นักวิจัยนาโนเทค สวทช. ในฐานะคณะอนุกรรมการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ร่วมการประชุมคณะอนุกรรมการเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย ครั้งที่ 1/2566 โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) เพื่อขับเคลื่อนเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (TCNN)

เมื่อวันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2566 ณ โรงแรมรามา การ์เด้นส์ ดร.ขจรศักดิ์ เฟื่องนวกิจ ทำหน้าที่ผู้แทนศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแหงชาติ (สวทช.) เข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย ครั้งที่ 1/2566 ในฐานะคณะอนุกรรมการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ภายใต้เครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (Thailand Carbon Neutral Network: TCNN) ทั้งนี้ เครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (TCNN)จัดตั้งขึ้นโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคท้องถิ่น/ชุมชน ในการยกระดับการลดก๊าซเรือนกระจก และมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ตามเจตนารมณ์ของประชาคมโลกที่ปรากฏในเป้าหมายของความตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงได้มีการจัดการเลือกตั้งคณะกรรมการเพื่อขับเคลื่อนและบริหารงานการดำเนินงานเครือข่ายฯ ภายในงานประชุมฯ ได้รับเกียรติจากคุณวรพงษ์ นาคฉัตรีย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารความยั่งยืน บริษัท ปตท. จากัด (มหาชน) กล่าวต้อนรับและเปิดการประชุมฯ ในฐานะประธานคณะกรรมการเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย โดยมีวาระการประชุมที่สำคัญประกอบด้วยการรายงานสรุปผลการดำเนินงานเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย ประจำปี 2565 และรายงานสรุปสาระสำคัญจากการประชุมคณะผู้บริหารกรรมการเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (Council Board) ประจำปี 2565 และมีวาระเรื่องเพื่อพิจารณาที่สำคัญ […]

แมงกานีสเซ็นส์ (Mn Sense) ชุดตรวจไอออนแมงกานีสปนเปื้อนในแหล่งน้ำ นวัตกรรมนาโนเทคตอบโจทย์อุตสาหกรรมชุดตรวจ ทดแทนชุดตรวจนำเข้า ในราคาที่ถูกกว่า

ดร.กันตพัฒน์ จันทร์แสนภักดิ์ หัวหน้าทีมพัฒนาสูตรน้ำยาตรวจวัดไอออนแมงกานีสจากทีมวิจัยวัสดุตอบสนองระดับนาโน กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า “ผลงานวิจัยเรื่อง แมงกานีสเซ็นส์: ชุดตรวจแมงกานีสและเครื่องอ่านดูโออาย เป็นการทำงานร่วมกันของนาโนเทคและศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)โดยนาโนเทคได้พัฒนาน้ำยาตรวจวัดสูตรเฉพาะที่สามารถตรวจวัดไอออนแมงกานีสได้อย่างแม่นยำและจำเพาะ ในขณะที่เนคเทคช่วยพัฒนาเครื่องอ่านสีอัจฉริยะดูโออาย (DuoEye Reader) ที่สามารถระบุตำแหน่ง ส่ง วิเคราะห์ ประมวลผล และแสดงผลข้อมูลแบบออนไลน์ได้ซึ่งผลงานนี้ได้รับรางวัลเหรียญเงิน จากการประกวดในเวทีระดับนานาชาติ The International Trade Fair – Ideas, Inventions and New Products” (iENA2022) ณ เมืองนูเรมเบิร์ก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี” งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของ“โครงการวิจัยขนาดใหญ่ด้านการประเมินความปลอดภัยเคมีในน้ำประปา” ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยมีการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ให้ความอนุเคราะห์สถานที่ในการทดสอบประสิทธิภาพในระดับภาคสนาม ด้วยเล็งเห็นถึงความสำคัญในการตรวจติดตามปริมาณแมงกานีส ซึ่งจะส่วนช่วยยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการและควบคุมคุณภาพการผลิตน้ำประปาของประเทศได้ โดยปริมาณของไอออนแมงกานีสตามมาตรฐานคุณภาพน้ำประปา การประปาส่วนภูมิภาค ต้องมีไม่เกิน 0.3 มิลลิกรัมต่อลิตร “ปัจจุบันหน่วยงานรัฐบาล เช่น กปภ. มีการใช้งานชุดตรวจไอออนแมงกานีสเพื่อควบคุมคุณภาพน้ำประปาบริการประชาชน ทำให้ต้องมีการใช้งานชุดตรวจจำนวนมาก […]

NANOTEC (Thailand) –CNRS (FRANCE) promoted collaboration on Advanced Characterization and Novel Biorefinery

