นาโนเทค สวทช. รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติฯ ประจำปี 2567

เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ศูนย์การประชุมและนิทรรศการไบเทค บางนา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ไปทรงเปิดงาน “วันนักประดิษฐ์” ประจำปี 2567 (Thailand Inventors’ Day 2024) พร้อมพระราชทานเกียรติบัตรให้แก่ผู้ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ

ในโอกาสนี้ ศาสตราจารย์ ดร. ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมด้วย ดร. วรรณี ฉินศิริกุล ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) และ ดร. สุธี ผู้เจริญชนะชัย รักษาการผู้ช่วยผู้อำนวยการ ด้านบริหารทั่วไป สวทช.และ รองผู้อำนวยการนาโนเทค แสดงความยินดีกับนักวิจัยนาโนเทค ที่ได้รับรางวัลในสาขาต่าง ๆ รวม 10 รางวัล ดังนี้
1. ดร. ณัฏฐิกา แสงกฤช ตำแหน่งนักวิจัยอาวุโส/ หัวหน้าทีมวิจัย สังกัดทีมวิจัยเวชศาสตร์นาโน (NMV) กลุ่มวิจัยการห่อหุ้มระดับนาโน (NCAP) ได้รับรางวัลผลงานวิจัยระดับดีมาก จากผลงานเรื่อง “ระบบนำส่งยาแบบแม่นยำเพื่อการรักษาโรคมะเร็งระบบประสาทส่วนกลาง”
2. ดร. คทาวุธ นามดี ตำแหน่งนักวิจัย สังกัดทีมวิจัยเวชศาสตร์นาโน (NMV) กลุ่มวิจัยการห่อหุ้มระดับนาโน (NCAP) ได้รับรางวัลผลงานวิจัยระดับดี จากผลงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาอนุภาคนาโนทองคำแบบใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผ่านแนวกั้นระหว่างเลือดกับสมองโดยการห่อหุ้มด้วยเอ็กโซโซมที่มีการแสดงออกของโปรตีนเป้าหมายกับระบบประสาท”
3. ดร. ขจรศักดิ์ เฟื่องนวกิจ ตำแหน่งนักวิจัยอาวุโส/ ผู้อำนวยการหน่วยวิจัย สังกัดกลุ่มวิจัยการเร่งปฏิกิริยาและการคำนวณระดับนาโน (NCAS) ได้รับรางวัลผลงานวิจัยระดับดี จากผลงานวิจัยเรื่อง “ตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะไม่มีตระกูลขนาดนาโนเมตรเพื่อการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพขั้นสูงจากน้ำมันปาล์มและไขมันสัตว์”
4. ดร. สุภาวดี นาเมืองรักษ์ ตำแหน่งนักวิจัยอาวุโส/ หัวหน้าทีมวิจัย สังกัดทีมวิจัยการคำนวณระดับนาโน (SIM) กลุ่มวิจัยการเร่งปฏิกิริยาและการคำนวณระดับนาโน (NCAS) ได้รับรางวัลผลงานวิจัยระดับดี จากผลงานวิจัยเรื่อง “การค้นหาตัวเร่งปฏิกิริยาเพื่อผลิตพลังงานไฮโดรเจนด้วยปัญญาประดิษฐ์และการคำนวณเคมีคอมพิวเตอร์”
5. ดร. บุญรัตน์ รุ่งทวีวรนิตย์ ตำแหน่งนักวิจัย สังกัดทีมวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยา (CAT) กลุ่มวิจัยการเร่งปฏิกิริยาและการคำนวณระดับนาโน (NCAS) ได้รับรางวัลผลงานวิจัยระดับดี จากผลงานวิจัยเรื่อง “การออกแบบและพัฒนาโมเดลการศึกษาตัวเร่งปฏิกิริยาแบบใหม่ สำหรับการศึกษากลไกเกิดปฏิกิริยาเชิงลึกในสภาวะเสมือนจริงด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาอะตอมเดี่ยวบนตัวรองรับโครงข่ายโลหะอินทรีย์”
6. ดร. จันทร์เพ็ญ ครุวรรณ์ ตำแหน่งนักวิจัย/ หัวหน้าทีมวิจัย สังกัดทีมวิจัยกราฟีน (GRP) กลุ่มวิจัยวัสดุผสมและการเคลือบนาโน (NHIC) ได้รับรางวัลสิ่งประดิษฐ์ระดับดี จากผลงานวิจัยเรื่อง “D-Sense: ขั้วไฟฟ้าพิมพ์สกรีนจากวัสดุสองมิติแบบใช้แล้วทิ้งสำหรับการประยุกต์ใช้งานเซนเซอร์เคมีและเภสัช”
7. ดร. ชุติพันธ์ เลิศวชิรไพบูลย์ ตำแหน่งนักวิจัย สังกัด ทีมวิจัยการวินิจฉัยระดับนาโน (NDx) กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน (RMNS) ได้รับรางวัลสิ่งประดิษฐ์ประกาศเกียรติคุณ จากผลงานวิจัยเรื่อง “เส้นพลาสติกสำหรับเครื่องพิมพ์สามมิติผลิตจากขยะเปลือกหอบแมลงภู่และขยะพลาสติกชีวภาพ”
8. ดร. คณาณัฐ นาคสมบูรณ์ ตำแหน่งนักวิจัย สังกัดทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อคุณภาพชีวิตและเวชสำอาง (NLC) กลุ่มวิจัยการห่อหุ้มระดับนาโน (NCAP) ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ระดับดีมาก จากผลงานเรื่อง “การพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาชนิดพาลาเดียมที่มีลิแกนด์แบบไบเดนเตด สำหรับการเติมหมู่โอเลฟินส์บนสารประกอบอะโรมาติกผ่านการตัดพันธะคาร์บอน-ไฮโดรเจนโดยตรง”
9. ดร. ศศิกานต์ สีทาสังข์ ตำแหน่งนักวิจัยหลังปริญญาเอก สังกัดทีมวิจัยระบบหุ่นยนต์และเข็มระดับนาโน (NRN) กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน (RMNS) ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ระดับดี จากผลงานเรื่อง “การพัฒนาโฟโตมิเตอร์แบบย่อส่วนโดยใช้คู่ของไดโอดเปล่งแสงและการประยุกต์ใช้โฟโตมิเตอร์”
10. ดร. ธรรมนูญ ชาญขนิษฐา ตำแหน่งนักวิจัยหลังปริญญาเอก สังกัดทีมวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยา (CAT) กลุ่มวิจัยการเร่งปฏิกิริยาและการคำนวณระดับนาโน (NCAS) ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ระดับดี จากผลงานเรื่อง “ตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะออกไซด์สำหรับการสลายตัวของสารมลพิษอินทรีย์”