ครั้งแรกของการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ CCUS Roadmap นำไทยสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน

เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2566 ณ โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น – ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) นำโดย ดร.วรรณี ฉินศิริกุล ผู้อำนวยการ ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตร จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “Carbon Capture, Utilization and Storage (CCUS) Technology Roadmap” Navigating Thailand towards Carbon Neutrality ครั้งที่ 1 โดยการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร. พงษ์วิภา หล่อสมบูรณ์ ผู้เชี่ยวชาญระดับสูงด้านสิ่งแวดล้อม จาก สกสว. เป็นผู้กล่าวเปิดงาน พร้อมทั้งหน่วยงานผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ กว่า 52 หน่วยงาน รวมผู้เข้าร่วมราว 150 คน […]

11 หน่วยพันธมิตร หนุน “มาตรฐาน-ความปลอดภัยนาโนเทคโนโลยี” ในภาคอุตสาหกรรม

การลงนามความร่วมมือทางวิชาการใน “โครงการพัฒนาเครือข่ายภาคอุตสาหกรรม เรื่อง ความปลอดภัยนาโนเทคโนโลยี” เป็นการต่อยอดจากความร่วมมือระหว่างศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สวทช. และสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ในการจัดทำมาตรฐานอุตสาหกรรมเพื่อประกาศใช้เป็นมาตรฐานของประเทศ ซึ่งเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่ต่อการพัฒนานาโนเทคโนโลยีในประเทศไทย รวมถึงการจัดตั้งคณะทำงานเครือข่ายภาคอุตสาหกรรม ความปลอดภัยนาโนเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการสร้างความตระหนักถึงความปลอดภัย และมาตรฐานด้านนาโนเทคโนโลยีภายในประเทศ ความสำเร็จจากการดำเนินงานในระยะที่ 1 (2563-2565)  มี 9 องค์กรทั้งภาครัฐ และสมาคมต่าง ๆ ร่วมขับเคลื่อน สนับสนุน และส่งเสริม ความรู้ ความเข้าใจ รวมถึงการนำ มาตรฐาน และความปลอดภัยนาโนเทคโนโลยีสู่การประยุกต์ใช้ในในระดับมหภาค นำสู่การดำเนินงานในระยะที่ 2 (2566-2568) ที่มีการขยายความร่วมมือสู่ 11 หน่วยงานพันธมิตร ได้แก่  นาโนเทค สวทช.,  กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.), สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.), สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.), สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.), สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.), สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.), สภาสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (สสวทท), สมาคมนาโนเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย […]

นาโนเทค สวทช. จับมือ EECi เดินหน้าหนุนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร บ้านตม ชลบุรีพัฒนา “แชมพูเปลี่ยนสีผมจากสมุนไพรไทย”

  ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) นำโดย ดร.อุดม อัศวาภิรมย์ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยการห่อหุ้มระดับนาโน นำทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อคุณภาพชีวิตและเวชสำอาง ทีมวิจัยโรงงานต้นแบบผลิตอนุภาคนาโนและเครื่องสำอาง และเจ้าหน้าที่งานอาคารสถานที่ พร้อมด้วย นางปิยะฉัตร ใคร้วานิช เบอร์ทัน ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาพื้นที่และกำลังคน EECi สวทช. ลงพื้นที่ ณ กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร บ้านตม ต.สระสี่เหลี่ยม อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2566 ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์แชมพูเปลี่ยนสีผมจากสมุนไพรในท้องถิ่น ที่มีประสิทธิภาพสูง มีความคงตัว ย้อมติดสีผมได้ดีขึ้น พร้อมให้คำปรึกษาเรื่องการปรับปรุงพื้นที่อาคารโรงเรือนผลิตเครื่องสำอางให้สอดคล้องกับมาตรฐาน GMP ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างมาตรฐาน ความน่าเชื่อถือ และโอกาสทางการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ของชุมชนในอนาคต กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร บ้านตม จังหวัดชลบุรี เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มแม่บ้าน ผู้สูงอายุ ที่ต้องการสร้างงานสร้างรายได้ นำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งและความเจริญอย่างยั่งยืนให้ชุมชน แบ่งเป็นกลุ่มสมุนไพร จักสาน ขนมไทย และโฮมสเตย์ ปัจจุบันมีสมาชิก 108 คน โดยทางกลุ่มมีการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบในชุมชน เช่น […]

