ผลงานวิจัยในโครงการ RNN ที่ร่วมมือกับนาโนเทค

ไพลเป็นสมุนไพรใกล้ตัวที่มีสารออกฤทธิ์ทางซีวภาพที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฤทธิ์ต้านอักเสบ จึงมีการนำไพลมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ยาชนิดต่าง ๆ มากขึ้น อย่างไรก็ตามกระบวนการสกัดและการเตรียมวัตถุดิบที่ไม่มีประสิทธิภาพจะส่งผลให้สารออกฤทธิ์สำคัญบางชนิด อาจสลายตัวได้ง่ายเมื่อโดนแสงและถูกความร้อน ส่งผลต่อสี กลิ่นและฤทธิ์ทางชีวภาพของไพลโดยตรง จากงานวิจัยและสิทธิบัตรที่ผ่านมาจึงมีการเตรียมสารสกัดไพลโดยใช้สารลดแรงตึงผิวหรือสารลดแรงตึงผิวร่วม (surfactant แต่ยังคงมีปัญหาเกี่ยวกับความคงตัวของสารสกัด และยังไม่มีการพัฒนาการเตรียมนาโนอิมัลซันของสารสกัดไพลโดยการเคลือบอนุภาคน้ำมันไพลด้วยชั้นโปรตีนหรือพอลิเมอร์ชีวภาพ (นาโนอิมัลซันแบบทุติยภูมิ)

หลักการออกแบบของโครงการ

1. น้ำมันไพลจะถูกผสมกับsurfactant และ co-surfactant ได้เป็น primary emulsion ที่มีประจุลบ

2. Primary emulsion ที่มีประจุลบจะถูกหุ้มด้วยพอลิเมอร์ชีวภาพประจุบวกด้วยแรง electrostatic โดยพอลิเมอร์ชีวภาพประจุบวก เช่น ไคโตซาน และอนุพันธ์ไคโตซานเป็นตัวห่อหุ้ม ซึ่งจุดเด่นของไคโตซานคือ สามารถควบคุมและปลดปล่อยสารออกฤทธิ์สำคัญได้ในสภาวะที่เป็นกรด ราคาไม่สูง มีความเป็นพิษต่ำเหมาะสำหรับใช้ป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง จากนั้นศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อขนาด ความคงตัว ฤทธิ์ทางชีวภาพของอนุภาคนาโนอิมัลซันของสารสกัดไพลเช่น อัตราส่วนของสารสกัด ต่อ surfactant และอัตราส่วนของ primary emulsion ต่อพอลิเมอร์ห่อหุ้ม เป็นต้น

จากการทดลองพบว่า เมื่อใช้อนุพันธ์ไคโตซาน (/degree of quaternization - 37%) เป็นตัวห่อหุ้มทำให้อนุภาคมีขนาดเล็ก (200-250 nm) ประจุบนผิวของอิมัลชันมีประจุบวก (20.23 mV) ส่งผลให้เพิ่มความเสถียรของอนุภาค อีกทั้งยังเพิ่มฤทธิ์การต้านอักเสบและการซึมผ่านผิวหนัง จากนั้นพัฒนาเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์โลชั่นสมุนไพรบำรุงผิว ทั้งนี้การพัฒนานวัตกรรมนาโนอิมัลชันระบบใหม่นี้เป็นมีความเป็นไปได้ในการใช้ที่จะใช้เป็นระบบต้นแบบสำหรับประยุกต์ใช้กับสารสกัดสมุนไพรชนิดอื่น ๆ ต่อไป

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1. เพิ่มความคงตัวของสารสกัดสมุนไพร

2.ลดกลิ่น

3. กักเก็บสารออกฤทธิ์สำคัญ

4. ควบคุมการปลดปล่อยสารออกฤทธิ์สำคัญที่ตำแหน่งเป้าหมายสำหรับเตรียมใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเวชสำอาง/เครื่องสำอาง ออกแบบโดยใช้พอลิเมอร์ชีวภาพเป็นตัวห่อหุ้มเพื่อให้ได้อนุภาคที่มีประจุบวก ขนาดของอนุภาคประมาณ 200-300 กm มีต้นทุนต่ำสามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เวชสำอาง/เครื่องสำอางได้

สรุปสถานะภาพของงานในปัจจุบัน

โครงการนี้ได้พัฒนาเริ่มพัฒนาเทคโนโลยีนโนอิมัลชันแบบทุติยภูมิของสารสกัดไพลระบบใหม่ โดยมีพอลิเมอร์ชีวภาพประจุบวกเป็นตัวห่อหุ้ม เช่น ไคโตซานหรืออนุพันธ์ควอเทอร์ไนซ์ไคโตซาน ส่งผลให้เพิ่มความเสถียรของอนุภาค อนุภาคมีขนาดเล็ก ดัดแปรประจุบนผิวของอิมัลชันให้มีประจุบวก อีกทั้งยังเพิ่มฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดไพล เช่น ฤทธิ์การต้านอักเสบ การซึมผ่านผิวหนัง เป็นต้น เทคโนโลยีดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการนานาชาติ carbohydrates polymers (Impact Factor = 7.182) [2] และยื่นขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอรับ 1903002777 ผ่านสถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นพัฒนาเป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์โลชั่นสมุนไพรบำรุงผิว ต้นแบบได้รับเลขจดแจ้ง อย. ใบอนุญาตเลขที่ 2316400000557 ชื่อผลิตภัณฑ์ไพลโลเพน เฮอเบิล บอดี้ โลชั่น PLAILOPEN HERBAL BODY LOTION สถานะปัจจุบัน อยู่ระหว่างการผลิตกับบริษัทโกลเด้น คอสเมติก