ผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวหน้าและเจลล้างหน้าที่มีส่วนประกอบของอนุภาคนาโนสารสกัดมะขามป้อม

ผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวหน้าและเจลล้างหน้าที่มีส่วนประกอบของอนุภาคนาโนสารสกัดมะขามป้อม วิจัยและพัฒนาโดย  ดร.สกาว ประทีปจินดา และคณะทีมวิจัย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ที่มา และความสำคัญที่นำมาสู่การพัฒนาเทคโนโลยีนี้           การเกิดสีผิวตามธรรมชาติ เกิดจากเมลานิน ฮีโมโกลบิน และแคโรทีนอยด์ โดยกลไกการสร้างเมลานินนั้น เริ่มจากเอนไซม์ไทโรซิเนสเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในการเปลี่ยนกรดอะมิโนไทโรซีน ซึ่งทำให้เกิดสีผิวสีน้ำตาลหรือน้ำตาลค่อนข้างดำ และผิวสีเหลืองหรือสีขาว ตามลำดับ ดังนั้น ในงานวิจัยนี้จึงนำสารสกัดมะขามป้อมที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส มาเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ทำให้ผิวแลดูขาว กระจ่างใสขึ้น           สารสกัดมะขามป้อมที่ใช้พัฒนาสูตรตำรับนี้ มาจากส่วนผลของมะขามป้อม ซึ่งประกอบด้วยสารสำคัญหลัก คือ วิตามินซี (Ascorbic acid), กรดแกลลิก (Gallic acid), กรดเอลลาจิก (Ellagic acid) และอิพิแคทีชินแกลเลท (Epicatechin gallate) ที่มีฤทธิ์ในการกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน (Collagen enhancement) ต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) และมีประสิทธิภาพสูงในการยับยั้งการสร้างเมลานินด้วยการยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส […]

กรองน้ำกร่อย/เค็มด้วย “อัลตราฟิลเตรชันเมมเบรนเส้นใยท่อกลวง”

ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติหรือนาโนเทค สวทช. เป็นองค์กรวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยีชั้นนำ ที่มุ่งสร้างคุณประโยชน์ให้กับประเทศและ มนุษยชาติผ่านงานวิจัย พัฒนา ออกแบบและวิศวกรรม และประยุกต์นาโนเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดความเป็นเลิศและสามารถถ่ายทอดสู่การใช้ประโยชน์ให้กับภาคการผลิต เพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน หนึ่งในนั้นคือ เรื่องน้ำ ที่นาโนเทคพัฒนาเทคโนโลยีด้านการกรอง/บำบัด เพื่อให้ได้น้ำที่มีคุณภาพเหมาะสม เช่นน้ำดีสำหรับอุปโภคบริโภค หรือน้ำทิ้งตามมาตรฐาน สำหรับปล่อยทิ้งแหล่งน้ำธรรมชาติ รวมทั้งการรี-ไซเคิล นำน้ำกลับมาใช้ซ้ำ โดยมุ่งเน้นเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green technology) รวมทั้งเสนอแนวทางแก้ปัญหา (Solution provider) ที่เหมาะสม รวมไปถึงการสร้างพันธมิตรเพื่อบูรณาการร่วมมือในการแก้ปัญหาด้านน้ำเพื่อตอบโจทย์ที่ท้าทายของประเทศ จุดเด่นด้านเทคโนโลยีนาโนที่ตอบโจทย์เรื่องน้ำ คือ ขนาด ซึ่งขนาดเล็กในระดับนาโนเมตร ทำให้มีพื้นที่ผิวต่อปริมาตรสูงขึ้น ดังนั้นจึงมีพื้นที่สำหรับดักจับหรือย่อยสลายสารปนเปื้อน (มลสาร) ได้มากขึ้น รวมถึงสมบัติทางพื้นผิว สามารถปรับปรุงพื้นผิวของวัสดุกรองให้มีสมบัติพิเศษ เช่น กรองและยับยั้งเชื้อ หรือพัฒนาชั้นฟิลม์บางบนไส้กรองเพื่อเลือกดักจับเกลือ งานวิจัย “ไส้กรองอัลตราฟิลเตรชันที่มีชั้นฟิลม์บางพิเศษ (Thin-film nanocomposite ultrafiltration membrane)” โดยดร.วรายุทธ สะโจมแสง นักวิจัยจากทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม กลุ่มวิจัยวัสดุผสมและการเคลือบนาโน นาโนเทค เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยแก้ปัญหาน้ำกร่อย โดยเพิ่มคุณสมบัติให้กับไส้กรองอัลตราฟิลเตรชันด้วยการเคลือบฟิล์มบาง ให้สามารถกรองสิ่งที่มีขนาดเล็ก เช่น […]

