นาโนเทค จัดประชุมวิชาการระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นด้านวัสดุนาโนและนาโนคอมโพสิต (Thailand – Japan Joint Research Meeting on Nanomaterials and Nanocomposites)

นาโนเทค จัดประชุมวิชาการระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นด้านวัสดุนาโนและนาโนคอมโพสิต (Thailand – Japan Joint Research Meeting on Nanomaterials and Nanocomposites)    ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งในวาระครบรอบ 130 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยเเละญี่ปุ่น. การจัดประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้การวิจัย เเละสร้างความร่วมมือทางวิชาการ่วมกัน โดยกิจกรรมดังกล่าวได้รับเกียรติจากนักวิจัยเเละนักวิทยาศาตร์ของญี่ปุ่นและไทยมาร่วมประชุมเพื่อหารือความร่วมมือทางวิชาการ จากหน่วยงานต่างๆของประเทศญี่ปุ่นอาทิ AIST , NIMS, RIKEN เเละ สถาบันเทคโนโลยีเเห่งกรุงโตเกียว จากประเทศไทย อาทิ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ การประชุมดังกล่าวจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 6-7 กันยายน 2560 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี และ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพมหานคร โดยมี ดร.วรรณี ฉินศิริกุล ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ กล่าวต้อนรับ   ในโอกาสนี้คณะผู้ร่วมประชุมได้เยี่ยมชมโรงงานผลิตเครื่องสำอางต้นแบบ (Cosmetic Production Plant (Pilot […]

คณะนักวิจัยนาโนเทค ร่วมประชุมวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งซิดนีย์และนาโนเทค

A team of NANOTEC researchers, Thailand, led by Dr. Pavadee Aungkavattana, Deputy Executive Director, attended a 2-day UTS-NANOTEC joint technical workshop on 14-15 September 2017. The event is organized by Faculty of Science, University of Technology Sydney (UTS), Sydney, Australia. The program included a tour of UTS facilities and research project presentations between UTS and […]

นักวิจัยนาโนเทค “ตัวเร่งปฏิกิริยานาโน” ผลิตไบโอดีเซลเทียบเท่าน้ำมันปิโตรเลียม

 นักวิจัยนาโนเทค พัฒนา “ตัวเร่งปฏิกิริยานาโน” ผลิตไบโอดีเซลที่สามารถนำตัวเร่งปฏิกิริยากลับมาใช้ใหม่ได้เรื่อยๆ และตัวเร่งปฏิกิริยาที่ผลิตไบโอดีเซลได้มีคุณสมบัติเทียบเท่าน้ำมันปิโตรเลียม ดร.ขจรศักดิ์ เฟื่องนวกิจ ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยวัสดุนาโนและวิศวกรรมระบบนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) และหัวหน้าโครงการวิจัย การพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีโครงสร้างระดับนาโน เพื่อการผลิตไบโอดีเซล และไบโอไฮโดรดีออกซิจิเนตดีเซล กล่าวว่า งานวิจัยพัฒนาด้านพลังงานหมุนเวียนนั้นสำคัญต่อโลกและต่อประเทศไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากทรัพยากรมูลค่าการนำเข้าน้ำมันมีอยู่อย่างจำกัด และประเทศไทยมีการนำเข้าน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปราว 1 ล้านล้านบาท “ทางศูนย์วิจัยจึงได้พัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยา เพื่อใช้ในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ สารเคมีชีวภาพ สารเคมีที่มีมูลค่าสูงและวัสดุขั้นสูงด้วยการใช้นาโมเทคโนโลยี เพื่อเป็นการการช่วยประเทศลดการพึ่งพาต่างประเทศ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเป็นการส่งเสริมการนำของเสียจากภาคเกษตรมาทำให้เกิดมูลค่าเพิ่ม” ทีมวิจัยได้พัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาเพื่อให้ในการเร่งปฏิกิริยาในการทำไบโอดีเซลให้มีประสิทธิภาพ และสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้หลายๆ ครั้ง ซึ่งเป็นหนึ่งในการลดมลพิษที่จะออกสู่สิ่งแวดล้อม ด้วยการลดของเสียตั้งแต่แหล่งกำเนิด โดยใช้คอมพิวเตอร์ในจำลองการเกิดปฏิกิริยาของตัวเร่งชนิดต่างๆ เพื่อดูว่าตัวเร่งปฏิกิริยาตัวใดมีประสิทธิภาพมากที่สุด และมีประสิทธิภาพที่ขนาดเท่าใด จากนั้นทีมวิจัยได้ผลิตตัวเร่งปฏิกิริยา ซึ่งตัวเร่งปฏิกิริยาที่พัฒนาขึ้นมานี้ มีความพรุนสูงและมีขนาดเล็กกว่าตัวเร่งปฏิกิริยาตัวเดิม ที่นำมาทำเชื้อเพลิงชีวภาพ ทำให้ตัวสารตั้งต้นที่นำมาทำเชื้อเพลิงชีวภาพ เข้าทำปฏิกิริยาได้กับตัวเร่งง่ายขึ้นและเกิดปฏิกิริยาได้เร็วขึ้น เนื่องจากมีตัวเร่งปฏิกิริยามีพื้นผิวให้สารตั้งต้นเข้าไปทำปฏิกิริยาได้เยอะขึ้น งานวิจัยอีกส่วนของทีมวิจัย คือการพัฒนา “ไบโอไฮโดรออกซิจิเนตดีเซล” หรือ “กรีนไบโอดีเซล” ซึ่งเป็นทางเลือกใหม่ เพื่อเอาชนะข้อจำกัดเรื่องคุณสมบัติของไบโอดีเซล ที่มีความแตกต่างกับน้ำมันดีเซล โดยทีมวิจัยได้ศึกษาการผลิตกรีนไบโอดีเซลจากปาล์มและไขมันไก่ โดยใช้โลหะนิกเกิลโมลิดินัมซัลเฟต (NiMoS2) เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในกระบวนการผลิตกรีนไบโอดีเซลผ่านกระบวนการกระบวนการกำจัดออกซิเจนออกมาในรูปของน้ำ (Hydrodeoxygenation) ทว่าโลหะนิกเกิลโมลิดินัมซัลเฟตเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีกระบวนการเตรียมค่อนข้างยุ่งยาก […]

1 3 4