การริเริ่มความปลอดภัยนาโนเทคโนโลยีในประเทศไทย

การริเริ่มความปลอดภัยนาโนเทคโนโลยีในประเทศไทย

ความปลอดภัยนาโน

            ตามรายงานจากการวิจัยของ BBC พบว่า ในปี 2013 ตลาดทั่วโลกมีผลิตภัณฑ์นาโนเทคโนโลยีมูลค่า  22.9 พันล้านดอลลาร์ พบว่าในปี 2014 เพิ่มขึ้นประมาณ 26 พันล้านดอลลาร์ และคาดว่าในปี 2019 คาดว่าจะมีมูลค่าถึง 64.2 พันล้านดอลลาร์ ทำให้อัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) เพิ่มขึ้น 19.8% ตั้งแต่ปี 2014 ถึง ปี 2019 แสดงให้เห็นว่าประเทศมุ่งเน้นความสนใจทางด้านนาโนเทคโนโลยีแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าผลกระทบของนาโนเทคโนโลยีมีความหลากหลายและมีเพียงไม่กี่ชนิด  ได้แก่ สิ่งทอ,การเกษตร,ยา และคอมพิวเตอร์ ถึงแม้นาโนเทคโนโลยีจะเกิดขึ้นมาสักระยะเวลาหนึ่งแล้ว นาโนเทคโนโลยีก็ยังถือเป็นสาขาใหม่ทางด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม มีคำวิจารณ์จากบางกลุ่มกลัวเรื่องความเสี่ยงต่อคนและสิ่งแวดล้อมโดยที่ยังไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับนาโนเทคโนโลยีเป็นอย่างดี  ตัวอย่างเช่นขนาดอนุภาคนาโนเทคโนโลยีที่มีขนาดเล็กอาจจะเป็นพิษในบางสถานการณ์

ความปลอดภัยนาโนในประเทศไทย

            ประเทศไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญในการนำนาโนเทคโนโลยีมาใช้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพหรือเพิ่มมูลค่าในผลิตภัณฑ์ต่างๆ แต่ในขณะเดียวกันไม่ควรมองข้ามความเสี่ยงและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยและจริยธรรมนาโนเทคโนโลยี (พ.ศ. 2555-2559) ขึ้นและได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีในปี 2555  โดยมีวัตถุประสงค์ของแผนยุทธศาสตร์ คือ

  • สร้างและบริหารจัดการองค์ความรู้ด้านความปลอดภัยและจริยธรรมนาโนเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์นาโน
  • พัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของมาตรการและกลไกการกำกับดูแลและบังคับใช้
  • สร้างความเข้มแข็งและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน

งานวิจัยด้านความปลอดภัยนาโน

          หลายปีที่ผ่านมาศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติเป็นหน่วยงานสนับสนุนทุนทางด้านการวิจัยและ ทั้งนี้ได้ระดมทุนและให้ข้อเสนอทางด้าน R&D กระตุ้นให้นักวิจัยตระหนักถึงความปลอดภัยในวัสดุนาโน ตัวอย่างเช่น ผ้าเคลือบอนุภาคนาโนที่มีการทดสอบการปนเปื้อนจากน้ำ นาโนไททาเนียมไดออกไซด์ (TiO2)เคลือบถังปลาโดยมีการทดสอบความเป็นพิษต่อปลา ครีมบำรุงผิวที่มีส่วนผสมของอนุภาคนาโน ไททาเนียมไดออกไซด์ นอกจากนี้ยังได้มีการทดสอบสำหรับการเจาะผิวหนังผ่านรูปแบบผิวกระทบต่อระบบนิเวศน์ของ Nano Silver ในน้ำเสีย ที่ได้รับการทดสอบข้อมูลความปลอดภัยของวัสดุนาโนที่ครอบคลุมมากขึ้นเป็นผลมาจากห้องปฏิบัติการความปลอดภัยนาโนและการประเมินความเสี่ยง (SRA) ของศูนย์นาโนเทคโนโลยี มุ่งการวิจัยทางด้านผลกระทบของความปลอดภัยในมุมที่เกี่ยวกับคนและสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันกำลังมีการวิจัยผลข้างเคียงของวัสดุนาโนสามชนิด ได้แก่  Ag, TiO2,  Au

