กระบวนการสกัดและทำบริสุทธิ์สารโพลิโคซานอลจากกากหม้อกรองแบบรวดเร็วเพื่อการประยุกต์ใช้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอาง

ชื่อเทคโนโลยี / สิ่งประดิษฐ์ กระบวนการสกัดและทำบริสุทธิ์สารโพลิโคซานอลจากกากหม้อกรองแบบรวดเร็วเพื่อการประยุกต์ใช้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอาง วิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยกระบวนการระดับนาโนเพื่ออุตสาหกรรมเกษตร (ACP) ที่มา และความสำคัญที่นำมาสู่การพัฒนาเทคโนโลยี ไขอ้อย (sugarcane wax) เป็นสารที่ไม่ละลายในน้ำที่น่าสนใจ ส่วนมากไขอ้อยจะได้จากการสกัดกากหม้อกรองที่เป็นวัสดุเหลือทิ้งในกระบวนการอุตสาหกรรมผลิตน้ำตาล ในปัจจุบันมีประโยชน์ในแง่การนำเอาไปใช้เป็นสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมยา และเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง นอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้แทนไขคาร์นูบา (carnauba wax) ที่มีราคาแพงในการผลิตเครื่องสำอาง อาหาร และผลิตภัณฑ์ยาได้เป็นอย่างดี โดยสารสำคัญที่มีอยู่ในไขอ้อยมีหลายชนิดและมีปริมาณไม่แน่นอน ได้แก่ กลุ่มกรดไขมัน (fatty acid) คีโตน (ketone) แอลดีไฮด์ (aldehyde) เอสเทอร์ (ester) กลุ่มของสารพวกไฟโตสเตอรอล (phytosterols) และแอลกอฮอล์สายโซ่คาร์บอนยาวหลายชนิดที่ไม่ชอบน้ำหรือเรียกว่ากลุ่มสารโพลิโคซานอล (a mixture of long chain primary aliphatic alcohols หรือ policosanol) องค์ประกอบหลักของสารโพลิโคซานอลที่ได้จากไขอ้อย ได้แก่ เตตระโคซานอล (tetracosanol, C24) เฮกซะโคซานอล (hexacosanol; C26) ออกตะโคซานอล […]