รายการฉลาดล้ำกับงานวิจัยไทย ตอน พลาสติกนาโน

ขอเชิญติดตามชมรายการฉลาดล้ำกับงานวิจัยไทย ตอน สารเคลือบนาโนป้องกันรอบบนแผ่นพลาสติก  วันพฤหัสบดีที่ 30 ธันวาคม พ.ศ.2553 เวลา 20.30 น. ทาง ช่อง 9 อ.ส.ม.ท. ดูรายละเอียด : สารเคลือบนาโนป้องกันรอยบนพลาสติก

ขอเชิญชมรายการ ๑ ในพระราชดำริ

  ขอเชิญชมรายการ ๑ ในพระราชดำริ วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ.2553 เวลา 20.20-20.40 น. ทางสถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 อสมท. พบกับสัมภาษณ์พิเศษ ศ.นพ.สิริฤกษ์  ทรงศิวิไล ผู้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล แผนกแพทยศาสตร์ ปี 2530 กับบทบาทของผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ  ในการพัฒนาและส่งเสริมงานวิจัยด้านนาโนเทคโนโลยีของประเทศไทย

ขอเชิญชมรายการ ก้าวทันโลกกับ มสธ.

 ขอเชิญชมรายการ ก้าวทันโลกกับ มสธ. วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ.2553 เวลา 05.00-05.20 น. ตอน ทิศทางของนาโนเทคโนโลยี  โดย ดร.ศิรศักดิ์ เทพาคำ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยีและพัฒนาธุรกิจ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ พบกับเรื่องราวความเป็นมาและความหมายของนาโนเทคโนโลยี และคุณสมบัติพิเศษที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ สินค้าในอุตสาหกรรมต่างๆได้ในรายการ.

“มุ้งนาโน” ฆ่ายุง

“นาโนเทค” พัฒนามุ้งผสมสารสกัดเลียนแบบ “เก๊กฮวย-ดาวเรือง” ฆ่ายุงตายจากเส้นใยภายใน 6 นาที ทำได้ทั้งแบบเคลือบและผสมลงในเส้นใย ระบุไม่เป็นอันตรายต่อคน เพราะมีตัวรับสารต่างกันจากแมลงและเป็นสารที่ได้รับการรับรองจากองค์การ อนามัยโลก ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) พร้อม ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมเปิดตัว “มุ้งนาโนฆ่า่ยุง” ที่ผสมสาร “เดลตาเมธริน” (Deltamethrin) สารสังเคราะห์เลียนแบบสารในกลุ่ม “ไพเรธรอยด์” (Pyretroid) สารสกัดธรรมชาติจากดอกดาวเรืองและเก๊กฮวย ซึ่งเป็นสารที่ได้รับการแนะนำให้ใช้จากองค์การอนามัยโลก (WHO) เมื่อตัวรับ (Receptor) ที่ปลายขาของยุง ได้รับสารดังกล่าวจากการชนหรือสัมผัสกับมุ้งที่ผสมสารดังกล่าว จะทำให้ยุงบินช้าลงและตายในที่สุด ทั้งนี้ ยุงแต่ละชนิดมีความไวต่อสารสังเคราะห์ชนิดนี้ได้ต่างกัน โดยยุงรำคาญและยุงก้นปล่องจะไวต่อสารชนิดนี้มากที่สุด โดยจะตายภายใน 6 นาทีหลังจากได้รับสาร แต่คนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมไม่มีตัวรับสารดังกล่าวจึงไม่ได้รับอันตราย เช่นเดียวกับยุง ในกระบวนการผลิตนั้นแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ เคลือบสารเดลตาเมธรินลงบนเส้นใยสำหรับมุ้งที่ผลิตขึ้นจากเส้นใยธรรมชาติหรือ เส้นใยฝ้าย และผสมสารชนิดนี้ลงในเม็ดพลาสติกเพื่อขึ้นรูปเป็นเส้นใย ซึ่งในวิธีการหลังนั้นทำให้เก็บสารที่ผลต่อการฆ่ายุงได้นานกว่าการนำมุ้งไป ชุบ 5 เท่า ด้าน ดร.ศิระศักดิ์ […]

1 44 45