ศูนย์วิเคราะห์ทดสอบทางนาโนเทคโนโลยีขั้นสูงอยู่ภายใต้กำลังก่อสร้างและอยู่ภายใต้ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (โครงการ Nano MARKS Flagship) ซึ่งห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ระดับนาโน (NCL)   จะเป็นผู้ดำเนินการหลักในการบริหารจัดการศูนย์ ตั้งแต่ปี 2553 ศูนย์นาโนเทคโนโลยีได้มีความร่วมมือกับสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติสร้างขีดความสามารถทางด้านโครงสร้างพื้นฐานในการสร้างมาตรฐานในการวัดและการสอบเทียบขนาดนาโน

ข้อตกลงความร่วมมือกับ UNITAR

          ในปี 2555 ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ และ UNITAR ได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือในการดำเนินการฝึกอบรมและการเสริมสร้างศักยภาพเพื่อการพัฒนาโครงการนำร่องความปลอดภัยนาโนเทคโนโลยีในประเทศไทย (ระยะที่ 1) การจัดประชุม   เชิงปฏิบัติการครั้งแรก เกิดขึ้นในปี 2555 ภายใต้หัวข้อ Nano Inception/Awareness Raising Workshop และมีการจัดประชุม  เชิงปฏิบัติการมาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดมีการประชุมเชิงปฏิบัติการในวันที่ 10 และ 11 กันยายน 2558 ที่ อุทยานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี ภายใต้หัวข้อ Technical Workshop for the Asia-Pacific Region  on Nanotechnology and Manufactured Nanomaterials:  Safety Issues .

ความร่วมมือกับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)

ในปี 2557 ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ร่วมกับ  สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้ร่วมกันจัดทำ        ร่างมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับนาโนเทคโนโลยี จำนวน 7 มาตรฐาน

นาโนเทคโนโลยี ส่วนที่ 1  คำแนะนำเกี่ยวกับการระบุวัสดุนาโนที่ผลิต

นาโนเทคโนโลยี ส่วนที่ 2  คำแนะนำในลักษณะวัสดุสำหรับการระบุวัสดุนาโนที่ผลิต

นาโนเทคโนโลยี ส่วนที่ 3  คำแนะนำเกี่ยวกับความปลอดภัยและการกำจัดของวัสดุนาโน

นาโนเทคโนโลยี ส่วนที่ 4  คำแนะนำเกี่ยวกับลักษณะกายภาพเคมีสำหรับการประเมิน Toxicolpgic ของวัสดุนาโน

นาโนเทคโนโลยี ส่วนที่ 5  คำแนะนำเกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยงวัสดุนาโน

นาโนเทคโนโลยี ส่วนที่ 6  การวิเคราะห์ขนาดอนุภาคโดยใช้การกระเจิงของแสงแบบไดนามิก

นาโนเทคโนโลยี ส่วนที่ 7  สุขภาพและความปลอดภัยในการปฏิบัติสำหรับการประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับวัสดุนาโน

คู่มือทั้ง 7 ฉบับ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เป็นเจ้าของและประกาศใช้ลงในราชกิจจานุเบกษา         ซึ่งการใช้มาตรฐานเป็นการใช้แบบสมัครใจของผู้ประกอบการ

สมอ.เป็นหน่วยงานที่ของรัฐบาลที่มีบทบาทหน้าที่ในการออกมาตรฐานการรับรองของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการของภาครัฐ ภาคธุรกิจ และสังคมสำหรับการแข่งขันอย่างยั่งยืน  เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 ทาง สมอ.ได้ประกาศมาตรฐานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับนาโนเทคโนโลยีจำนวน 3 ฉบับ ลงในราชกิจจานุเบกษา ได้แก่

