นาโนเทค สวทช. เปลี่ยนของเหลือจากการเกษตร-รง.กระดาษ สู่ “สารชีวภัณฑ์ไฮบริดระดับนาโน” ป้องกัน-ยับยั้งเชื้อราก่อโรคในนาข้าว ทดแทนสารเคมี ตอบ BCG เพื่อความยั่งยืน

สารเคมีที่ตกค้างใน “ข้าว” นอกจากส่งผลต่อผู้บริโภคแล้ว ยังกระทบการส่งออกพืชเศรษฐกิจสำคัญของไทยอีกด้วย นักวิจัยนาโนเทค สวทช. ต่อยอดความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการปรับสภาพและการใช้ประโยชน์ชีวมวลสู่ “สารชีวภัณฑ์ไฮบริดระดับนาโน” จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรอย่างฟางข้าว หรือของเสียจากกระบวนการผลิตเยื่อและกระดาษ ที่มีจุดเด่นในการป้องกันและยับยั้งเชื้อราก่อโรคในนาข้าว พร้อมเสริมธาตุอาหารจำเป็น ทดสอบภาคสนามร่วมกับศูนย์วิจัยข้าว จ.ขอนแก่น ประสิทธิภาพเทียบเคียงสารเคมี หวังเป็นผลิตภัณฑ์ทางเลือก ตอบ BCG หนุนเกษตรไทยเติบโตแบบยั่งยืนในเวทีโลก          ดร. วรรณวิทู วรรณโมลี ทีมวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยา กลุ่มวิจัยการเร่งปฏิกิริยาและการคำนวณระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย ซึ่งเราผลิตและส่งออกเป็นอันดับต้นๆ ของโลก แต่ต้องเผชิญปัญหาจากสารเคมีตกค้างจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรที่เพิ่มขึ้นทุกปี นอกจากส่งผลต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังกระทบการส่งออก เนื่องจากมีการตีกลับข้าวที่มีปริมาณสารเคมีเกินกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดอีกด้วย “เราพบว่า เกษตรกรมีความจำเป็นต้องใช้สารเคมีเพื่อยับยั้งโรคในนาข้าว โดยโรคข้าวที่พบบ่อยในทุกส่วนของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่นาน้ำฝนและนาชลประทาน ได้แก่ โรคไหม้ข้าว ซึ่งโรคดังกล่าวมีสาเหตุหลักมาจากเชื้อรา ที่สามารถทำลายผลผลิตของข้าวได้ในทุกระยะของต้นข้าวและสร้างความเสียหายในนาข้าวมากกว่า 80% ของผลผลิตข้าวทั้งหมด ซึ่งมีความรุนแรงและลุกลามอย่างรวดเร็ว” ดร. วรรณวิทูกล่าว พร้อมชี้ว่า ทีมวิจัยนาโนเทคมองเห็นโอกาสในการพัฒนาสารชีวภัณฑ์ทางเลือกเพื่อแก้ปัญหาให้เกษตรกร ด้วยความเชี่ยวชาญของทีมวิจัยทางด้านการใช้ประโยชน์จากชีวมวล โดยเฉพาะลิกนิน ซึ่งเป็นสารธรรมชาติที่พบได้ในพืชทุกชนิด […]

เส้นพลาสติกรักษ์โลก จากเปลือกหอยแมลงภู่-ขยะ PLA สำหรับการพิมพ์สามมิติ ย่อยสลาย 100%

