จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การใช้ชุดตรวจไมโครอัลบูมินเพื่อคัดกรองโรคไตเรื้อรังและภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน”

นาโนเทคเตรียมความพร้อมบุคลากรและทีมวิจัย สู่การใช้งานเทคโนโลยีชุดตรวจในพื้นที่ภาคสนาม เพื่อสร้างผลกระทบเชิงสุขภาพในวงกว้าง ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การใช้ชุดตรวจไมโครอัลบูมินเพื่อคัดกรองโรคไตเรื้อรังและภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน” เพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้แก่บุคลากรและทีมวิจัย เตรียมความพร้อมสู่การนำเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้จริงในพื้นที่ภาคสนาม การอบรมครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักการทำงานของชุดตรวจ แนวทางการใช้งาน การแปลผลเบื้องต้น ตลอดจนให้บุคลากรสามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่เป้าหมายได้อย่างถูกต้อง เพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจคัดกรองได้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ นับเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของการต่อยอดงานวิจัยสู่การใช้งานจริงในระดับพื้นที่ และสร้างผลกระทบเชิงสุขภาพในวงกว้าง กิจกรรมอบรมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.ศิวพร มีจู สมิธ รักษาการรองผู้อำนวยการนาโนเทค สวทช. กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมอบรม พร้อมทั้งได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ นายแพทย์อดิศว์ ทัศณรงค์ วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ดร.เดือนเพ็ญ จาปรุง นักวิจัยอาวุโสจากนาโนเทค สวทช. ที่มาร่วมแบ่งปันองค์ความรู้และประสบการณ์ในการพัฒนาเทคโนโลยีชุดตรวจให้แก่ผู้เข้าอบรม ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวถือเป็นขั้นตอนสำคัญในการเตรียมความพร้อมก่อนการลงพื้นที่ ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือนมิถุนายน 2568 ณ จังหวัดขอนแก่น โดยมุ่งหวังให้ประชาชนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีการตรวจคัดกรองจากงานวิจัยที่พัฒนาขึ้นโดยทีมนักวิจัยไทย อันจะนำไปสู่การเสริมสร้างคุณภาพชีวิตและลดภาระของระบบสาธารณสุขของประเทศในระยะยาว

นาโนเทค สวทช. จับมือ สอวช. เดินหน้าจัดประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนที่นำทางการวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยีของประเทศไทย พ.ศ. 2571–2575

ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สวทช. ร่วมกับ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนที่นำทางการวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยีของประเทศไทย พ.ศ. 2571–2575 (Nanotechnology TRM Roadmap Workshop)” ครั้งที่ 1 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันกำหนดทิศทางการวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยีที่ตอบสนองต่อความต้องการของประเทศ ณ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2568 ภายในงานได้รับเกียรติจากผู้แทนจากภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศ เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างคับคั่ง โดยมี ดร.สุรชัย สถิตคุณารัตน์ ผู้อำนวยการ สอวช. และ ดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย ผู้อำนวยการ นาโนเทค สวทช. ในฐานะประธานคณะทำงานจัดทำแผนที่นำทางฯ กล่าวต้อนรับและชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดทำแผนที่นำทางฉบับดังกล่าว แผนที่นำทางการวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยีของประเทศไทยฉบับใหม่นี้ ถือเป็นแผนฉบับที่ 4 ต่อเนื่องจากแผนฉบับก่อนหน้าที่สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2564 โดยมีเป้าหมายเพื่อกำหนดแนวทางการวิจัยและพัฒนาให้สอดคล้องกับทิศทางนโยบายของประเทศ แนวโน้มเทคโนโลยีโลก และความต้องการในภาคอุตสาหกรรม สำหรับการกำหนดประเด็นมุ่งเน้นภายใต้แผน TRM […]

นาโนเทค เปิดรับสมัครผู้ประกอบการต่อยอดนวัตกรรมสมุนไพรสู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง

