Day February 7, 2022

Home » Archives for 07/02/2022

ทีมวิจัยนาโนเทค ออกแบบตัวเร่งปฏิกิริยานาโนแม่นยำสูง เพื่อเปลี่ยนก๊าซ CO2 เป็นสารเคมีมากมูลค่า

ณ วินาทีนี้ พวกเราคงทราบกันดีแล้วว่า ภาวะโลกร้อนนั้นไม่ใช่เรื่องเล่นๆ อีกต่อไป ทางออกเดียวคือพวกเราจะต้องช่วยกันลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่สะสมในชั้นบรรยากาศอย่างเร่งด่วน แน่นอนว่าวิธีการแก้ปัญหาในอุดมคติคือการหยุดปลดปล่อย CO2 ในทันที แต่ในความเป็นจริง เราไม่อาจทำเช่นนั้นได้ เพราะกิจกรรมเชิงเศรษฐกิจและสังคมทุกประเภทล้วนเกี่ยวข้องกับการปลดปล่อย CO2 ไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง แต่หากเราสามารถนำก๊าซ CO2 มาใช้ประโยชน์ได้ แทนที่จะปลดปล่อยมันออกไปล่ะ?   นั่นคือโจทย์ที่ทีมวิจัย NCAS จากศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ นำโดย ดร. ศรัณญา จันทราภิรมย์ และคณะ ร่วมกับภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พยายามแก้ ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาที่สามารถเปลี่ยนก๊าซ CO2 โดยใช้พลังงานไฟฟ้า (Electrochemical CO2 reduction reaction,…

นักวิจัยนาโนเทค พัฒนาโมเดลที่อธิบายกลไกการเปลี่ยน CO2 เป็นเอทิลีนและเอทานอลด้วยไฟฟ้า

นักวิจัยนาโนเทค พัฒนาโมเดลที่อธิบายกลไกการเปลี่ยน CO2 เป็นเอทิลีนและเอทานอลด้วยไฟฟ้า ทำให้เข้าใจว่าขั้นตอนไหนเป็นตัวกำหนดความไวของปฏิกิริยา และนำมาใช้ออกแบบตัวเร่งปฏิกิริยาลดโลกร้อนที่ดีขึ้นได้ #TLDR … ทุกคนคงจะทราบดีว่าตัวการของ “ภาวะโลกร้อน” ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศซึ่งส่งผลกระทบอันใหญ่หลวงต่อระบบนิเวศ คือการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากกิจกรรมของมนุษย์ แม้ว่าทีมวิจัยของเราไม่อาจมีส่วนร่วมผลักดันนโยบายเพื่อลดการปล่อยก๊าซ CO2 โดยตรง แต่เรามุ่งมั่นที่จะพัฒนางานวิจัยเพื่อเป็นรากฐานในการแก้ปัญหาที่สำคัญยิ่งนี้ เทคโนโลยีการดักจับ กักเก็บ และการนำ CO2 ไปใช้ประโยชน์ (Carbon capture, utilization, and storage; CCUS) เป็นโจทย์ที่พวกเราพยายามผลักดันอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะช่วยลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซ CO2 ยังเปลี่ยน CO2 เจ้าปัญหา ไปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าและนำไปใช้ประโยชน์ได้   หนึ่งในวิธีนำ CO2 ไปใช้ประโยชน์ที่น่าสนใจมาก…

5 เทคโนโลยีรับมือน้ำมันรั่วลงทะเล

เหตุการณ์น้ำมัน 20-50 ตัน รั่วไหลจากท่อใต้ทะเลสู่ทะเลอ่าวไทย บริเวณมาบตาพุด จังหวัดระยอง ในวันที่ 25 ม.ค. 2565 ที่ผ่านมา นั้นไม่ใช่เรื่องเล่นๆแม้แต่น้อย เพราะน้ำมันที่รั่วไหลนั้นมีปริมาณมาก แถมยังเป็นเหตุการณ์น้ำมันรั่วลงทะเลไทยครั้งที่ 2 ของปี (ทั้งๆที่ยังไม่ทันพ้นเดือนมกราคม 2022!) ต่อจากเหตุการณ์เรือบรรทุกน้ำมันอับปางใกล้ปากน้ำชุมพร ไม่ใช่แค่ทะเลไทยที่โชคร้ายเจออุบัติเหตุเหล่านี้ จากสถิติของโลกแสดงให้เห็นว่าในสิบปีที่ผ่านมา ทะเลโลกต้องรับน้ำมันรั่วขนาดกลาง (ตั้งแต่ 7 ตันขึ้นไป) เฉลี่ยถึง 5 ครั้งต่อปี [1] โดยอุบัติเหตุน้ำมันรั่วลงทะเลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดนั่นคือ เหตุระเบิดบนแท่นขุดน้ำมัน Deepwater Horizon ของ BP ซึ่งปล่อยน้ำมันรั่วไหลลงในอ่าวเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา มากกว่า 6 แสนตัน…