On 22 November 2022 at NANOTEC, Thailand Science Park, Dr. Wannee Chinsirikul, NANOTEC Executive Director, welcomed the delegates from The French National Centre for Scientific Research (CNRS), FRANCE. The CNRS group led by Dr. Christophe Geantet, Deputy Director of IRCELYON and Dr. Antonio Aguilar Tapia, Beamline Scientist of Néel Institut. In this regard, delegates from […]

นาโนเทคจัดการบรรยายพิเศษเพื่อสนับสนุนการลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

  เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2565 นาโนเทค ร่วมกับสมาคมนาโนเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย จัดงาน NANOTEC 20th Anniversary Special Talk Series 1: “Sustainable Composite Materials” ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร จังหวัดปทุมธานี ประเทศไทย กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมแรกที่จัดขึ้นและเป็นส่วนหนึ่งของงานฉลองครบรอบ 20 ปีของศูนย์นาโนเทคฯ โดยได้รับเกียรติจาก Prof. Larry Lessard, Adjunct & Emeritus Professors, Mechanical Engineering, McGill University ประเทศแคนาดา เป็นวิทยากรรับเชิญ Prof. Lessard ได้ริเริ่มโครงการ Bike62 ซึ่งเป็นการเดินทางโดยจักรยานเพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยจะปั่นจักรยานรอบโลกเป็นเวลา 400 วันเริ่มเมื่อกรกฎาคม 2565 และตระเวนไปบรรยายตามที่มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วโลก เพื่อส่งเสริมวิธีการคิดใหม่และนำวัสดุคอมโพสิตกลับมาใช้ใหม่ ไม่เพียงแต่โครงการปั่นจักรยานและรีไซเคิล bike62 ที่เขาริเริ่มเท่านั้น […]

นักวิจัยนาโนเทค สวทช. ผลงานโดดเด่นได้รับทุนในโครงการทุนวิจัย ลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” (For Women in Science) ประจำปี 2565

ศ.ดร. ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ พร้อมด้วย ดร. อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และ ดร.วรรณี ฉินศิริกุล ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ให้เกียรติร่วมแสดงความยินดีและมอบช่อดอกไม้ให้กับ ดร. อัญชลี จันทร์แก้ว นักวิจัยทีมวิจัยการคำนวณระดับนาโน กลุ่มวิจัยการเร่งปฏิกิริยาและการคำนวณระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ผู้ได้รับทุนในโครงการทุนวิจัยลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” (For Women in Science) “สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ” ครั้งที่ 20 ประจำปี 2565 โดยมี ดร.ขจรศักดิ์ เฟื่องนวกิจ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยการเร่งปฏิกิริยาและการคำนวณระดับนาโน และคณะนักวิจัยร่วมแสดงความยินดี งานดังกล่าวจัดโดย บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด ณ โรงแรม พลาซ่าแอทธินี กรุงเทพ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา ดร.อัญชลี จันทร์แก้ว […]

“ริเชอรัลจากสารสกัดเห็ดหลินจือ- ไบโอแคลเซียมคาร์บอเนตจากเปลือกหอยมุก” 2 นวัตกรรมนาโนเทค สวทช. คว้ารางวัลจากเวที SIIF 2022

นักวิจัยนาโนเทค สวทช. นำนวัตกรรมความงามอย่างริเชอรอล เนเชอรัล เฟเชียว ซีรั่ม ที่ใช้เทคโนโลยีการกักเก็บอนุภาคสารสกัดเห็ดหลินจือ และไบโอแคลเซียมคาร์บอเนตจากเปลือกหอยมุกสำหรับอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ไปคว้ารางวัลเหรียญทองและทองแดงจากเวทีการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาติในงาน Seoul International Invention Fair 2022 (SIIF 2022) ณ สาธารณรัฐเกาหลี การประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาติในงาน Seoul International Invention Fair 2022 (SIIF 2022) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี ระหว่างวันที่ 16-19 พฤศจิกายน 2565 ซึ่ง SIIF เป็นเวทีการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาติที่มีขนาดใหญ่และสำคัญมากในเอเชีย ในแต่ละปีมีผลงานสิ่งประดิษฐ์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจากประเทศต่างๆ  เข้าร่วมนำเสนอและประกวดกว่า 1,000 ผลงาน โดยนักวิจัย ศน.ได้นำผลงานวิจัยไปร่วมประกวดและสามารถคว้ารางวัลจากงาน ริเชอรอล (REISHURAL) ได้รับรางวัลเหรียญทอง (Gold Prize) จาก SIIF 2022 โดยเป็นผลิตภัณฑ์นวัตกรรมที่ต่อยอดมาจากงานวิจัยเรื่อง การพัฒนากรรมวิธีสกัดสารสำคัญจากดอกและสปอร์เห็ดหลินจือและระบบอนุภาคนาโนเพื่ออุตสาหกรรมเวชสำอาง ที่ ดร.ธงชัย กูบโคกกรวด […]

1 11 12 13 45