นาโนเทคโนโลยี เล่ม 1 แนวทางการระบุข้อกำหนดวัสดุนาโนจากการผลิต

นาโนเทคโนโลยี เล่ม 2 แนวทางการวิเคราะห์ลักษณะเฉพาะสำหรับวัสดุนาโนจากการผลิต

นาโนเทคโนโลยี เล่ม 3 แนวทางการจัดกระทำ และกำจัดวัสดุนาโนอย่างปลอดภัย

ฉลาก Nano Q

            เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2553  สมาคมนาโนเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยได้เปิดตัวอย่างประสบความสำเร็จในการจัดทำฉลาก Nano Q  ทางสมาคมฯ ได้ให้ความสำคัญและผลักดันการจัดทำฉลาก Nano Q ขึ้นเป็นครั้งแรกและได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมในผลิตภัณฑ์ที่เป็นนาโนเทคโนโลยี ฉลาก Nano Q จะครอบคลุมผลิตภัณฑ์ทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ สิ่งทอ สีและสารเคลือบของใช้ในครัวเรือน

เครื่องหมายรับรองฉลาก Nano Q สามารถบ่งบอกถึงการติดตามระหว่างผู้ผลิต หน่วยงานแห่งชาติที่ให้การรับรองและองค์กรที่ผ่านการรับรองมาตรฐานมาแล้ว  การที่มีสินค้านาโนในตลาดมากขึ้น ฉลาก Nano Q จะมีความสำคัญในการกระตุ้นผู้ผลิตในประเทศ ผลิตสินค้าที่สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค สำหรับสินค้าที่เป็นนาโนในวิธีการออกฉลาก Nano Q ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ระดับนาโน (NCL) ของศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นหนึ่งในศูนย์กลางในการวิเคราะห์ทดสอบเพื่อการออกฉลากรับรอง

บริษัทที่สนใจจะขอรับฉลาก Nano Q สามารถยื่นความจำนงไปที่สมาคมนาโนเทคโนโลยีแห่งประเทศ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ซึ่งทางสมาคมนาโนเทคโนโลยีจะเป็นผู้ประสานงานติดต่อห้องปฏิบัติการของศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ เพื่อนำตัวอย่างไปวิเคราะห์ทดสอบเพื่อขอรับรองฉลาก Nano Q เมื่อบริษัทได้การรับรองฉลาก Nano Q แล้ว ในทุกๆปี ทางสมาคมนาโนเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยจะทำการสุ่มตรวจสินค้าที่ขอรับรองฉลาก Nano Q เพื่อดูว่าสินค้าตรงตามที่ระบุไว้ในฉลากหรือไม่

ในปัจจุบัน ทางสมาคมนาโนเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยได้มีการส่งมอบ ฉลาก Nano Q ให้กับ 4 บริษัทที่ขอรับรองฉลาก Nano Q เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และยังมีอีกหลายบริษัทที่รอการรับรองฉลาก Nano Q

ความตระหนักของประชาชน

           ตั้งแต่ ปี 2557 ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้ร่วมือกับเครือข่าย Nano plus และวิทยากรเครือข่ายด้านนาโนเทคโนโลยี (TTN) ผลักดันและสอดแทรกให้มีการบรรยายหัวข้อความปลอดภัยนาโน (Nanosafety) ในการจัดกิจกรรมและการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการที่มีการจัดขึ้น  ณ ปัจจุบัน มีมากกว่าการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ที่มีการสอดแทรกเรื่องความปลอดภัยนาโนเข้าไปในกิจกรรม ซึ่งมีผู้เข้าร่วมมากกว่า 300 คน จากนักเรียน นักศึกษา ผู้แทนประชาชน เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ความปลอดภัยนาโนเป็นส่วนหนึ่งของระบบสื่อสาระออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ทางไกลเฉลิมพระเกียรติ

ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) มีส่วนร่วมในการจัดระบบสื่อสาระออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ทางไกลเฉลิมพระเกียรติ ในโครงการของ สวทช. ทั้งหมด 16 หลักสูตร ซึ่งมีหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยนาโนจำนวน 2 หลักสูตร สามารถติดตามดูหลักสูตรต่างๆได้ที่ https://mooc.learn.in.th/ ซึ่งจะมีการออนไลน์ในเร็วนี้