นาโนเทคพัฒนาชุดตรวจ Dextran ปนเปื้อนในกระบวนการผลิตน้ำตาล

นักวิจัยนาโนเทค พัฒนาชุดตรวจวิเคราะห์ “เดกซ์แทรน (dextran)” ปนเปื้อนในกระบวนการผลิตน้ำตาล ลดการสูญเสียน้ำตาลในกระบวนการผลิต ส่งต่อเอกชนใช้ควบคุมคุณภาพการผลิตของโรงงานผลิตน้ำตาล สร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจกว่า 112.5 ล้านบาท           ดร.สาธิตา ตปนียากร ห้องปฏิบัติการทีมวิจัยการวินิจฉัยระดับนาโน กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า การปนเปื้อนจากโมเลกุลเดกซ์แทรน เป็นปัญหาสำคัญในอุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล เนื่องจากทำให้เกิดการสูญเสียปริมาณผลผลิตน้ำตาลทรายของโรงงาน ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงผลกำไรและรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยตลอดจนเศรษฐกิจของประเทศ           เดกซ์แทรนเป็นสารชีวโมเลกุลที่เป็นพอลิเมอร์ของกลูโคส อัตราส่วนของการสูญเสียจากการเกิดโมเลกุลเดกซ์แทรนในกระบวนการผลิตน้ำตาล พบว่า ถ้ามีการปนเปื้อนของเดกซ์แทรน 1000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำอ้อย จะสูญเสียน้ำตาล 1.123 กิโลกรัมต่อตันอ้อย โดยปริมาณเดกซ์แทรนที่ปนเปื้อนจะสัมพันธ์กับปริมาณน้ำตาลที่สูญเสียไปในลักษณะสมการเชิงเส้น จากข้อมูลการผลิตน้ำตาลในฤดูการผลิตปี 2560/61 พบว่ามีปริมาณอ้อยที่เข้าหีบทั้งหมด 125.81 ล้านตัน โดยเฉลี่ยอ้อย 1 ตัน สามารถผลิตน้ำตาลทรายได้ประมาณ 105.33 กิโลกรัม ดังนั้นหากโรงงานสามารถผลิตน้ำตาลทรายเพิ่มขึ้นเพียง 1 กิโลกรัมจากอ้อย 1 ตัน ก็จะสามารถเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำตาลทรายได้ถึง 125.81 ล้านกิโลกรัม คิดเป็นมูลค่ามากกว่า […]

E-Nose & E-Sensory นาโนเซ็นเซอร์ จับกลิ่น สี รส

จมูกใครที่ว่าแน่ ยังไม่อาจดมกลิ่นและวิเคราะห์ข้อมูลออกมาได้แม่นยำเหมือน “เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ (E-Nose)” นวัตกรรมที่นักวิจัยนาโนเทคพัฒนาขึ้นเลียนแบบจมูกมนุษย์ โดยพัฒนา “นาโนเซ็นเซอร์” ที่สามารถตรวจจับกลิ่น สี รส และถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ผู้ใช้จริง ในอุตสาหกรรมถุงมือยางธรรมชาติ ธุรกิจเบเกอรี่ รวมถึงการควบคุมคุณภาพอากาศในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ สร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจมากกว่า 7 พันล้านบาท   ดร.รุ่งโรจน์ เมาลานนท์ ห้องปฏิบัติการทีมวิจัยวิศวกรรมกระบวนการและระบบตรวจติดตาม กลุ่มวิจัยการวิเคราะห์ระดับนาโนขั้นสูงและความปลอดภัย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า E-Nose หรือ เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาขึ้นมาจากการเลียนแบบจมูกมนุษย์ โดยประยุกต์ใช้ระบบประมวลผล Principal Component Analysis หรือ PCA ซึ่งเป็นโปรแกรมที่สามารถนำมาใช้สร้างเงื่อนไขหรือขอบเขตในการวิเคราะห์กลิ่นเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบกลิ่นที่กำลังตรวจสอบกับกลิ่นเดิมที่ได้เคยบันทึกไว้ ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์นี้ การนำพากลิ่นจะเป็นไปตามลักษณะจำเพาะของกลิ่นเอง ผลการวัดจึงใกล้เคียงสภาพความเป็นจริงที่จมูกมนุษย์ได้รับ ทั้งยังช่วยลดความซับซ้อนในการควบคุมการนำพากลิ่นจากระบบปั๊ม อีกทั้งยังง่ายและสะดวกกับผู้ใช้งานเครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ในการแปรผลการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งจะมีข้อแตกต่างเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้งานเครื่อง Gas Chromatography (GC) ที่ใช้หลักการวิเคราะห์ผลในเชิงปริมาณที่มีความแม่นยำแต่ต้องอาศัยบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในการแปรผล และใช้เวลาในการทดสอบที่นานกว่ามาก ซึ่งเครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์จะใช้หลักการวิเคราะห์ในเชิงคุณภาพที่ดูแพทเทิร์นของแต่ละกลิ่นจดจำไว้เพื่อทำการเปรียบเทียบความเหมือนกันหรือต่างกันของกลิ่น ที่คล้ายกับการจดจำกลิ่นของมนุษย์ที่ไม่จำเป็นต้องรู้ว่าในกลิ่นนั้นประกอบด้วยองค์ประกอบของสารชนิดใด จมูกอิเล็กทรอนิกส์มีส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ […]