นักวิจัยนาโนเทค สวทช. จับมือจุฬาฯ ต่อยอดไบโอแคลเซียมคาร์บอเนตจากเปลือกหอยแมลงภู่ ผสมขยะพลาสติกชีวภาพ (PLA) พัฒนา “Re-ECOFILA เส้นพลาสติกรักษ์โลกสำหรับเครื่องพิมพ์สามมิติ” ย่อยสลายได้ 100% คุณภาพเทียบเท่าของที่มีในท้องตลาดในราคาที่ถูกกว่า หวังทดแทนของนำเข้าราคาสูง สร้างโอกาสการเข้าถึงเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติของนักเรียน นักศึกษาและคนทั่วไป ตอบ BCG เศรษฐกิจหมุนเวียน-สีเขียว ช่วยคืนชีพขยะ PLA จัดการขยะเปลือกหอยแมลงภู่ในชุมชน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมอย่างยั่งยืน ดร. ชุติพันธ์ เลิศวชิรไพบูลย์ นักวิจัยจากทีมวิจัยการวินิจฉัยระดับนาโน กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า Re-ECOFILA มาจากงานวิจัย “เส้นพลาสติกสำหรับเครื่องพิมพ์สามมิติผลิตจากขยะเปลือกหอยแมลงภู่และขยะพลาสติกชีวภาพ” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง สวทช. โดยนาโนเทค และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศาสตราจารย์ ดร. สนอง เอกสิทธิ์ ที่มีแนวคิดการใช้ประโยชน์ไบโอแคลเซียมคาร์บอเนตจากเปลือกหอยแมลงภู่ที่ได้ทำงานวิจัยมาก่อนหน้านั้น จากความเป็นไปได้สำหรับเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ โดยจะไปแทนที่แคลเซียมคาร์บอเนตจากหินปูนที่ใช้ในกระบวนการผลิตพอลิเมอร์ ข้อมูลจากกลุ่มสถิติการประมง กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่า ประเทศไทยผลิตหอยแมลงภู่เฉลี่ยมากกว่า 50,000 ตันต่อปี โดยน้ำหนักมากกว่าครึ่งเป็นน้ำหนักของเปลือกหอย ทำให้เกิดขยะเปลือกหอยสะสมเป็นจำนวนมากตามพื้นที่ชุมชนที่ประกอบอาชีพเลี้ยงหอยและแกะเนื้อหอยขาย […]

From Waste to Wow & Wealth! ‘เปลือกหอยแมลงภู่’ สู่สารเคลือบช่วยดูดซับคราบน้ำมัน

นักวิจัยนาโนเทค สวทช. และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปลี่ยนขยะจากอุตสาหกรรมอาหารอย่างเปลือกหอยแมลงภู่เป็น “อนุภาคนาโนอะราโกไนต์” แคลเซียมคาร์บอเนตชีวภาพ ที่โดดเด่นด้วยความบริสุทธิ์และพื้นที่ผิวสูง เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนสมบัติเชิงพื้นผิวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในดูดซับคราบน้ำมัน สามารถต่อยอดสู่สเปรย์-ฟองน้ำทำความสะอาดที่ปลอดภัย พร้อมตอบ BCG เพื่อความยั่งยืนด้วยกระบวนผลิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่มีการสร้างของเสีย (Zero Waste Process) ขยายกำลังการผลิตสู่เชิงพาณิชย์ได้ ดร. ชุติพันธ์ เลิศวชิรไพบูลย์ นักวิจัยจากกลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า งานวิจัยเรื่อง อนุภาคนาโนอะราโกไนต์สำหรับทำความสะอาดคราบน้ำมัน เป็นความร่วมมือระหว่าง สวทช. โดยนาโนเทค , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศาสตราจารย์ ดร. สนอง เอกสิทธิ์ และดร. ลัญจกร อมรกิจบำรุง บริษัท รีนิว อินโนเวชั่นส์ จำกัด ภายใต้โครงการ “ต้นแบบผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงแปรรูปจากเปลือกหอยแมลงภู่เหลือทิ้ง” โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพื่อพัฒนาสินค้านวัตกรรมที่นำเอกลักษณ์และสมบัติเฉพาะของแคลเซียมคาร์บอเนตเปลือกหอยแมลงภู่ มาใช้ประโยชน์ในมิติต่างๆ อนุภาคนาโนอะราโกไนต์ (Aragonite nanoparticles) เป็นแคลเซียมคาร์บอเนตชีวภาพผลิตจากเปลือกหอยแมลงภู่ ที่ใช้การสลายโปรตีนในโครงสร้างของเปลือกหอยแมลงภู่โดยการใช้ความร้อนและวิธีการทางเคมี […]

