นาโนเทค สวทช. ส่งนวัตกรรม CCUS ร่วมขับเคลื่อนสระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ ต้นแบบเมืองคาร์บอนต่ำ

เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2567 ณ หอประชุมศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) นำโดย ดร. สมบุญ สหสิทธิวัฒน์ รองผู้อำนวยการ สวทช. ได้เข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์พร้อมลงนามบันทึกข้อตกลงกรอบความร่วมมือ 15 เครือข่ายพลังงานภาครัฐและเอกชนเพื่อเปลี่ยนสู่พลังงานสะอาด ลดโลกร้อน ขับเคลื่อนจังหวัดสระบุรีเมืองคาร์บอนต่ำ “PPP-Saraburi Sandbox : A Low Carbon City” ชู วทน. เสริมทัพพลังงานสะอาด ตอบนโยบายเศรษฐกิจ BCG เพื่อความยั่งยืนทางพลังงานของไทย โดยมีกลุ่มวิจัยการเร่งปฏิกิริยาและการคำนวณระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค-สวทช.) นำโดย ดร.ขจรศักดิ์ เฟื่องนวกิจ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยการเร่งปฏิกิริยาและการคำนวณระดับนาโน, นายพงศ์สิทธิ์ รัตนกรวิทย์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารเทคโนโลยีฐานและบูรณาการเครือข่ายวิจัย พร้อมด้วยดร.สัญชัย คูบูรณ์, ดร.ดร.รุ่งนภา แก้วมีศรี และ ดร.จตุพร ปานทอง นักวิจัยทีมวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยาร่วมนำเสนอผลงาน อ่านเพิ่มเติม 

นาโนเทค สวทช. เปลี่ยนของเหลือจากการเกษตร-รง.กระดาษ สู่ “สารชีวภัณฑ์ไฮบริดระดับนาโน” ป้องกัน-ยับยั้งเชื้อราก่อโรคในนาข้าว ทดแทนสารเคมี ตอบ BCG เพื่อความยั่งยืน

สารเคมีที่ตกค้างใน “ข้าว” นอกจากส่งผลต่อผู้บริโภคแล้ว ยังกระทบการส่งออกพืชเศรษฐกิจสำคัญของไทยอีกด้วย นักวิจัยนาโนเทค สวทช. ต่อยอดความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการปรับสภาพและการใช้ประโยชน์ชีวมวลสู่ “สารชีวภัณฑ์ไฮบริดระดับนาโน” จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรอย่างฟางข้าว หรือของเสียจากกระบวนการผลิตเยื่อและกระดาษ ที่มีจุดเด่นในการป้องกันและยับยั้งเชื้อราก่อโรคในนาข้าว พร้อมเสริมธาตุอาหารจำเป็น ทดสอบภาคสนามร่วมกับศูนย์วิจัยข้าว จ.ขอนแก่น ประสิทธิภาพเทียบเคียงสารเคมี หวังเป็นผลิตภัณฑ์ทางเลือก ตอบ BCG หนุนเกษตรไทยเติบโตแบบยั่งยืนในเวทีโลก          ดร. วรรณวิทู วรรณโมลี ทีมวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยา กลุ่มวิจัยการเร่งปฏิกิริยาและการคำนวณระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย ซึ่งเราผลิตและส่งออกเป็นอันดับต้นๆ ของโลก แต่ต้องเผชิญปัญหาจากสารเคมีตกค้างจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรที่เพิ่มขึ้นทุกปี นอกจากส่งผลต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังกระทบการส่งออก เนื่องจากมีการตีกลับข้าวที่มีปริมาณสารเคมีเกินกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดอีกด้วย “เราพบว่า เกษตรกรมีความจำเป็นต้องใช้สารเคมีเพื่อยับยั้งโรคในนาข้าว โดยโรคข้าวที่พบบ่อยในทุกส่วนของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่นาน้ำฝนและนาชลประทาน ได้แก่ โรคไหม้ข้าว ซึ่งโรคดังกล่าวมีสาเหตุหลักมาจากเชื้อรา ที่สามารถทำลายผลผลิตของข้าวได้ในทุกระยะของต้นข้าวและสร้างความเสียหายในนาข้าวมากกว่า 80% ของผลผลิตข้าวทั้งหมด ซึ่งมีความรุนแรงและลุกลามอย่างรวดเร็ว” ดร. วรรณวิทูกล่าว พร้อมชี้ว่า ทีมวิจัยนาโนเทคมองเห็นโอกาสในการพัฒนาสารชีวภัณฑ์ทางเลือกเพื่อแก้ปัญหาให้เกษตรกร ด้วยความเชี่ยวชาญของทีมวิจัยทางด้านการใช้ประโยชน์จากชีวมวล โดยเฉพาะลิกนิน ซึ่งเป็นสารธรรมชาติที่พบได้ในพืชทุกชนิด […]

