโนเมตร ตลอดจนเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการกำจัดสารปนเปื้อนของสารซักล้างมาตรฐานในกระบวนการทำความสะอาดหัวอ่าน โดยงานวิจัยดังกล่าวได้มีการนำไปใช้งานจริง ณ บริษัทผู้ผลิตหัวอ่านฮาร์ดดิสก์รายหนึ่งในประเทศไทย

เกิดการลงทุนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 434,000 บาท และสร้างผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคม 949 ล้านบาท

รายงานประจำปี 2563

>>>คลิกเพื่ออ่านฉบับเต็ม