นาโนเทค สวทช. พัฒนาอนุภาคนาโนอิมัลชั่นขิง-ทองคำ สู่ครีมลดรอยแผลและครีมร้อนคลายกล้ามเนื้อ

ดร.กนกวรรณ ศันสนะพงษ์ปรีชา ทีมวิจัยเวชศาสตร์นาโน กลุ่มวิจัยการห่อหุ้มระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า งานวิจัย “อิมัลเจลที่มีส่วนประกอบของอนุภาคนาโนอิมัลชั่นบรรจุสารสกัดจากเหง้าขิงและอนุภาคนาโนทองคำ เพื่อยับยั้งการอักเสบและสมานแผล” เกิดจากความต้องการลดข้อจำกัดของสารสกัดจากเหง้าขิงที่ไม่สามารถละลายน้ำได้ ทำให้แม้จะทราบฤทธิ์ในการต่อต้านการอักเสบและอนุมูลอิสระที่สามารถต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ แต่หากไม่สามารถละลายน้ำได้ ก็จะทำให้การซึมผ่านสู่เซลล์ผิวหนังเป็นไปอย่างจำกัด และออกฤทธิ์ในการต่อต้านการอักเสบและสมานแผลได้ไม่เต็มที่ “ขิงเป็นพืชสมุนไพรท้องถิ่นของไทยที่ปลูกกันเยอะ ด้วยฤทธิ์ร้อนที่สามารถลดการอักเสบทำให้เกิดการนำไปใช้เป็นลูกประคบ เพื่อช่วยในการคลายกล้ามเนื้อ ลดอาการปวดเมื่อยต่างๆ แต่ด้วยเป็นรูปแบบที่ใช้ยาก ทีมวิจัยเราจึงอยากทำออกมาในรูปแบบที่ใช้ง่าย” ดร.กนกวรรณอธิบาย อนุภาคนาโนอิมัลชั่นที่ทีมวิจัยคิดค้นขึ้นสามารถห่อหุ้มสารสกัดไขมันจากเหง้าขิงได้เป็นอย่างดี ทำให้สารสำคัญจากขิงซึมซาบเข้าสู่เซลล์ผิวหนังได้ดีขึ้น เพิ่มความคงตัวของสารสำคัญ และเพิ่มประสิทธิภาพในการสมานแผลและลดการอักเสบที่เกิดขึ้นได้ นอกจากสารสกัดจากเหง้าขิง ยังมีการใช้ทองคำซึ่งเป็นแร่ธาตุบริสุทธิ์เพื่อช่วยปรับสภาพผิวหนังให้เนียนและกระจ่างใสมากขึ้น แต่แผ่นทองคำที่มีขนาดใหญ่ มีข้อจำกัดในการซึมผ่านผิวหนัง และต้องใช้ในปริมาณมาก จนอาจก่อให้เกิดพิษได้ ทีมวิจัยจึงได้ทำการพัฒนาอนุภาคนาโนทองคำที่มีขนาดเล็กมาก สามารถซึมผ่านผิวหนังได้ดี และมีประสิทธิภาพในการยั้งการอักเสบและสมานแผลแม้ใช้ในปริมาณที่น้อยนิด โดยไม่เกิดพิษต่อร่างกาย

