สมาคมสโมสรนักลงทุน จากBOI เข้าเยี่ยมชมแล็บNANOTEC

ดร. อิศรา สระมาลา นักวิจัยห้องปฏิบัติการระบบนำส่ง กำลังอธิบายความรู้ด้านนาโนเทคโนโลยี ผ่านผลงานวิจัยของห้องปฏิบัติการระบบนำส่ง และห้องปฏิบัติการอื่นๆ ให้แก่ สมาคมสโมสรนักลงทุน (IC) สังกัด บีโอไอ (BOI) รับฟังอย่างตั้งใจ รศ.ดร. อุบลทิพย์ นิมมานนิตย์ ผู้อำนวยการหน่วยพัฒนานาโนเทคโนโลยี กำลังอธิบาย ผลิตภัณฑ์ ทั้งเซรั่มน้ำมันรำข้าวนาโน และแป้งฝุ่น ศรีจันทร์ ผสมทานาคา ที่ห้องปฏิบัติการนาโนเวชสำอาง (มี ดร.อภิรดา สุคนธ์พันธุ์ รักษาการหัวหน้าห้องปฏิบัติการฯ ) ร่วมทำการวิจัยให้กับผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์ให้กับ สมาคมสโมสรนักลงทุนอย่างน่าสนใจ คุณสนัด วงศ์ทวีทอง ผู้อำนวยการฝ่ายขายและบริการคีย์แอคเคานต์ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย กล่าวต้อนรับ สมาคมสโมสรนักลงทุน และให้ความรู้ทั้งงานวิจัยและบริการของ สวทช.

เจ้าของผลงานแผ่นแปะรักษาสิว Q Acnes ผลงานวิจัยอันดับ 1 ที่น่าลงทุนที่สุด

“ไม่มีใครเก่งมาแต่เกิด” คือ บทสรุปสั้นๆ ที่ได้จากบทสัมภาษณ์ ดร.หนู –พิกุลทอง ขอเพิ่มทรัพย์ “ หลังจบปริญญาเอก สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ ม.ขอนแก่น ถามว่าเรามีความรู้เกี่ยวกับนาโนเทคโนโลยีเป็นพิเศษไหม ณ ตอนนั้น แทบจะบอกได้เลยว่าเป็นศูนย์ แต่ส่วนหนึ่งที่เราตอกย้ำกับตัวเองอยู่เสมอก็คือ มนุษย์เรามีศักยภาพที่จะเรียนรู้ ไม่ต้องกังวัล เพราะการศึกษาสอนให้เรารู้จักคิด รู้จักค้นหา เพราะฉะนั้นก็ไม่น่าจะเป็นการลำบากถ้าเราจะมาเริ่มต้นเรียนรู้นาโนเทคโนโลยีจากศูนย์และเอาไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรามีอยู่ ” ติดตามเส้นทางชีวิตและความสำเร็จ ของ: ดร.พิกุลทอง ขอเพิ่มทรัพย์ นักวิจัยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ เจ้าของผลงาน แผ่นแปะรักษาสิว Q Acnes ที่คว้างรางวัลผลงานวิจัยอันดับ 1 ที่น่าลงทุนที่สุด และรางวัลผลงานที่นำเสนอได้ดีที่สุด ในงาน NSTDA Investors’ Day 2012 (ชมย้อนหลัง) ทางช่อง NSTDA Channel http://nstdachannel.tv/20130201-special-interviews/

NANOTEC: “Getting our acts together”

เป้าหมายของเราใน 5 ปีถัดไปคือการเพิ่มผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากผลการวิจัย “ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ กล่าวในช่วงสองวัน ที่ศูนย์ฯ จัดประชุมสัมมนาเมื่อ 3-4 กุมภาพันธ์ 55  “เราต้องทำงานอย่างหนักเพื่อคิดค้น และหางานวิจัยที่จะสามารถประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ และคาดว่าสิ่งที่จะได้รับคือเงินทุนจากอุตสาหกรรมอย่างน้อย 20% ของค่าใช้จ่ายในงานวิจัยต่อปี ดังนัน้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้เราต้องมุ่งเน้นไปที่ R & D เพื่อสร้า่งผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมที่จะเป็นประโยชน์ของประเทศโดยรวม” หลังจากการเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ทำให้แผนการจัดประชุมสัมมนานี้ถูกเลื่อน โดยวัตถุประสงค์ของการจัดงานคือการหารือและทำความเข้าใจแผนการดำงาน 5 ปีและความสัมพันธ์ของตนกับ Basic Score Card (BSC) และKey Performance Indicator (KPI) ผู้จัดงานยังใช้โอกาสนี้เพื่อแจ้งให้ผู้เข้าร่วมในกิจกรรมการสร้างทีมงานที่มุ่งเน้นการทำงานเป็นทีม, ความสามัคคี, ความไว้วางใจและการสื่อสาร

ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติได้ลงนามความร่วมมือกับ Flinders University ในออสเตรเลีย

ศูนย์นาโนเทคโนโยลีแห่งชาติได้ลงนามในสัญญาความร่วมมือทางการวิจัยกับมหาวิทยาลัย Flinders ประเทศออสเตเรีย โดยมุ่งเน้นการพัฒนาระบบนำส่งยาเพื่อให้ไปถึงยังเป้าหมาย, การตรวจจับแบคทีเรีย, วัสด6ต่อเชื่อมอินทีย์และบริการทดสอบ ทั้งนี้จะทำการแลกเปลี่ยนนักวิจัยเพื่อร่วมกันพัฒนราตัวงานวิจัยให้ก้าวหน้าต่อไป “ข้อตกลงนี้เป็นก้าวย่างไปสู่ความร่วมมือต่อไประหว่างไทยและออสเตรเลียในช่วงของกิจกรรมการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับนาโนเทคโนโลยี การทำงานร่วมกันเราจะสามารถมีความเข้าใจโดยรวมของเราจากระบบนำส่งยาไปยังเป้าหมาย, การตรวจสอบแบคทีเรีย, วัสดุเชื่อมต่ออินทรีย์และบริการทดสอบ “ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ “เรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะได้ร่วมกันพัฒนางานวิจัยกับศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ” Prof. Dean Forbes, Deputy Vice-Chancellor (International and Communities), Flinders University กล่าวว่า “การแลกเปลี่ยนนักวิจัยที่อยู่ระหว่างสองสถาบันของเราจะช่วยในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นกลยุทธ์เพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรมและการค้นพบใหม่ “

ประกาศรับข้อเสนอโครงการจัดตั้งศูนย์ร่วมวิจัยเครือข่ายพันธมิตรความเป็นเลิศด้าน
นาโนเทคโนโลยี ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๕

ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (ศน.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ดำเนินงานตาม (ร่าง) กรอบนโยบายการพัฒนานาโนเทคโนโลยีของประเทศไทย ๒๕๕๕ – ๒๕๖๔ แผนแม่บทศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙ โดยมีพันธกิจดำเนินงานวิจัยและพัฒนา ออกแบบและวิศวกรรม การประยุกต์นาโนเทคโนโลยีให้เกิดความเป็นเลิศ และสามารถถ่ายทอดสู่ภาคการผลิตที่เป็นรากฐานสำคัญของของประเทศไทยในการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์และส่งผลต่อการเพิ่มศักยภาพทางด้านการแข่งขันของประเทศ  ภายใต้ความตระหนักในการรักษาและดูแลใส่ใจต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ภารกิจที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการพัฒนากลุ่มวิจัยที่มีศักยภาพ สามารถดำเนินการวิจัยที่ตอบสนองต่อความต้องการของประเทศ  ศน.ในฐานะหน่วยงานหลักหนึ่งในการพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยีของประเทศ ตระหนักในความสำคัญของการพัฒนากลุ่มวิจัยที่มีศักยภาพสูงและสามารถดำเนินการวิจัยได้ตรงตามความต้องการของประเทศ อีกทั้งความสำคัญของการสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตร จึงได้มีการจัดทำโครงการศูนย์ร่วมวิจัยเครือข่ายพันธมิตรความเป็นเลิศด้านนาโนเทคโนโลยีร่วมกับสถาบันการศึกษาซึ่งมีศักยภาพการวิจัยและการผลิตบุคลากร รวมทั้งมีงานวิจัยที่มุ่งเน้นตอบสนองความต้องการของประเทศ กำหนดการและขั้นตอนการดำเนินการ ๑. ผู้สนใจส่งข้อเสนอโครงการฉบับสมบูรณ์มายัง ศน.                                   :    ๑ มี.ค.–๓๐ เม.ย. ๒๕๕๕ ๒. ศน. แจ้งผลพิจารณาข้อเสนอโครงการ                                 […]

ขอเชิญร่วมอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง NANO COSMETICS : From Nanoparticles to Formulations

วันที่อบรบ : วันพฤหัสบดีที่ 26 – วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม 2554 (รวม 2 วัน) สถานที่อบรม : ห้องปฏิบัติการอาคารนวัตกรรม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปิดรับการลงทะบียน!! รายละเอียดคลิกที่นี่ : http://www2.mtec.or.th/eventnstda/Template/index.aspx?EventID=S11034&ContentID=713

1 45 46 47 48