แนวนโยบายมหภาคของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยนาโน

แนวนโยบายมหภาคของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยนาโน แนวนโยบายมหภาคของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยนาโน อาจเห็นได้จากเอกสารนโยบายดังต่อไปนี้ (1) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (2) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (3) วาระแห่งชาติ (4) นโยบายที่รัฐบาลในอดีตและปัจจุบันได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา (5) แผนกลยุทธนาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (6) แผนยุทธศาสตร์การจัดการสารเคมีแห่งชาติ (7) แผนยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยและจริยธรรมนาโนเทคโนโลยี (1) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 แสดงวิสัยทัศน์ไว้ว่า “ประชาชนมีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์ มีสิ่งแวดล้อมที่สะอาด ทุกภาคส่วนของสังคมทำงานโดยใช้หลักคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ภาคเอกชนแข่งขันกันประกอบกิจการอย่างเสรีและเป็นธรรม ประชาชนเป็นผู้บริโภคที่ฉลาดและไม่เสียเปรียบภาคธุรกิจ ในขณะที่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจที่สำคัญของประเทศ” ถึงแม้จะไม่ได้กล่าวถึงนาโนเทคโนโลยีหรือความปลอดภัยนาโนโดยตรง แต่โดยอ้อมแล้ว การมีสิ่งแวดล้อมที่สะอาด และสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์ของประชาชน ก็มีความเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยนาโน ไม่มากก็น้อย (2) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 มีเป้าหมายอยู่ที่ “สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน บนรากฐานการพัฒนาของความสมดุลในมิติเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีความเกี่ยวข้องโดยทางอ้อมกับความปลอดภัยนาโน เช่นเดียวกับกรณีรัฐธรรมนูญ (3) วาระแห่งชาติ จากการสำรวจวาระแห่งชาติในรอบ 25 ปีที่ผ่านมา วาระแห่งชาติที่น่าจะเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยนาโน มีอยู่สองเรื่อง […]

แผนยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยและจริยธรรมนาโนเทคโนโลยี

แผนยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยและจริยธรรมนาโนเทคโนโลยี แผนยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยและจริยธรรมนาโนเทคโนโลยี (พ.ศ. 2555-2559) มี วิสัยทัศน์ว่า “นาโนปลอดภัย พัฒนาไทย ก้าวไกลอย่างยั่งยืน” และมีเป้าประสงค์ “เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และความมั่นคงของประเทศด้วยกระบวนการวิจัยและพัฒนา ผลิต จำหน่าย และใช้นาโนเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์นาโนเทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม เหมาะสม ยั่งยืน และมีส่วนร่วม” โดยประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1: สร้างและบริหารจัดการองค์ความรู้ด้านความปลอดภัยและจริยธรรมนาโนเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์นาโน ยุทธศาสตร์ที่ 2: พัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของมาตรการและกลไกการกำกับดูแลและบังคับใช้ ยุทธศาสตร์ที่ 3: สร้างความเข้มแข็งและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน โปรดอ่านรายละเอียดของแผนยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยและจริยธรรมนาโนเทคโนโลยี (พ.ศ. 2555-2559) ได้ในเอกสารอ้างอิง เอกสารอ้างอิง แผนยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยและจริยธรรมนาโนเทคโนโลยี (พ.ศ. 2555-2559) ซึ่งผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีแล้ว [323 KB]

นโยบายความปลอดภัยนาโน

นโยบายความปลอดภัยนาโน ในต่างประเทศ หน่วยงานที่กำกับดูแลด้านความปลอดภัยนาโนในระดับประเทศ มักเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจกำกับดูแลด้านความปลอดภัยที่มีอยู่เดิมในสามสาขา ได้แก่ หน่วยงานคุ้มครองสุขภาพอนามัยของผู้บริโภค (เทียบได้กับกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค) หน่วยงานคุ้มครองความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยของผู้ปฏิบัติงาน (เทียบได้กับกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงแรงงาน และกระทรวงสาธาณสุข) และหน่วยงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (เทียบได้กับกรมควบคุมมลพิษ) อย่างไรก็ตามเพื่อผลในการควบคุมกันเอง หน่วยงานกึ่งวิชาการที่มีภารกิจในการกำหนดมาตรฐานระดับประเทศ อาจจะเป็นคนละหน่วยงานกับหน่วยงานที่มีอำนาจในการบังคับใช้กฎหมาย ตัวอย่างเช่นในสหรัฐอเมริกา มีรัฐบัญญัติความปลอดภัยและอาชีวอนามัย พ.ศ. 2513 (Occupational Safety and Health Act of 1970) ก่อตั้งสำนักงานความปลอดภัยและอาชีวอนามัย (Occupational Safety and Health Administration หรือ OSHA) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงาน (Department of Labor) มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย ในขณะเดียวกันรัฐบัญญัติเดียวกันนั้นก็ก่อตั้งสถาบันความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งชาติ  (National Institute for Occupational Safety and Health หรือ NIOSH) เป็นหน่วยงานวิชาการ สังกัดศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค  (Center […]