นาโนเทค สวทช. เปลี่ยนวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็น “ถ่านชีวภาพ” ทดแทนถ่านหิน ลดต้นตอ PM2.5 ตอบ BCG เพื่อความยั่งยืน

วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่มีจำนวนมาก และยังหาทางใช้ประโยชน์ได้ไม่หมด กลายเป็นวัตถุดิบชั้นดีที่ นักวิจัยนาโนเทค สวทช. นำมาต่อยอดเป็น “ถ่านชีวภาพ (BioCoal)” เชื้อเพลิงชีวภาพ ทางเลือก-ทางรอดสำหรับโรงไฟฟ้าชีวมวลและอุตสาหกรรมที่ใช้ถ่านหิน ด้วยประสิทธิภาพเทียบเคียงถ่านหิน แต่หาได้ง่ายกว่า ที่สำคัญ ยังช่วยลดของเหลือใช้ทางการเกษตร ลดเลี่ยงการกำจัดทิ้งด้วยการเผาที่อาจก่อให้เกิดฝุ่น PM2.5 รวมถึงเป็นช่องทางสร้างงาน สร้างรายได้ ตอบโมเดลเศรษฐกิจ BCG เพื่อความยั่งยืนทางพลังงานของไทย ดร. สัญชัย คูบูรณ์ ทีมวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยา กลุ่มวิจัยการเร่งปฏิกิริยาและการคำนวณระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า โรงไฟฟ้าชีวมวลมักประสบปัญหาจากการใช้ชีวมวลเป็นเชื้อเพลิงโดยตรงในการผลิตกระแสไฟฟ้า เช่น ชีวมวลมีค่าความชื้นสูง ค่าความร้อนต่ำ ประสิทธิภาพการเผาไหม้ต่ำ เกิดการเสื่อมสภาพระหว่างการจัดเก็บจากการย่อยสลายของจุลินทรีย์ การเก็บรวบรวมและการขนส่งมีต้นทุนสูง ตลอดจนวัตถุดิบมีไม่เพียงพอตลอดทั้งปี เป็นต้น “เราต้องการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากชีวมวลที่มีในประเทศให้เกิดการใช้ประโยชน์สูงสุด รวมถึงอยากที่จะพัฒนาเชื้อเพลิงที่สามารถใช้ทดแทนถ่านหินที่กำลังจะถูกจำกัดการใช้งานในอนาคตอันใกล้ จึงมองว่า การพัฒนาถ่านชีวภาพ จะเข้ามาตอบความต้องการ ลดข้อจำกัดของผู้ใช้ชีวมวลในปัจจุบัน” ดร. สัญชัยชี้ “ถ่านชีวภาพ” หรือ “BioCoal” คือ เชื้อเพลิงแข็งชีวภาพ ที่มีสมบัติต่างๆ ใกล้เคียงกับถ่านหิน […]

นาโนเทค สวทช. จับมือสมาคมนาโนฯ – VISTEC เปิดงาน NanoThailand 2023

เปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่กับงานประชุมวิชาการด้านนาโนเทคโนโลยีระดับสากลอย่าง การประชุมวิชาการและนิทรรศการนานาชาติทางนาโนเทคโนโลยี ครั้งที่ 8 (NanoThailand 2023) ที่ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับสมาคมนาโนเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) จัดขึ้น ภายใต้กรอบแนวคิด “Nanotechnology for Sustainable World” โดยได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดการประชุม หวังสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านนาโนเทคโนโลยีระดับสากล ยกระดับงานวิจัยและนวัตกรรมนาโนตอบโจทย์โลกเพื่อความยั่งยืน ดร. ภาวดี อังค์วัฒนะ รองผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สวทช. กล่าวว่า การประชุมวิชาการและนิทรรศการนานาชาติทางนาโนเทคโนโลยี (NanoThailand) ในปี 2023 นี้นับเป็นครั้งที่ 8 โดยจัดขึ้นภายใต้กรอบแนวคิด “Nanotechnology for Sustainable World” ที่มีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมงานกว่า 350 คน โดยมีผู้ร่วมงานชาวต่างชาติ 100 คนจาก 20 ประเทศทั่วโลก […]