Industrial Postdocs ตอบโจทย์อุตสาหกรรม ด้วยนวัตกรรมนาโนเทคโนโลยี

เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2566 นาโนเทค สวทช. จัดสัมมนาวิชาการเรื่อง Industrial Postdocs ตอบโจทย์อุตสาหกรรม ด้วยนวัตกรรมนาโนเทคโนโลยี ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยหน่วยบริหารและจัดการทุน ด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) ในการประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 18 (NAC2023) โดยนักวิจัยหลังปริญญาเอก ชู 9 งานวิจัยตอบความต้องการของภาคเอกชน โดยมี ดร.สุธี ผู้เจริญชนะชัย รองผู้อำนวยการ นาโนเทค กล่าวเปิดงาน พร้อมมี ดร.วรรณี ฉินศิริกุล ผู้อำนวยการ นาโนเทค ร่วมฟังความก้าวหน้าของงานวิจัย ณ อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี ประเทศไทย ดร.ธันย์ชนก ปักษาสุข นำเสนอการพัฒนาการสกัดสารสำคัญจากพืชสมุนไพรด้วยคลื่นความถี่สูงเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในระดับอุตสาหกรรม เนื่องจากสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากสมุนไพรส่วนใหญ่มีมูลค่าทางการตลาดโลกสูง การนำสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากสมุนไพรมาใช้ในระดับอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ เครื่องสำอาง และยาจึงเป็นความท้าทายสำหรับนักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยเทคโนโลยีการสกัดสารสำคัญจากสมุนไพรที่เหมาะสมถือเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำมาซึ่งสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่มีประสิทธิภาพทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ กระบวนการสกัดที่ใช้ความร้อนจะส่งผลให้สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพเกิดการเสื่อมสลายได้ง่าย ปัจจุบันจึงมีการนำเทคโนโลยีการสกัดที่ไม่ใช้ความร้อนหรือเทคโนโลยีสีเขียว ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สามารถช่วยลดต้นทุนการสกัด ใช้ระยะเวลาอันสั้น […]

นาโนเทค สวทช. จัดสัมมนา “เทคโนโลยีการฟื้นฟูขั้นสูงเพื่อความงามและสุขภาพ” รับเทรนด์การดูแลสุขภาพ

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) จัดสัมมนา เทคโนโลยีการฟื้นฟูขั้นสูงเพื่อความงามและสุขภาพ (NSTDA Anti-Aging & Rejuvenation Symposium Emerging Rejuvenation Technology for Improving Beauty & Health) นำเสนอข้อมูลงานวิจัยและเทคโนโลยีด้านการฟื้นฟู (Rejuvenation) และการชะลอวัย (Anti-aging) รองรับเทรนด์การดูแลสุขภาพที่กำลังเป็นที่สนใจ ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย รองผู้อำนวยการ สวทช. สายงานบริหาร และทีมขับเคลื่อน Core Business : FoodSERP Platform กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการสัมมนาจากทั้งสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมด้านความงามและสุขภาพ จำนวนกว่า 120 คน เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566 ณ ห้องประชุม CC-403 ชั้น 4 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย สวทช. เทรนด์การดูแลสุขภาพโดยเฉพาะเรื่องของการฟื้นฟู (Rejuvenation) […]

นาโนเทคจับมือกับพันธมิตรหารือร่วมกันเพื่อพัฒนางานวิจัยด้านวัสดุนาโน

เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2566 ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดงานสัมมนาวิชาการในหัวข้อ “Nano-enable sustainable materials for green-economy” ในการประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 18 (NAC2023) ณ ห้องประชุม CC-301 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี ประเทศไทย การสัมมนาฯ ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้มีการอภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เกิดการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือวิจัยทางด้านวัสดุนาโนที่ยั่งยืนร่วมกันระหว่างนักวิจัยระดับนานาชาติ เป็นอีกหนึ่งเวทีให้นักวิจัยนาโนเทคและพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศหารือความร่วมมือด้านการวิจัย การถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อนำไปสู่การลงทุนร่วมกันเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีวัสดุนาโนที่ยั่งยืนเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน หรือเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ตามหลัก BCG Model (Bio-Circular-Green Economy) วิทยากรที่เข้าร่วมบรรยายในงานดังกล่าว ประกอบด้วย ดร.วรจิตต์ เศรษฐพรรค์ รองผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนา สถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) บรรยายในหัวข้อ “Global Partnership in Asia”

1 8 9 10 48