นาโนเทคพัฒนา “โบรอนอินทรีย์” เภสัชรังสีตรวจวินิจฉัยมะเร็ง

นักวิจัยนาโนเทค สวทช. พัฒนาสารตั้งต้นเภสัชรังสีจากสารประกอบโบรอนอินทรีย์ สำหรับใช้จับสัญญาณมะเร็งด้วยเครื่องเพทสแกน ชูจุดเด่นที่กระบวนการเตรียมสารใช้สภาวะที่ไม่รุนแรง ทำให้จำเพาะกับเซลล์มะเร็งในระยะเริ่มต้นได้ และมีความคงตัว ก่อนต่อยอดงานวิจัยโดยเพิ่มสารเรืองแสง หวังเป็นไกด์นำทางแพทย์ผ่าตัดรักษามะเร็งได้แม่นยำยิ่งขึ้น หวังปูทางเภสัชรังสีพันธุ์ไทย ลดการนำเข้าจากต่างประเทศ               “ปกติแล้ว สารเภสัชรังสีที่ใช้เพื่อการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคในทางการแพทย์ของประเทศไทยนั้น จะต้องนำเข้าวัตถุดิบที่เป็นสารตั้งต้นจากต่างประเทศ ก่อนจะผ่านเครื่องไซโคลตรอนเพื่อผลิตเภสัชรังสี ซึ่งสารเภสัชรังสีต้องเติมฟลูออรีน-18 ซึ่งเป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในเทคนิคโพซิตรอนอีมิสชันโทโมกราฟี (Positron Emission Tomography; PET) หรือเรียกสั้นๆว่าเทคนิคเพท สำหรับเครื่องเพทสแกน” ดร. กันตพัฒน์ จันทร์แสนภักดิ์ ทีมวิจัยวัสดุตอบสนองระดับนาโน กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าว           เทคนิคโพซิตรอนอีมิสชันโทโมกราฟี หรือ เพทสแกน เป็นเทคนิคที่มีความสำคัญมากในการวินิจฉัยทางการแพทย์ เช่น การวินิจฉัยโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน หรือ โรคความจำเสื่อม เป็นต้น โดยเทคนิคดังกล่าวต้องอาศัยการฉีดสารเภสัชรังสีที่เตรียมได้จากธาตุไอโซโทปรังสี ได้แก่ ฟลูออรีน-18 ให้กับผู้ป่วย เพื่อติดตามโรค แต่ปัญหาหนึ่งของการเตรียมสารเภสัชรังสีในปัจจุบัน คือ การใช้สภาวะการเตรียมที่รุนแรง […]

นาโนเทคพัฒนาเทคนิคเคลือบฟิล์มบาง เพิ่มประสิทธิภาพเซลล์แสงอาทิตย์

นักวิจัยนาโนเทค สวทช. พัฒนาเทคนิคการเคลือบแบบสารละลายรูปวงเดือนสำหรับการเคลือบฟิล์มบางสารกึ่งตัวนำไฟฟ้าแบบสารละลาย ช่วยจัดเรียงอนุภาคระดับไมโครเมตรถึงนาโนเมตรของพอลิเมอร์และควอนตัมดอตให้เก็บพลังงานจากแสงได้ที่ความยาวคลื่นกว้างขึ้น ปูทางพัฒนาเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดเพอรอฟสไกต์ที่ประสิทธิภาพ-เสถียรภาพสูงขึ้นเทียบเคียงชนิดซิลิคอน แต่ต้นทุนถูกกว่า หวังสร้างนวัตกรรมไทยใช้เอง ไม่ง้อของนอก          กระแสพลังงานหมุนเวียนที่จะเป็นพระเอกในยุคที่ทั่วโลกต้องช่วยกันลดใช้พลังงาน และพัฒนาพลังงานทางเลือกให้ตอบความต้องการ แสงแดดเป็น 1 ในตัวเลือก ที่นำสู่การวิจัยและพัฒนา “เซลล์แสงอาทิตย์” ตัวช่วยเก็บและแปลงแสงแดดเป็นพลังงาน           ดร. อนุศิษย์ แก้วประจักร์ ทีมวิจัยนวัตกรรมเคลือบนาโน กลุ่มวิจัยวัสดุผสมและการเคลือบนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) กล่าวว่า เซลล์แสงอาทิตย์มีอยู่ 3 รุ่น รุ่นแรก เป็นเซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจากผลึกซิลิคอน ที่เดิมมีต้นทุนสูงมาก ด้วยต้องใช้ซิลิคอนความบริสุทธิ์สูง อุณหภูมิในการหลอมเหลวสูง และกระบวนการที่ซับซ้อน ทำให้ราคาสูงในช่วงแรก แต่ปัจจุบัน เริ่มจับต้องได้ รุ่นที่ 2 เป็นเซลล์แสงอาทิตย์ฟิล์มบาง ที่ใช้กระบวนการเตรียมฟิล์มบางในสุญญากาศสูง ใช้สารที่มีราคาแพงและสารบางตัวมีความเป็นพิษสูง และสุดท้ายคือ เซลล์แสงอาทิตย์อุบัติใหม่            […]

1 2 3 4 5