โครงการสร้างคุณค่าผลิตภัณฑ์สมุนไพรสู่ตลาดใหม่มูลค่าสูง โครงการสร้างคุณค่าผลิตภัณฑ์สมุนไพรสู่ตลาดใหม่มูลค่าสูง โดย นาโนเทค สวทช. ค้นหาผู้ประกอบการที่สนใจ ร่วมพัฒนาผลงานวิจัยสารสกัดสมุนไพรมูลค่าสูง เพื่อขยายผลการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ โดยผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับต้นแบบสารสกัดสมุนไพรเพื่อนำไปทดสอบตลาดและวิเคราะห์ช่องว่างของอุตสาหกรรมทั้งในและต่างประเทศ และได้รับสิทธิพิเศษในการยกเว้นค่าธรรมเนียมสำหรับสิทธิบัตรในการผลิตต้นแบบ และสิทธิประโยชน์อื่นๆ โครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าจากพืชสมุนไพรภายในประเทศ ทำให้เกิดการผลักดันและขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์สมุนไพรทั้งสารสกัดและอนุภาค เพื่อสร้าง ECO System สารสกัดสมุนไพรมูลค่าสูงที่สามารถผลิตขายและได้มาตรฐานได้ในประเทศ สามารถสร้างงาน สร้างผลกระทบและก่อให้เกิดการหมุนเวียนในประเทศ ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีคุณภาพสูงได้ตามมาตรฐานสากล และตอบโจทย์ความต้องการของตลาดศักยภาพ เช่น ตลาดผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ (Wellness Market) ตลาดเครื่องสำอางธรรมชาติ (Natural Cosmetics) และตลาดยาแผนโบราณมาตรฐานสูง (Traditional Medicine) กลุ่มเป้าหมาย ผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตร เครื่องสำอาง เวชสำอาง ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพและสารสกัดสมุนไพร   การรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ นาโนเทค สวทช. เปิดรับสมัครผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมโครงการตั้งแต่วันนี้ – 30 เมษายน 2568 ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ Link ด้านล่าง โดยท่านจะต้องเลือกผลงานนวัตกรรมที่สนใจจำนวน 1 ผลงาน [สามารถคลิกที่ชื่อผลงานเพื่ออ่านรายละเอียด] ผลิตภัณฑ์จากสารสกัดทองพันชั่งและซาโปนิน สำหรับต้านเชื้อราที่ผิวหนังของสัตว์เลี้ยง ผลิตภัณฑ์จากสารสกัดโปรตีนจากรกสุกร […]

นาโนเทค สวทช. ต้อนรับบริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมหารือแนวทางความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากสารสกัดสมุนไพรไทย

นาโนเทค สวทช. ต้อนรับบริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมหารือแนวทางความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากสารสกัดสมุนไพรไทย วันที่ 11 เมษายน 2568 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย – ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) นำโดย ดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย ผู้อำนวยการนาโนเทค พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและนักวิจัย ให้การต้อนรับผู้แทนจากบริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมศักยภาพของศูนย์ฯและหารือแนวทางความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาโดยอาศัยองค์ความรู้ด้านนาโนเทคโนโลยี นาโนเทคได้นำเสนอความเชี่ยวชาญและขีดความสามารถด้านการวิจัยที่ครอบคลุมหลายมิติ อาทิ เทคโนโลยีการห่อหุ้มระดับนาโนและระบบนำส่งทางชีวภาพ รวมถึงแพลตฟอร์มการวิเคราะห์ทดสอบความปลอดภัยและประสิทธิภาพของสารสกัดสมุนไพรไทยและอนุภาคนาโนกักเก็บสารสำคัญ ซึ่งเป็นหนึ่งในจุดแข็งของทีมวิจัยนาโนเทคที่พร้อมสนับสนุนภาคเอกชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและปลอดภัย นอกจากนี้ คณะจากลอรีอัลฯ ยังได้เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการวิจัยของนาโนเทค ได้แก่ ห้องปฏิบัติการทีมวิจัยความปลอดภัยระดับนาโนและฤทธิ์ทางชีวภาพ ห้องปฏิบัติการ in vivo Nanotoxicology Analysis ตลอดจนโรงงานต้นแบบผลิตอนุภาคนาโนและเครื่องสำอาง ที่สามารถรองรับการพัฒนาสูตรตำรับและกระบวนการผลิตในระดับกึ่งอุตสาหกรรม การเยี่ยมชมในครั้งนี้นับเป็นก้าวสำคัญในการสร้างความร่วมมือระหว่างภาควิจัยและภาคอุตสาหกรรม โดยมีแนวโน้มที่จะพัฒนาความร่วมมือด้านวิจัยและพัฒนาในอนาคต โดยเฉพาะด้านการพัฒนาสูตรตำรับจากสารสกัดจากสมุนไพรไทย ต่อยอดศักยภาพและจุดแข็งของพืชสมุนไพรภายในประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง เป็นมิตรกับผู้บริโภค และตอบโจทย์ตลาดความงามในระดับสากล