นวัตกรรมเคลือบผิวนาโน นำร่อง ‘อวท. Living Lab’ ตัวช่วยหนุน นวัตกรรม/สตาร์ทอัพ

งานวิจัยก่อนที่จะออกไปสู่เชิงพาณิชย์ นอกจากการทดสอบในห้องปฏิบัติการต่างๆ การทดสอบใช้งานจริง ในพื้นที่และสถานการณ์จริง ก็นับเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ประชาชนรวมถึงผู้ที่สนใจเข้าใจและเชื่อมั่นในประสิทธิภาพ ก่อนที่จะรับถ่ายทอดเทคโนโลยี หรือเลือกใช้งานจริง เช่นเดียวกับงานวิจัยสารเคลือบนาโน ของทีมวิจัยนวัตกรรมเคลือบนาโน กลุ่มวิจัยวัสดุผสมและการเคลือบนาโนของนาโนเทค สวทช. ที่ได้รับโอกาสในการทำงานร่วมกับ อวท. ซึ่งเปิดกว้างให้นำนวัตกรรมสารเคลือบนาโน สำหรับเคลือบผิวป้องกันฝุ่นและตะไคร่น้ำ เพื่อเพิ่มคุณสมบัติของการกันคราบสกปรกบนพื้นผิว Tower Sign และแผ่นป้ายอะคริลิคที่ติดตั้งบริเวณ Tower Sign ด้านหน้าทางเข้า อวท. จำนวน 5 ทาวเวอร์ 38 ช่องป้าย NANOTEC Newsletter ฉบับนี้ จึงขอชวน “พี่ภา-สุวิภา วรรณสาธพ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. และ ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย (อวท.)” ที่จะมาบอกเล่าถึงที่มาของความร่วมมือครั้งนี้ พร้อมแนวคิด ‘อวท. Living Lab’ เปิดพื้นที่ทดสอบใช้นวัตกรรมจากเพื่อนบ้านในอวท. และ สวทช. อวท. – Innovation Landmark ที่พร้อมรับนวัตกรรม อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยหรือ อวท. เป็นนิคมวิจัยที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ เรียกได้ว่า เป็น Innovation Landmark […]

อนุภาคนาโนและไมโครบีดส์กักเก็บสารสกัดกระเทียม

ชื่อเทคโนโลยี / สิ่งประดิษฐ์ อนุภาคนาโนและไมโครบีดส์กักเก็บสารสกัดกระเทียม   วิจัยและพัฒนาโดย ดร.ณัฎฐิกา แสงกฤช และคณะ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สวทช. ที่มา และความสำคัญที่นำมาสู่การพัฒนาเทคโนโลยีนี้ สารสำคัญในกระเทียมที่ได้รับการยอมรับ คือ อัลลิซิน มีการศึกษาของ Cavallito และ Bailey (1994) พบว่า อัลลิซิน มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ช่วยต้านการแข็งตัวของเม็ดเลือดแดง ช่วยลดความดันโลหิต ลดไขมันในเลือด ลดคลอเรสเตอรอลและระดับน้ำตาล ช่วยรักษาการอักเสบ สมานแผล อีกทั้งมีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา และเชื้อปรสิตได้หลายชนิดอีกด้วย โดยสารอัลลิซินเป็นสารที่ไม่เสถียร สลายตัวได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับความชื้นหรืออุณหภูมิที่สูงขึ้น เนื่องจากสารสำคัญในกระเทียมไม่เสถียรและสลายตัวได้ง่าย ดังนั้น ทีมวิจัยเวชศาสตร์นาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช. โดย ดร.ณัฎฐิกา แสงกฤช และคณะ จึงนำสารสกัดกระเทียมมาพัฒนาให้อยู่ในรูปแบบของอนุภาคนาโนไขมันที่มีการกักเก็บสารสกัดกระเทียม ช่วยในการเก็บรักษาและควบคุมการปลดปล่อยสารสำคัญออกมา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ได้ดีและยาวนานขึ้น   สรุปเทคโนโลยี อนุภาคนาโนห่อหุ้มสารสกัดจากระเทียมนี้ถูกออกแบบให้สารสกัดกระเทียมมีความคงตัว […]

1 2 5