ความรู้พื้นฐานด้านความปลอดภัยนาโน

ความรู้พื้นฐานด้านความปลอดภัยนาโน ว่าโดยพยัญชนะ นาโน (nano) แปลว่าหนึ่งในพันล้าน (1/1,000,000,000) เมื่อใช้กับขนาด นาโนเมตร เท่ากับหนึ่งในพันล้านเมตร แต่ความสำคัญของวัสดุนาโน มีมากกว่าการมีขนาดที่เล็กมาก   จากนิยามขององค์การระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน (ISO) ขนาดนาโน (nanoscale) หมายถึงขนาดตั้งแต่ประมาณ 1 นาโนเมตรขึ้นไปจนถึงประมาณ 100 นาโนเมตร  (size range from approximately 1 nm to 100 nm)   การที่ต้องกำหนดขนาดขั้นต่ำไว้ว่าประมาณ 1 นาโนเมตร ก็เพื่อไม่ให้รวมถึงอะตอม (ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ระหว่างประมาณ 0.1 ถึง 0.2 นาโนเมตร) และกลุ่มเล็กๆ ของอะตอม หรือโมเลกุลขนาดเล็ก ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ไม่ถึงประมาณ 1 นาโนเมตร สาเหตุที่ต้องกำหนดขนาดขั้นสูงไว้ว่าประมาณ 100 นาโนเมตร ก็เนื่องจากว่า ถ้าขนาดใหญ่กว่าประมาณ 100 นาโนเมตร สมบัติพิเศษที่แสดงความเป็น “นาโน” ของสารนั้นจะเริ่มหายไป กลายเป็นสารธรรมดาๆ […]

การริเริ่มความปลอดภัยนาโนเทคโนโลยีในประเทศไทย

การริเริ่มความปลอดภัยนาโนเทคโนโลยีในประเทศไทย ความปลอดภัยนาโน             ตามรายงานจากการวิจัยของ BBC พบว่า ในปี 2013 ตลาดทั่วโลกมีผลิตภัณฑ์นาโนเทคโนโลยีมูลค่า  22.9 พันล้านดอลลาร์ พบว่าในปี 2014 เพิ่มขึ้นประมาณ 26 พันล้านดอลลาร์ และคาดว่าในปี 2019 คาดว่าจะมีมูลค่าถึง 64.2 พันล้านดอลลาร์ ทำให้อัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) เพิ่มขึ้น 19.8% ตั้งแต่ปี 2014 ถึง ปี 2019 แสดงให้เห็นว่าประเทศมุ่งเน้นความสนใจทางด้านนาโนเทคโนโลยีแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าผลกระทบของนาโนเทคโนโลยีมีความหลากหลายและมีเพียงไม่กี่ชนิด  ได้แก่ สิ่งทอ,การเกษตร,ยา และคอมพิวเตอร์ ถึงแม้นาโนเทคโนโลยีจะเกิดขึ้นมาสักระยะเวลาหนึ่งแล้ว นาโนเทคโนโลยีก็ยังถือเป็นสาขาใหม่ทางด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม มีคำวิจารณ์จากบางกลุ่มกลัวเรื่องความเสี่ยงต่อคนและสิ่งแวดล้อมโดยที่ยังไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับนาโนเทคโนโลยีเป็นอย่างดี  ตัวอย่างเช่นขนาดอนุภาคนาโนเทคโนโลยีที่มีขนาดเล็กอาจจะเป็นพิษในบางสถานการณ์ ความปลอดภัยนาโนในประเทศไทย             ประเทศไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญในการนำนาโนเทคโนโลยีมาใช้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพหรือเพิ่มมูลค่าในผลิตภัณฑ์ต่างๆ แต่ในขณะเดียวกันไม่ควรมองข้ามความเสี่ยงและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยและจริยธรรมนาโนเทคโนโลยี (พ.ศ. 2555-2559) ขึ้นและได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีในปี 2555  โดยมีวัตถุประสงค์ของแผนยุทธศาสตร์ คือ สร้างและบริหารจัดการองค์ความรู้ด้านความปลอดภัยและจริยธรรมนาโนเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์นาโน พัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของมาตรการและกลไกการกำกับดูแลและบังคับใช้ […]

1 2