ผลงาน 8 ทีมสุดท้าย “นวัตกรรมเยาวชนลดเปลี่ยนโลก” ปีที่ 2

นวัตกรรมกังหันลมดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์เสริมประสิทธิภาพด้วยเส้นใยไมซีเลียม โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ข้อมูลโครงการ ต้นไม้ประดิษฐ์สำหรับการดักจับคาร์บอน วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ข้อมูลโครงการ การลดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากการใช้เครื่องปรับอากาศส่งผลต่อการลดค่าไฟฟ้า โรงเรียนสงวนหญิง จังหวัดสุพรรณบุรี ข้อมูลโครงการ Oxbit โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ข้อมูลโครงการ บรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพต้านทานจุลชีพ จากเส้นใยไมซีเลียมของเห็ดนางรม เสริมด้วยอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์จากเปลือกเงาะ โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ กรุงเทพมหานคร ข้อมูลโครงการ การศึกษาประสิทธิภาพแผ่นฟิล์มชีวภาพจากฟางข้าวที่ผสมสารสกัดแทนนินจากเปลือกมังคุดเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคแอนแทรคโนสในมะม่วง โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ข้อมูลโครงการ เครื่องบำบัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และลดฝุ่นในอากาศจากสาหร่ายไก โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก ข้อมูลโครงการ นวัตกรรมอิฐบล็อกจากถ่านไบโอชาร์ 3 ชนิดร่วมกับนาโนเทคโนโลยีในการดูดซับคาร์บอนเพื่อลดคาร์บอนและก๊าซพิษอย่างยั่งยืน โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่ ข้อมูลโครงการ

ประกาศผลการประกวดนวัตกรรมเยาวชนลดเปลี่ยนโลกปีที่ 2

วันที่ 9 เมษายน 2568 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) ร่วมกับบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด และสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI)  จัดพิธีมอบรางวัลถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และรางวัลเกียรติคุณ โครงการลดเปลี่ยนโลก ปีที่ 2 ให้แก่ผู้ชนะในโครงการชุมชนลดเปลี่ยนโลก และ นวัตกรรมเยาวชนลดเปลี่ยนโลก โครงการนวัตกรรมเยาวชนลดเปลี่ยนโลก ปีที่ 2 เป็นโครงการย่อยภายใต้โครงการลดเปลี่ยนโลกกับโตโยต้า ดำเนินงานหลักโดย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมและสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนได้มีโอกาสคิดค้น สร้างสรรค์ พัฒนาต่อยอดผลงาน จากการออกแบบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมด้วยองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มุ่งแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชนอย่างยั่งยืน นำมาพัฒนาเป็นต้นแบบเพื่อปรับใช้ในการจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม   โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (สายสามัญ) และนักศึกษาระดับอาชีวศึกษา  (สายอาชีวศึกษา)   ผลการประกวดนวัตกรรมเยาวชนลดเปลี่ยนโลกปีที่ 2   รางวัลชนะเลิศ โรงเรียนวิทยาศาสตรตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช โครงการนวัตกรรมกังหันลมดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์เสริมประสิทธิภาพด้วยเส้นใยไมซีเลียม เงินรางวัล 50,000 บาท […]

1 2 56