ระบบสื่อสาระออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ทางไกลเฉลิมพระเกียรติเป็นโครงการที่ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการให้ความรู้แก่ชุมชนห่างไกลผ่านดาวเทียม  เริ่มต้นโครงการนี้เป็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดำเนินการโดยมูลนิธิการศึกษาทางไกลโครงการสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์   ของโรงเรียนพระราชวังไกลกังวล จังหวัดประจวบคิรีขันธ์ ถือเป็นความท้าทายใหม่สำหรับการใช้เทคโนโลยี    ที่เป็นเครื่องมือสำหรับ สื่อการเรียนรู้ออนไลน์ในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งในปัจจุบันสมเด็จพระเทพรัตนีราชสุดาฯ เป็นองค์อุปถัมภ์ของโครงการนี้

สวทช.และหน่วยงานภายใต้การกำกับของ สวทช.ได้ร่วมโครงการระบบสื่อสาระออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ทางไกลเฉลิมพระเกียรติ จัดทำสื่อการเรียนรู้ใน 4 หัวข้อการวิจัย ได้แก่ ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ (ไบโอเทค) ด้านไอซีที (เนคเทค) ด้านวัสดุศาสตร์ (เอ็มเทค) และด้านนาโนเทคโนโลยี (นาโนเทค) โดยมีการบันทึกเทปและหลักสูตรกำลังจะจัดทำเป็น VDO มีการอัปโหลดไปยังหลักสูตรออนไลน์เครือข่าย  MOOC

16 หลักสูตรของนาโนเทคโนโลยีที่จะมีการอัปโหลดเร็วๆนี้

  • มหัศจรรย์นาโนในธรรมชาติ : สิ่งมีชีวิตที่เป็นนาโน
  • มหัศจรรย์นาโนในธรรมชาติ : พัฒนาสื่อการเรียนการสอนเพื่อการสื่อสาร ว และ ท.
  • มหัศจรรย์นาโนในธรรมชาติ : น้ำกลิ้งบนใบบัว
  • แรงบันดาลใจจากธรรมชาติสู่งานวิจัย สิ่งทอนาโน : การพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยนาโนเทคโนโลยี (การทำผ้ากันน้ำ)
  • นาโนเทคโนโลยีคืออะไร/ความหมายของนาโนเมตร
  • ทำไมต้องเป็นนาโน/สมบัติที่เกิดขึ้นเมื่อขนาดเล็กลงในระดับนาโนเมตร
  • การสังเคราะห์ผลิตภัณฑ์ระดับนาโน/การสังเคราะห์อนุภาคเงินนาโนเพื่อทดสอบสารตะกั่ว
  • ทำไมต้องเป็นนาโน : สมบัติที่เกิดขึ้นเมื่อขนาดเล็กในระดับนาโนเมตร กิจกรรมใครละลายเร็วกว่ากัน
  • การประยุกต์ใช้นาโนเทคโนโลยี หลักการทำงานและประโยชน์ของกล้อง AFM
  • โครงสร้างคาร์บอนระดับนาโน/การพัฒนาสื่อ #1 : แบบจำลองโครงสร้างฟลูเลอรีน
  • โครงสร้างคาร์บอนระดับนาโน/การพัฒนาสื่อ #2 : แบบจำลองโครงสร้างเพชร
  • ทำไมต้องเป็นนาโน/สมบัติเชิงแสงของสารละลายทองคำนาโน กิจกรรมการสังเคราะห์อนุภาคทองคำนาโน
  • ความปลอดภัยของวัสดุนาโนและผลิตภัณฑ์

ศูนย์กลางความปลอดภัยนาโนและนาโนเทคโนโลยี

          ประเทศไทยเสนอตัวที่จะเป็นศูนย์กลางด้านความปลอดภัยนาโนและนาโนเทคโนโลยีในภูมิภาคอาเซียน ทั้งนี้ประเทศไทยพร้อมที่จะทำงานร่วมกับ SAICM เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ 2020 ที่ SAICM จัดขึ้น โครงการนี้เกี่ยวกับการจัดการสารเคมี ประเทศไทยสามารถจะเล่นบทบาทสำคัญในการก้าวไปข้างหน้าด้านการพัฒนานาโนเทคโนโลยีในเวทีระดับภูมิภาคและเวทีระดับโลก