เส้นพลาสติกรักษ์โลก จากเปลือกหอยแมลงภู่-ขยะ PLA สำหรับการพิมพ์สามมิติ ย่อยสลาย 100%

นักวิจัยนาโนเทค สวทช. จับมือจุฬาฯ ต่อยอดไบโอแคลเซียมคาร์บอเนตจากเปลือกหอยแมลงภู่ ผสมขยะพลาสติกชีวภาพ (PLA) พัฒนา “Re-ECOFILA เส้นพลาสติกรักษ์โลกสำหรับเครื่องพิมพ์สามมิติ” ย่อยสลายได้ 100% คุณภาพเทียบเท่าของที่มีในท้องตลาดในราคาที่ถูกกว่า หวังทดแทนของนำเข้าราคาสูง สร้างโอกาสการเข้าถึงเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติของนักเรียน นักศึกษาและคนทั่วไป ตอบ BCG เศรษฐกิจหมุนเวียน-สีเขียว ช่วยคืนชีพขยะ PLA จัดการขยะเปลือกหอยแมลงภู่ในชุมชน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมอย่างยั่งยืน ดร. ชุติพันธ์ เลิศวชิรไพบูลย์ นักวิจัยจากทีมวิจัยการวินิจฉัยระดับนาโน กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า Re-ECOFILA มาจากงานวิจัย “เส้นพลาสติกสำหรับเครื่องพิมพ์สามมิติผลิตจากขยะเปลือกหอยแมลงภู่และขยะพลาสติกชีวภาพ” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง สวทช. โดยนาโนเทค และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศาสตราจารย์ ดร. สนอง เอกสิทธิ์ ที่มีแนวคิดการใช้ประโยชน์ไบโอแคลเซียมคาร์บอเนตจากเปลือกหอยแมลงภู่ที่ได้ทำงานวิจัยมาก่อนหน้านั้น จากความเป็นไปได้สำหรับเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ โดยจะไปแทนที่แคลเซียมคาร์บอเนตจากหินปูนที่ใช้ในกระบวนการผลิตพอลิเมอร์ ข้อมูลจากกลุ่มสถิติการประมง กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่า ประเทศไทยผลิตหอยแมลงภู่เฉลี่ยมากกว่า 50,000 ตันต่อปี โดยน้ำหนักมากกว่าครึ่งเป็นน้ำหนักของเปลือกหอย ทำให้เกิดขยะเปลือกหอยสะสมเป็นจำนวนมากตามพื้นที่ชุมชนที่ประกอบอาชีพเลี้ยงหอยและแกะเนื้อหอยขาย […]

รับสมัคร ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นองค์กรชั้นนำของประเทศในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ซึ่งเป็นพื้นฐานของการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ต้องการรับสมัคร ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ เพื่อเริ่มทำงานตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2567 มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ มีภารกิจในการดำเนินการวิจัย การสนับสนุนการวิจัย การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ซึ่งมีความสำคัญอย่างสูงต่อความสามารถในการผลิตและความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมหลักของประเทศ ในการนี้ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ จึงใคร่เชิญชวนผู้มีคุณสมบัติเหมาะสม สมัครเข้ารับการคัดเลือกเป็นผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 โดยมีรายละเอียดตามเอกสารดาวน์โหลด ประกาศ สวทช. เรื่องการรับสมัครบุคคลเพื่อคัดเลือกเป็น ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ใบสมัคร ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ [PDF] | [DOCX] (เปิดรับสมัคร จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566) แบบเสนอชื่อผู้ที่สมควรได้รับพิจารณาให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (เปิดรับเสนอชื่อ จนถึงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2566)   ติดต่อขอรายละเอียดประกาศรับสมัครและเอกสารเพิ่มเติมได้ที่ นางสาวโสภิดา เนตรวิจิตร […]

1 2 3 4 48